แม่หัวใจสลาย เมื่อรู้ว่าลูกในท้องเป็น "เมอร์เมดซินโดรม"

เป็นที่น่าเศร้าใจ เมื่อคุณแม่ต้องยุติการตั้งครรภ์ หลังจากทราบว่าทารกในครรภ์เป็นเมอร์เมดซินโดรม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องน่าเศร้าใจนี้เกิดขึ้นในอี๋ชางของประเทศจีน เมื่อทีมแพทย์ได้ทำการอัลตราซาวด์ วู หญิงสาววัย 23 ปี ที่ตั้งครรภ์ได้หกเดือนแล้วพบว่า ทารกลูกในครรภ์ของเธอนั้น มีขาสองข้างที่ติดกัน หรือที่ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า “เมอร์เมดซินโดรม”

วู ต้องจำใจทำตามคำแนะนำของแพทย์ที่แนะนำให้ ยุติการตั้งครรภ์ลูกในท้องของเธอ นั่นเป็นเพราะ หากเก็บทารกในครรภ์ไว้จนคลอด โอกาสรอดได้นั้นมี แต่ทารกจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงสองถึงสามชั่วโมงเท่านั้น และจะเสียชีวิตลงในที่สุด

จากสถิติพบว่า มีโอกาสทารกในครรภ์จะเป็นเมอร์เมดซินโดรมนั้นมีความเสี่ยงอยู่ที่ 1 ใน จำนวนแม่ท้อง 100,000 คน และส่วนใหญ่ทารกจะเสียชีวิตหลังจากที่ลืมตาดูโลกได้ไม่นาน แต่ก็มีเด็กถึงสองคนที่เป็นภาวะดังกล่าวแล้วยังมีชีวิตอยู่ นั่นคือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชิโรห์ เพพิน เด็กสาวที่ชาวอเมริกันต่างพากันขนานนามเธอว่า เงือกเด็ก ถึงเธอจะต้องทุกข์ทรมานจากภาวะดังกล่าว แต่เธอก็ยังมีชีวิตรอดอยู่ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มิลากรอส เชอร์รอน อีกหนึ่งหนูน้อยที่เป็นเมอร์เมดซินโดรมและมีชีวิตรอด ซึ่งในภายหลังคุณหมอได้ทำการผ่าตัดขาแยกขาของเธอได้เป็นผลสำเร็จ

ซรีโนมีเลีย” (Sirenomelia) หรือ “กลุ่มอาการเงือก”(Mermaid Syndrome) มีมานานนับร้อยปีแล้ว โดยพบในทารกชายมากกว่าหญิง 2-3 เท่า ซึ่งทารกมักตายตั้งแต่แรกเกิดหรืออยู่ได้ไม่กี่วัน เพราะอวัยวะสำคัญบกพร่องรุนแรง และความผิดปกติของหน้าที่และการเจริญในส่วนไตกับกระเพาะปัสสาวะที่เกี่ยวพัน อย่างซับซ้อน

สาเหตุหลักยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่แพทย์สันนิษฐานว่า อาจเกิดจาก มีการรบกวนเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนล่างของ ตัวอ่อนทารก ขณะอายุครรภ์ได้ประมาณ 3-4 เดือน หรือมารดาได้รับสารก่อรูปวิกลรูปขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ เช่น กรดวิตามินเอชนิดทานที่ใช้รักษาสิว หรือมารดาเป็นเบาหวานรุนแรง เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: Mirror

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

จำเป็นหรือไม่? คนท้องต้องอัลตราซาวด์

5 โรคแทรกซ้อนอันตรายสำหรับคนท้อง

บทความโดย

Muninth