เร็ว ๆ นี้ได้มีการโพสต์คลิป คุณแม่ที่ เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวาน และกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก จึงขอหยิบยกบทความที่เคยเผยแพร่แล้ว มาเตือนใจคุณพ่อคุณแม่อีกครั้ง เนื่องจากนมข้นหวานกับทารกนั้น ไม่ใช่ของคู่กัน หากนำมาให้ทารกทาน อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ซึ่งเรื่องนี้แพทย์ก็ได้มีการเตือนไปแล้วว่าวนเลี่ยง
เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวาน อันตราย ! แพทย์เตือนไม่ควรให้ทารกกิน
โดยได้เคยมีการแชร์เรื่องราวของคุณหมอท่านหนึ่ง ที่โพสต์เตือนให้ผู้ปกครองทุกคนทราบ ถึงอันตรายของการ เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวาน ว่าแท้จริงแล้วน่ากลัวกว่าที่คิด จาก ประสบการณ์ของคุณหมอได้เล่าว่า เคยพบผู้ป่วยที่เป็นไข้ในลักษณะเดียวกันนี้ รวมแล้วสิบราย บางรายก็ต้องจากไปด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือด คุณหมอจึงได้ออกมาให้ความรู้กับผู้ปกครองทุกคนได้ทราบว่า นมข้นหวานนั้นไม่ได้เหมาะกับการเลี้ยงลูกเลย
ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยเด็กรายหนึ่ง ถูกวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะการขาดโปรตีน สารอาหาร และพลังงาน ซึ่งในนมข้นหวานนั้นมีส่วนผสมที่ต่างกับนมแม่และนมผงสำหรับเด็ก เพราะมีแต่ ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมเท่านั้นที่เป็นส่วนประกอบ ทำให้ผู้ป่วยเด็กเกิดเป็นผื่น โดยภาวะดังกล่าวนั้นเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย ทำให้เกิดอาการบวมทั้งตัว เนื่องจากโปรตีนในเลือดต่ำมาก จนทำให้น้ำในหลอดเลือดไหลออกมานอกหลอดเลือด ผมเปราะบางร่วงง่าย ผิวหนังหลุดลอกง่าย ตับโต เด็กจะซึมไม่สดใส และมีพัฒนาการช้า
และเพื่อให้เกิดประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ต่อไป ดังนั้น วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะการขาดโปรตีนในเด็กกันค่ะโรคขาดโปรตีนและพลังงานนั้น เป็นโรคการขาดสารอาหารชนิดหนึ่งที่เกิดจากร่างกายนั้นได้พลังงานและโปรตีน ไม่เพียงพอ เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องการสารอาหารต่าง ๆ มากกว่าในวัยอื่น ๆ ถ้าเด็กได้อาหารที่ให้โปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นในด้านคุณภาพหรือปริมาณ ก็จะทำให้เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานได้
วิดีโอจาก : Thai PBS
ลักษณะอาการของโรคขาดโปรตีนและพลังงาน แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
การให้เด็กรับนมข้นหวานมีความเสี่ยงจากที่กล่าวไป ซึ่งลักษณะอาการของทารกน้อยที่แสดงถึงการขาดโปรตีน และพลังงาน ซึ่งสำคัญมากต่อพัฒนาการ และส่งผลเสียมากกว่าที่คิด แบ่งออกได้ 2 อาการ ได้แก่
- ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) : เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน ประเภทที่มีการขาดโปรตีนเป็นอย่างมาก อาการแสดงต่าง ๆ ที่ตรวจพบนั้น จะเห็นได้ชัดว่า เด็กมีอาการบวมที่ขาทั้งสองข้าง เส้นผมเปราะบาง และหลุดร่วงง่าย ผิวหนังบาง ลอกหลุดง่าย ตับโต ซึมเศร้า ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม
- มาราสมัส (Marasmus) : มีอาการขาดทั้งพลังงานและโปรตีน อย่างมาก เด็กมีอาการแขนขาลีบเล็ก เหลือหนังหุ้มกระดูกเพราะกล้ามเนื้อและไขมันถูกเผาผลาญเป็นพลังงาน ในกรณีที่เด็กได้รับอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุ (Micronutrient) ไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อสุขภาพเด็กเพิ่มเติมอีกด้วย เช่น ภาวะโลหิตจาง (ขาดวิตามินบี ธาตุเหล็ก) เลือดออกตามไรฟัน (ขาดวิตามินซี) สายตาบกพร่อง (ขาดวิตามินเอ) เป็นต้น
เรื่องโภชนาการของทารกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรใส่ใจอย่างมาก เพราะวัยเด็กต้องการสารอาหารมาเสริมสร้างพัฒนาการ ทั้งในด้านร่างกายและสมอง ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวาน หรือผสมนมข้นหวานกับน้ำนมเด็ดขาดนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : จำให้แม่น !! การเลือกซื้อนมผงให้ลูก อย่างไรให้เหมาะ ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง อย่าเพิ่งเชื่อว่าดี !
นมที่ใช้กับทารกได้ควรเป็นแบบไหน ?
มาจนถึงจุดนี้แล้ว คุณแม่ที่กำลังมีทารก คงกำลังสงสัยว่า หากจะให้นมลูกควรให้นมแบบไหนจึงมีความเหมาะสม และมีความปลอดภัยมากที่สุด ในเรื่องนี้สำหรับทารกที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน และไม่ได้มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าทารกไม่สามารถรับนมของแม่แท้ ๆ ได้ หรือคุณแม่ไม่พร้อมให้นม ก็ควรจะให้ทารกได้กินนมแม่ไปก่อน ซึ่งสำคัญมาก เนื่องจากในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกของทารกแรกเกิด สารอาหารที่จำเป็นต่อทารกจะรวมอยู่ในนมแม่แล้ว แต่ถ้าไม่สามารถให้นมได้ ค่อยพิจารณาว่าจะรับการบริจาค จากธนาคารน้ำนมหรือไม่ แต่ก็ควรจะเป็นตัวเลือกสุดท้าย และต้องทำตามขั้นตอนอย่างระมัดระวัง
สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาแล้วหย่านมแม่ได้แล้ว สามารถหย่าเต้าได้ ก็จะอยู่ในช่วงของการรับนมผง หรือนมชงทั่วไป ซึ่งต้องเลือกให้ดี เนื่องจากยังเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญ หลังจากทารกหย่าเต้า โดยมีหลักการในการเลือกนมผงอยู่ ที่จะทำให้สามารถเลือกนมมาได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่
- เลือกตามวัยให้ถูกต้อง : ควรเริ่มจากการวัดอายุของลูกน้อยว่าอายุเท่าไหร่ เนื่องจากจะส่งผลต่อการเลือกสูตรนมด้วย เช่น ทารกแรกเกิดถึง 1 ปี เลือกเป็นสูตร Infant formula, อายุ 6 เดือนถึง 3 ปี เลือกสูตร Follow on formula และสูตร 3 สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป เป็นต้น
- เลือกนมตามความสมบูรณ์ร่างกาย : เนื่องจากเด็กเล็กบางคน อาจมีอาการแพ้สารอาหารเฉพาะตัว อาจทำให้ไม่สามารถรับสารอาหารจากนมบางชนิดได้ ซึ่งต้องระวัง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น หากพบว่าลูกแพ้นมวัว ก็ต้องเลือกนมชนิดอื่นให้ลูกดื่มแทน หรือลูกท้องเสียง่าย ท้องเสียบ่อยให้เลือกนมที่มีโปรตีนย่อยง่าย เป็นต้น
- โภชนาการจากฉลาก : ผู้ปกครองต้องไม่ลืมว่าการที่ทารกกินนมไม่ใช่แค่เพื่อให้อิ่มท้องเท่านั้น แต่เป็นการรับสารอาหารที่สำคัญมากเข้าสู่ร่างกายด้วย ให้สังเกตสารอาหารต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น DHA, Dual Fibers หรือDual Proteins เป็นต้น
ถึงแม้ทารกจะรับนมแม่ไม่ได้ หรือถึงวัยที่รับนมผงแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเลือกนมได้ตามใจชอบ ให้มองถึงผลประโยชน์ที่ลูกน้อยจะได้รับ ประกอบกับเหมาะสมต่อร่างกายของทารกร่วมด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รีวิว 6 นมกล่อง ยูเอชที สำหรับเด็ก 1 ขวบ ปี 2022 ยี่ห้อไหน ให้สารอาหารสมองดีที่สุด
นมผงสูตร 3 วิธีเลือกนมผงสำหรับเด็ก สูตรไหนเหมาะกับลูกน้อย
นมผง ได้ประโยชน์น้อยกว่านมพร้อมดื่มจริงหรือ? คุณแม่ควรเลือกซื้อนมผงอย่างไร