100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 56 รู้ก่อนคลอด โอกาสคลอดก่อนกำหนด

วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด โอกาสคลอดก่อนกำหนด มาฝากคุณแม่กัน เพื่อป้องกันและระวังตัวเองเอาไว้ก่อนคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งที่น่ากลัวสำหรับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์คงหนีไม่พ้นการคลอดก่อนกำหนด วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด โอกาสคลอดก่อนกำหนด มาฝากคุณแม่กัน เพื่อป้องกันและระวังตัวเองเอาไว้ก่อนคลอด

 

ภาวะคลอดก่อนกำหนดคืออะไร

การคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor) คือ ภาวะที่ปากมดลูกเปิดเป็นผลมาจากการหดตัวและขยายตัวของมดลูกก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์ ซึ่งโดยปกติแล้วการตั้งครรภ์แบบครบกำหนดจะนับตั้งแต่อายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ และไม่เกิน 42 สัปดาห์ ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดนั้นจะส่งผลกระทบต่อทั้งแม่และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกได้

 

โอกาสคลอดก่อนกำหนด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจัยที่ส่งผลให้มีการคลอดก่อนกำหนด

  • การสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มากๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุครรภ์อ่อน ๆ สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ชิดในครอบครัวเป็นประจำ
  • การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกฮอล์
  • การทานยาบางชนิดในขณะที่ยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ อาจมีผลต่อทารกในครรภ์
  • น้ำหนักตัวของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์น้อยเกินไป
  • การได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะธาตุสังกะสี ซึ่งรายงานระบุว่า สาเหตุของแม่ตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดเนื่องจากการได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ
  • ทำงานหนักมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์หรือทำอาชีพที่ต้องยืนตลอดเวลา
  • การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์
  • การเสียสมดุลฮอร์โมน
  • การติดเชื้อในช่วงตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด ทางเดินปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน หรือการติดเชื้อในช่องคลอดและน้ำคร่ำ เป็นต้น
  • ภาวะปากมดลูกปิดไม่สนิท
  • การหดรัดตัวของมดลูกที่ไว้ต่อการกระตุ้นและรุนแรงจนทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
  • ภาวะรกเกาะต่ำ ใกล้ปากมดลูก
  • อาการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือการมีโรคประจำตัวของแม่ที่ตั้งครรภ์ เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจ ปอด ตับ หรือเบาหวาน แต่ปัจจุบันนี้การรักษาของแพทย์สามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น ทำให้โอกาสเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดลดลง
  • ความเครียดในขณะตั้งครรภ์
  • แม่ท้องที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี เนื่องจากว่าร่างกายยังไม่พร้อมเต็มที่ต่อการตั้งท้อง ทำให้โอกาสคลอดก่อนกำหนดมีสูง
  • แม่ท้องที่มีอายุเกิน 35 ปี
  • แม่ตั้งครรภ์ที่มีฐานะทางการเงินค่อนข้างต่ำ ทำให้ได้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่เพียงพอ และอาจเกิดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ขึ้นได้อีก
  • ภาวะที่มีความผิดปกติของมดลูก
  • การตั้งครรภ์แฝด
  • มีภาวะทารกในครรภ์พิการ
  • แม่ท้องที่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนด

 

โอกาส คลอดก่อนกำหนด

5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด

  1. อาการบวมและความดันโลหิตสูง อาการนี้มีโอกาสเกิดเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ท้องที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ที่มีประวัติเป็นโรคดังกล่าวขณะตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณแม่อาจคลอดก่อนกำหนดได้
  2. มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด มูกเลือดหรือมีสีน้ำตาลปนเลือด หรือมีมูกข้นเป็นก้อนหลุดออกมาทางช่องคลอด ไม่ว่าปริมาณมากหรือน้อย อาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ช่องคลอดอักเสบ ปากมดลูกอับเสบ หรือสาเหตุที่รุนแรงมากขึ้น เช่น รกเกาะต่ำ หรือรกลอกก่อนกำหนด แสดงอาการเปิดของมดลูก อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกในครรภ์มีโอกาสเสียชีวิตได้ เมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นควรรับปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์ทันที
  3. มีอาการน้ำเดิน น้ำเดิน คือ ภาวะที่เกิดจากแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำ ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมา มักเกิดเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะใกล้คลอด แต่บางกรณีก็อาจเกิดขึ้นนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ เนื่องจากการบีบตัวของมดลูกอย่างรุนแรง หรือเกิดการกระแทกจากอุบัติเหตุ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อทารก เพราะเมื่อถุงน้ำคร่ำรั่ว มีน้ำเดินออกมา เชื้อโรคก็สามารถจะเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทารกและเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นถ้าคุณแม่สังเกตว่ามีน้ำใส ๆ ไหลจากช่องคลอดในปริมาณมากพอสมควร ควรรีบไปพบคุณหมอทันที
  4. รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยกว่าปกติ ตามปกติแล้วลูกในท้องจะเริ่มดิ้นในสัปดาห์ที่ 17 แต่ในท้องแรกคุณแม่อาจจะยังไม่เจอลูกดิ้นจนกระทั่งเลยสัปดาห์ที่ 20 ความรู้สึกว่าลูกดิ้นจึงเป็นเครื่องช่วยประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ คุณแม่ควรสังเกตและนับลูกดิ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 28 จนถึงกำหนดคลอด วิธีการนับลูกดิ้นควรเริ่มนับตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น อย่างน้อย 12 ชั่วโมง หากลูกดิ้นครบ 10 ครั้งใน 4 ชั่วโมง ก็ไม่จำเป็นต้องนับต่อ แต่หากลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 2 ชั่วโมง ให้ลองพัก 1 ชั่วโมง แล้วสังเกตดูอีกหนึ่งครั้ง ถ้าลูกยังไม่ดิ้นตามที่ควรจะเป็นหรือลูกดิ้นน้อยลงมาก ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำวินิจฉัยเพิ่มเติมและตรวจยืนยันความแข็งแรงของทารกในครรภ์
  5. อาการท้องแข็งบ่อย อาการท้องแข็ง คือ การปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว ส่วนท้องแข็งตึงนั้น เป็นภาวะที่มดลูกบีบรัดตัวแข็งเป็นก้อนกลม เมื่อคุณแม่เอามือวางบริเวณหน้าท้อง จะสัมผัสและรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ ขึ้นมา หรือรู้สึกตึงมากที่หน้าท้องเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นวินาที และมีช่วงพักเป็นนาทีเมื่อมดลูกคลายตัว บางรายอาจจะมีอาการท้องแข็งอยู่ประมาณทุก 10 นาที/ครั้ง และเป็นสม่ำเสมออยู่ 4-5 ครั้งได้ ซึ่งหากทิ้งไว้นานจะทำให้ปากมดลูกเปิด เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โอกาส คลอด ก่อนกำหนด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับแม่ท้องทุกคนในช่วงที่ใกล้ครบกำหนดคลอด ซึ่งหากคุณแม่มีการดูแลตัวเองดี ใส่ใจในโภชนาการและสุขภาพอนามัย พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนดได้ อาการเหล่านี้เป็นเพียงสัญญาณให้คุณแม่คอยเฝ้าระวังและสังเกตตัวเองให้มากขึ้น ไม่ควรนิ่งนอนใจหากพบปัญหาผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจครรภ์และคำแนะนำในการดูแลครรภ์ที่ถูกต้อง

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

 

Source : thaihealthlife , samitivejhospitals

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อย่าปล่อยผ่านความ ซึมเศร้า เมื่อสูญเสียลูก รวมรายชื่อหน่วยงานรัฐฟื้นฟูจิตใจแม่แท้งบุตร

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 98 ความเครียดในช่วงแม่ท้อง ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรส่งผลกระทบอย่างไร วิจัยเผย วัยรุ่นท้อง ทั้งจนทั้งเครียด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khattiya Patsanan