เสี่ยงแท้งหรือไม่!! แม่ท้องเป็นงูสวัด

โรคงูสวัดมีความเชื่อกันว่า หากเม็ดตุ่มพองขึ้นรอบตัวเมื่อไรจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แล้วถ้าคนท้องเป็นโรคงูสวัดจะเป็นอันตรายมากหรือไม่ มีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร มาดูกันว่าความเชื่อและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคงูสวัดนั้นเป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

รู้จัก&เข้าใจ โรคงูสวัดอย่างถูกต้อง

โรคงูสวัด เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “เชื้อวีแซดวี (varicella-zoster virus)” ที่บริเวณผิวหนัง

อาการที่พบ

จะมีตุ่มใสๆ ขึ้นกระจายเป็นกลุ่มๆ ตามแนวของเส้นประสาทที่เป็นจุดรับสัมผัส ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นแค่ด้านใดด้านหนึ่งของลำตัวโดยอาจจะมีอาการปวดหรือคันในบริเวณนั้นก่อนระยะเวลาที่จะเป็นตุ่มใสอยู่ประมาณ 3-5 วัน และหายได้ภายใน 1-2 อาทิตย์ แต่บางรายหลังแผลหายแล้วอาจมีอาการปวดประสาทนานเป็นแรมปี หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้

จริงหรือไม่ โรคงูสวัดขึ้นรอบเอวต้องเสียชีวิต

คำตอบ คือ  ไม่จริงค่ะ  เพราะที่เสียชีวิตอาจเป็นเพราะร่างกายอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรค การรู้จักรักษาร่างกายให้แข็งแรง เสริมภูมิต้านทานโรคให้สมบูรณ์อยู่เสมอ จึงมีความสำคัญในการป้องกันโรคและระงับความรุนแรงของโรค

เสี่ยงแท้งหรือไม่!! แม่ท้องเป็นงูสวัด

ระยะตั้งครรภ์

1. โรคงูสวัดสามารถถ่ายทอดจากแม่ท้องไปยังทารกในครรภ์ได้ในระหว่างไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ความรุนแรงของโรคอาจจะทำให้เกิดทารกพิการหรืออาจแท้งได้

3. ความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกเกิดความผิดปกติระหว่างอยู่ในครรภ์นั้น ขึ้นกับหลายปัจจัย ได้แก่ โรคประจำตัวของแม่  อายุครรภ์ และความรุนแรงของโรคงูสวัด

4. สิ่งสำคัญที่สุดหากแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคงูสวัด ควรรีบพบคุณหมอทันที

5. สำหรับผู้ที่วางแผนจะมีบุตร ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระยะหลังคลอด

ทารกบางคนที่ได้รับเชื้ออีสุกอีใสจากแม่ในขณะตั้งครรภ์ แล้วเด็กเกิดมาปกติแสดงว่าเด็กมีเชื้ออีสุกอีใสอยู่ในตัว พอเด็กอายุ 1-3 ปี ก็จะเป็นงูสวัดเลย ซึ่งในกรณีที่เด็กเล็กเป็นงูสวัดแบบนี้ ควรจะกลับไปตรวจประวัติสุขภาพคุณแม่ตอนตั้งครรภ์ควบคู่กันไปด้วยค่ะ

การรักษาและการปฏิบัติตัวคนเป็นโรคงูสวัด

1. ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติอาจรักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาแก้ปวด เนื่องจากสามารถหายได้เอง

2. ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก รับประทานยาต้านไวรัส เช่น  acyclovir ภายใน 48-72  ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยให้รอยโรคทางผิวหนังหายได้เร็วขึ้นและลดความรุนแรงของโรครวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ประคบแผลด้วยน้ำเกลือ ครั้งละประมาณ 10 นาที  3-4 ครั้ง/วัน จะช่วยทำให้แผลแห้งขึ้น

4. ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนอาจต้องได้รับยา  ปฏิชีวนะชนิดทาหรือรับประทานร่วมด้วย

5. ถ้ามีอาการปากเปื่อยลิ้นเปื่อยให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก

6. ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา และอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมและกลายเป็นแผลเป็น

7. ถ้ามีอาการปวดหลังการติดเชื้อ สามารถรับประทานยาพาราเซตตามอลแก้ปวด ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

8. คนท้องหากเกิดโรคงูสวัด ควรปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง  โดยเฉพาะไม่พ่นหรือทายา เช่น ยาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพรลงไป บริเวณตุ่มน้ำ เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็นได้ และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้

ช่วงนี้อากาศร้อนอบอ้าว  โรคที่เกี่ยวกับผิวหนังอาจมาเยือนได้ง่าย ๆ การรักษาความสะอาดของผิวหนังโดยเฉพาะคนท้อง หากมีความผิดปกติหรือเกิดโรคใด ๆ ขึ้นมา ควรปรึกษาคุณหมอโดยด่วนนะคะเพื่อความปลอดภัย

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.phyathai.com

https://www.komchadluek.net

https://baby.kapook.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผื่นตั้งครรภ์ เรื่องคัน คัน ของแม่ตั้งครรภ์

จะรอให้ท้องลายกันทำไม? ป้องกันการแตกลายเมื่อตั้งครรภ์แต่เนิ่นๆด้วยวิธีนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา