แม่รู้ไหม? เป่า กัดอาหารป้อนลูกเสี่ยงติดเชื้อฟันผุได้

เวลาที่คุณแม่ป้อนอาหารลูกน้อย อาหารที่อาจจะร้อนไปจึงต้องเป่าอาหารก่อนป้อน หรือบางทีชิ้นใหญ่ไปคุณแม่ก็กัดแบ่งให้มักเป็นวิธีที่คุณแม่หลาย ๆ คนทำ แต่คุณแม่รู้ไหมคะว่า การทำแบบนี้อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงฟันผุได้นะคะ แต่จะเสี่ยงอย่างไร ติดตามอ่านค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟันผุ

ฟันผุเป็นโรคสุดฮิตอันดับหนึ่งที่ต้องมาพบหมอฟัน  เริ่มกันตั้งแต่วัยเด็กเลยทีเดียว   ฟันผุเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้แบคทีเรียชื่อ Streptococcus mutans ซึ่งติดต่อได้ทางน้ำลาย สาเหตุอีกประการหนึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญ  คือ คุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูมักไม่เห็นความสำคัญของฟันน้ำนมเพราะถือว่า เป็นฟันที่ใช้งานชั่วคราว อีกไม่นานก็หลุด และมีฟันถาวรขึ้นมาแทนที่ ทำให้ละเลยไม่สนใจดูแลฟันน้ำนมของเด็กเท่าที่ควร

แม่รู้ไหม? เป่า กัดอาหารป้อนลูกเสี่ยงติดเชื้อฟันผุได้

การดูแลลูกโดยเฉพาะในเรื่องของการรับประทานอาหาร  ลูกยังอยู่ในวัยเด็กเล็ก  จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ต้องป้อนอาหารให้เจ้าตัวน้อย  อาหารของลูกที่ปรุงสุกใหม่  ยังร้อนอยู่เวลาที่คุณแม่ป้อนก็มักจะเป่าให้เย็นก่อนจึงจะป้อนลูก  ถ้าอาหารหรือขนมชิ้นใหญ่เกินไปก็มักจะกัดแบ่งให้ลูก  คุณแม่บางคนเคี้ยวอาหารก่อนป้อนลูกก็มีนะคะ   แต่รู้ไหมคะว่า  การทำเช่นนี้ลูกเสี่ยงฟันผุได้นะ!!!   แม้โรคฟันผุจะไม่ใช่โรคทางกรรมพันธุ์ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีฟันผุ  ทำให้ในช่องปากมีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อฟันผุ  มีโอกาสถ่ายทอดไปยังเด็กได้

ดังนั้น  คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้ปากเป่าอาหาร  กัดอาหาร  หรือเคี้ยวอาหารป้อนเด็ก รวมไปถึงไม่ใช้จาน ช้อน แก้วน้ำร่วมกับเด็ก เพราะลูกจะได้รับเชื้อฟันผุจากผู้ที่ป้อนข้าวเข้าไปด้วย  จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นฟันผุมากขึ้น

แนะนำว่า  วิเวลาที่ปรุงอาหารสุกเสร็จใหม่ ๆ อาหารนั้นยังร้อนอยู่ ปล่อยทิ้งไว้ก่อนให้อาหารเย็นลงหรืออุ่น ๆ พอให้ลูกทานได้โดยไม่ต้องเป่า ก็เป็นวิธีการที่ดีนะคะ  บางทีก็อาจจะใช้พัดลมเป่าก็ได้แต่พัดลมนั้นต้องมั่นใจสะอาดไม่มีฝุ่นจับนะคะ ไม่เช่นนั้นฝุ่นผงอาจจะปลิวลงไปในชามอาหารของลูกได้

หมอฟันแนะนำ : วิธีดูแลช่องปากและฟันน้ำนมลูกน้อยในแต่ละช่วงวัย

ทันตแพทย์หญิง พรศริน โตวิศิษฐ์ชัย กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบางบ่อ  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีดูแลช่องปากและฟันน้ำนมของเด็กในแต่ละช่วงวัยว่า

ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนและทยอยขึ้นจนครบ 20 ซี่ เมื่อลูกอายุ 2-3 ปี หน้าที่ของฟันน้ำนมนอกจากใช้บดเคี้ยวและให้ความสวยงามแล้ว     ยังช่วยพัฒนาการออกเสียง ช่วยกระตุ้นให้การเจริญเติบโตของขากรรไกร    และใบหน้าเป็นไปตามปกติ และช่วยกันที่ไว้ให้ฟันถาวรขึ้นอย่างปกติ    การมีฟันเคี้ยวอาหารได้ละเอียดจะส่งผลดีต่อระบบทางเดินอาหารและการเจริญเติบโตของร่างกาย  ดังนั้น  การดูแลช่องปากและฟันควรทำอย่างถูกวิธี  ดังนี้

วัยแรกเกิด – อายุ 6 เดือน

1. ให้เด็กกินนมแม่ดีที่สุด หากกินนมขวด อย่าผสมน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง เพราะจะทำให้เด็กติดรสหวาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ทำความสะอาดช่องปากวันละ 2 ครั้ง โดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดเบา ๆ ที่เหงือก กระพุ้งแก้ม และลิ้น

3. ให้เด็กกินนมเป็นมื้อ และควรให้เลิกนมตอนกลางคืนเมื่อเด็กอายุครบ 6 เดือน

วัย 6 เดือน – 1 ปี

1. เด็กวัยนี้ไม่ควรให้นมเวลาเด็กนอนหลับ

2.  เริ่มฝึกให้เด็กดื่มนมจากแก้วหรือดูดจากหลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ไม่ควรให้เด็กดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือน้ำผลไม้โดยใช้ขวดนม

4. เมื่อฟันเริ่มขึ้น ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดเบาๆ ที่ฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม และลิ้น

5. เมื่อฟันขึ้นเต็มซี่ อาจเริ่มใช้แปรงสีฟันที่มีขนนิ่มแปรงฟันให้เด็ก

วัย 1 ปี – 1 ½  ปี

1. ให้เด็กเลิกดูดขวดนม แต่ให้ดื่มนมจากแก้ว หรือใช้หลอดดูดแทน ดื่มนมรสจืดเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ให้เด็กกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ อย่าให้ดื่มนมมากจนกินอาหารหลักได้น้อย นมเป็นเพียงอาหารเสริม

3. ไม่ควรใช้ปากเป่าอาหารป้อนให้เด็ก หรือใช้จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับเด็ก

4.  ควบคุมเรื่องขนมหวานที่มีลักษณะเหนียวติดฟันในช่วงอาหารระหว่างมื้อ

5. แปรงฟันให้เด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน

วัย 1 ½ ปี – 3 ปี

1. เด็กวัยนี้จะเริ่มมีฟันกรามน้ำนมขึ้น และจะทยอยขึ้นจนครบ 20 ซี่ ให้ใช้แปรงสีฟันขนนิ่มแปรงฟันให้เด็ก วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน

2. อาจเริ่มฝึกให้เด็กแปรงฟันเอง แล้วผู้ปกครองช่วยแปรงซ้ำให้ทั่วทุกซี่ทุกด้านของฟัน

3. เมื่อฟันหลังเริ่มเบียดชิดกัน ผู้ปกครองควรใช้ไหมขัดฟันขัดซอกฟันให้เด็กวันละครั้งก่อนนอน

4. ฝึกให้เด็กกินอาหารเป็นเวลา ไม่กินจุบจิบ

5. เลือกอาหารว่างที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้ หลีกเลี่ยงขนมหวานที่มีลักษณะเหนียวติดฟัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. เด็กวัยนี้ควรเลิกนมขวดได้แล้ว

เมื่อได้ทราบข้อมูลแล้วว่า  การเป่า  กัด หรือเคี้ยวอาหารให้ลูก  อาจทำให้ลูกติดเชื้อฟันผุจากคุณพ่อคุณแม่ได้  ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงนะคะ นอกจากนั้น  การดูแลทำความสะอาดช่องปากและฟันน้ำนมของลูกน้อยสามารถทำตามคำแนะนำของคุณหมอได้เลยคะ  รับรองว่าลูกของคุณจะมีฟันที่สวยงามและช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านการพูดได้ดีอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.khaosodonline.com/view_newsonline.php?newsid=1448851711

https://www.agdentalplus.com/tips_Kids.html

ขอบขอบคุณข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิง พรศริน โตวิศิษฐ์ชัย กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบางบ่อ 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของฟันน้ำนมที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อันตรายจากการปล่อยให้ลูกฟันน้ำนมผุ