เมื่อน้องหมาและน้องแมวอยากมีส่วนร่วมใน การทำคลอด
เพราะ การทำคลอด ในบ้าน สมาชิกหรือเพื่อนฝูงในบ้านคนไหนก็สามารถมาร่วมให้กำลังใจด้วยได้ และนี่คืออีกหนึ่งสมาชิก ที่อยากจะขอมีส่วนร่วมกับช่วงเวลาแห่งความยิ่งใหญ่นี้ด้วย
แม่จ๋า พ่อจ๋า หนูขอดูน้องด้วยน๊า
นี่หรือ น้องของหนู
ดูตาน้องหมาสิ … มันมีค่าเกินกว่าที่จะบรรยายออกมาจริง ๆ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ นอกจากน่ารักแล้วยังดูซึ้งกินใจอีกด้วย และนี่แหละ คือสิ่งที่สมาชิกในครอบครัวควรให้กำลังใจในกันและกัน แล้วคุณพ่อคุณแม่ทางบ้านละคะ มีภาพของน้องหมาน้องแมวมาช่วยให้กำลังใจและช่วยเลี้ยงดูน้องกันบ้างหรือเปล่า ลองแชร์ความน่ารักของพวกเขากันเข้ามาดูนะคะ
วิธีเตรียมรับมือกับ การคลอดลูก ฉุกเฉิน
การคลอดลูกเเม้คุณเเม่บางคนจะโชคดีที่ไปคลอดที่โรงพยาบาลได้ทัน เเต่ก็ไม่ใช่คุณเเม่ทุกคนจะโชคดีเเบบนั้นนะคะ รับมือคลอดลูกฉุกเฉิน คลอดง่ายๆ ทำได้คนเดียว ในกรณีที่คุณเเม่อยู่บ้านคนเดียว หรือเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินทำให้ไม่สามารถไปถึงโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีค่ะ
1.ฉุกเฉินเเค่ไหน
หากนี่เป็นท้องเเรก เเน่นอนว่าคุณเเม่ไม่เเน่ใจหรอกค่ะว่า คุณเเม่มีเวลาอีกนานเเค่ไหนลูกถึงจะออกมา เพราะมันยากที่จะมีกรณีของถุงน้ำคร่ำเเตกเเบบในละคร เเต่ถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นจริง ก็ขอให้รู้ไว้ว่า สิ่งที่จะต้องทำเป็นอันดับเเรกเลยคือ ตั้งสติค่ะ อย่าสติเเตกไปเสียก่อน เพราะในนาทีนี้ตนเป็นที่พึ่งเเห่งตนจริงๆ นะคะ
2.โทรหาตำรวจ
อย่างไรก็ตามพยายามโทร 191 ก่อนนะคะ ถ้า 2 ครั้งเเล้วยังไม่ติด ควรจำหรือเมมเบอร์ฉุกเฉินอื่นๆ ไว่ด้วย เช่น
- ถ้าอยู่ต่างจังหวัด เบอร์ 1669 เป็นเบอร์ของศูนย์นเรนทร
- ถ้าอยู่กรุงเทพฯ เบอร์ 1646 เป็นเบอร์ของศูนย์เอราวัณ
3.ตั้งสติ
ขณะที่รอรถตำรวจหรือรถของมูลนิธิ ตอนนี้คือเวลาที่คุณเเม่ต้องตั้งสติให้ดีก่อนที่จะตื่นตระหนกมากไปกว่านี้นะคะ ขั้นเเรกตัวเองมีโรคประจำตัวหรืออาการเเทรกซ้อนในการคลอดไหม ลองนึกย้อนดูค่ะว่าคุณหมอว่ายังไงบ้าง เเละช่วงนี้ก็พยายามหายใจเข้าออกให้ลึกๆ นะคะ ครั้งล่าสุดที่ตรวจครรภ์ ลูกอยู่ในท่ากลับหัวรึยัง ถ้ากลับเเล้ว ก็โล่งใจได้นะคะ อีกอย่างนึงคืออย่ากังวลไปค่ะ ในหลายๆ ประเทศนิยมการคลอดลูกที่บ้านด้วยซ้ำไปค่ะ
4.ผ่อนคลายเข้าไว้
หายคุณเเม่ยังลุกเดินไหวอยู่ในตอนนี้ พยายามอยู่ในท่าที่สบายที่สุดค่ะ จะนั่งนอน หรือคุกเข่าก็ได้ทั้งนั้นค่ะ การอยู่ในสถานที่ๆ เงียบสงบหรือเปิดเพลงเบาๆ มีไฟสลัวๆ ไม่สว่างมาก ช่วยทำให้คุณเเม่ผ่อนคลายได้มากขึ้นนะคะ ระหว่างนี้พยายามติดต่อญาติที่อยู่ใกล้ๆ หรือคุณสามีหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียง อย่างน้อยก็ช่วยหยิบจับอะไรให้คุณได้บ้างค่ะ
5.ถ้าลูกอยากออก ก็ปล่อยให้เขาออกมา
ถ้าถุงน้ำคร่ำเเตก ลมเบ่งมาพร้อม เเละร่างกายสั่งให้คุณเเม่เบ่ง ก็จงเบ่งค่ะ อย่าไปอั้นไว้ ถ้ารู้สึกว่าหัวลูกโผล่ออกมาเเล้ว อย่าดึงเขาออกมานะคะ เพียงเเค่ประคองหัวลูกไว้ เเล้วคุณเเม่ค่อยๆ เบ่งให้ลูกออกมาค่ะ ถ้าสังเกตว่ามีรกพันอยู่ที่คอ ให้คุณเเม่ค่อยๆ เอานิ้วสอดเข้าไปเเล้วเเกะออกค่ะ อย่าลืมว่าอย่าตื่นตกใจไปนะคะ
6.เมื่อลูกออกมาเเล้ว ยังไงต่อ
วางลูกเอาไว้เเนบอกค่ะ ให้ผิวเปลือยเปล่าของคุณเเม่ได้สัมผัสลูกน้อย จากนั้นก็พยายามให้ลูกดูดนมค่ะ หากเขาเเหวะขี้เถ่าออกมาอย่าเพิ่งตกใจนะคะ เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ สังเกตดูว่าลูกหายใจไหม ถ้าออกมาร้องจ้าก็ไม่ต้องเป็นห่วงไปค่ะ เเต่ถ้าลูกไม่ร้องให้สัมผัสเขาเบาๆ พยายามอุ้มลูกให้หัวของลูกอยู่ต่ำกว่าเท้าค่ะ จากนั้นลูบหลังให้ลูกหายใจเอาน้ำคร่ำออกมา ถ้ายังไม่ได้ผลให้เป่าปากลูกนะคะ พยายามให้ออกซิเจนกับลูก เเต่มีเด็กเพียงเเค่ 1% เท่านั้นที่ต้องการความช่วยเหลือหลังจากคลอดออกมา คุณเเม่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ
จากนั้นเมื่อลูกหายใจเเล้ว พยายามให้ลูกดูดนมนะคะ การดูดนมคุณเเม่จะกระตุ้นให้รกที่อยู่ข้างในไหลออกมาเองค่ะ ปกติคือภายใน 20 นาทีนะคะ
7.ยังไม่ต้องตัดสายสะดือ
ยังไม่ต้องรีบตัดสายสะดือค่ะ การตัดสายสะดือต้องทำเเบบที่ปลอดเชื้อจริงๆ ค่ะ เเล้วเลือดประมาณ 30% ของลูก อยู่ในสายสะดือค่ะ นั่นหมายความว่าคุณมีเวลาอีก 2-5 นาทีที่จะรอให้ลูกได้รับออกซิเจน นี่อาจจะเป็นการช่วยชีวิตของลูกคุณก็ได้ค่ะ ดังนั้นรอการช่วยเหลือดีกว่านะคะ ให้คุณหมอหรือพยาบาลเป็นคนตัดสายสะดือให้ดีกว่าค่ะ
คุณแม่และคุณสามีควรรู้ คลอดลูกเองที่บ้าน ต้องเตรียมตัวอย่างไร
สมัยก่อน ผู้หญิงมักจะคลอดลูกเองที่บ้าน แต่ด้วยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การคลอดลูกเองที่บ้าน จึงไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไป โดยคุณหมอจะแนะนำ ให้มาคลอดที่โรงพยาบาลหรือถ้าเป็นต่างจังหวัด ก็อาจจะเป็นที่สถานีอนามัยแทน แต่ก็ยังมีผู้หญิงอีกหลาย ๆ คนที่ต้องการคลอดลูกเองที่บ้านมากกว่า
เมื่อใดที่จะคลอดลูกเองที่บ้านได้
การคลอดที่บ้านเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคุณผู้หญิงที่
- มีครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความเสี่ยงต่ำ
- มีแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ที่มีผ่านการอบรมและมีประสบการณ์คอยดูแล
- วางแผนห้องและจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ไว้พร้อมใช้งาน
- บ้านที่จะใช้เป็นสถานที่คลอดตั้งอยู่ใกล้โรงพยาบาล เผื่อในกรณีฉุกเฉิน จะได้ส่งตัวคุณแม่ไปยังโรงพยาบาลได้สะดวกและรวดเร็ว
เมื่อใดที่ไม่ควรคลอดลูกเองที่บ้าน
ในทางกลับกัน การคลอดลูกเองที่บ้านไม่แนะนำสำหรับคุณผู้หญิงที่
-
- เป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง
- ไม่มีแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ ที่มีผ่านการอบรมและมีประสบการณ์คอยดูแล
- คิดว่าไม่สามารถทนอาการปวดท้องคลอดได้
- เคยมีประสบการณ์ในการคลอดที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหา เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกไม่กลับหัวหรือมีส่วนนำเป็นก้น
- มีประวัติการผ่าคลอดหรือการผ่าตัดมดลูก
- คู่สมรสไม่สนับสนุนการคลอดที่บ้าน
ข้อดีของการคลอดลูกเองที่บ้านสำหรับคุณแม่ที่อายุไม่มาก
- ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยและผ่อนคลาย แวดล้อมไปด้วยครอบครัวและเพื่อน ๆ
- สามารถเลือกอยู่ในภาวะแวดล้อมที่ต้องการได้ จึงสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดครั้งนี้ได้มากกว่า
- มีอิสระเต็มที่ ในการทำให้ตนเองรู้สึกสบายอย่างที่ต้องการ
- ได้อยู่สบาย ๆ ในบ้านของตัวเอง
- ไม่ต้องเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- ได้รับความใส่ใจดูแลจากพยาบาลผดุงครรภ์มากกว่าในโรงพยาบาล
- มีความรู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นในการเป็นคุณแม่มากขึ้น
- เกิดความผูกพันใกล้ชิดกับลูกน้อยทันที
- สามารถให้นมลูกได้ทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมทั้งสำหรับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง
- ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการคลอดที่โรงพยาบาล
ความเสี่ยง
ก่อนที่จะตัดสินใจคลอดลูกเองที่บ้าน คุณจะต้องพิจารณาถึงข้อด้อยต่าง ๆ ได้แก่
- ถ้าคุณทนการเจ็บท้องคลอดไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว คุณจะไม่มีทางเลือกที่จะขอบล็อกหลัง
- หากเกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้น เช่น อาการเหนื่อยอ่อนจากการคลอด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทารกอยู่ในภาวะเครียด สายสะดือพลัดต่ำ หรือมีการตกเลือด คุณจะต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- ครอบครัว เพื่อน ๆ และคุณหมออาจไม่เห็นด้วยหรือไม่สนับสนุนความคิดนี้
- คุณต้องเป็นผู้ตัดสินใจ หรือเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดที่บ้านเองทุกอย่าง
- อาจไม่มีความเป็นส่วนตัวเนื่องจากครอบครัวและเพื่อน ๆ อาจเข้ามายุ่งกับการคลอด
ทำอย่างไรจึงปลอดภัย
เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะคลอดลูกเองที่บ้าน สิ่งที่คุณจะต้องพิจารณา และเตรียมพร้อมเพื่อความปลอดภัยได้แก่
- จ้างพยาบาลผดุงครรภ์ที่ได้รับใบอนุญาต พร้อมสูติแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการทำคลอดที่บ้าน สัมภาษณ์นางพยาบาลที่จะมาช่วยดูแลการคลอดของคุณ ทำความรู้จักกับเธอและขอคำแนะนำ ในการเตรียมรับมือกับอาการเจ็บท้องคลอดและเรื่องอื่น ๆ ที่คุณอาจต้องทราบ
- เตรียมแผนสำรอง ในกรณีที่เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้น คุณควรมีแผนสำรองที่จะช่วยให้การพาคุณส่งโรงพยาบางใกล้บ้านเป็นไปได้เร็วขึ้น
- เตรียมหากุมารแพทย์ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้คุณหมอมาดูลูกน้อยของคุณได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ดีและไม่มีปัญหาใด ๆ
- เตรียมอุปกรณ์และข้าวของที่จำเป็นสำหรับการคลอด นอกเหนือจากเครื่องมือที่พยาบาลผดุงครรภ์จะนำมาแล้ว คุณจะต้องสอบถามด้วยว่าคุณควรจะต้องเตรียมอะไรบ้าง
หากคุณกำลังตั้งครรภ์และพิจารณาการคลอดที่บ้านอยู่ ขอให้คุณชั่งน้ำหนักให้ดี ระหว่างข้อดีและข้อด้อยของการคลอดแบบนี้ ไม่มีใครบอกได้ว่า อะไรดีที่สุดสำหรับคุณและลูกน้อย แต่ที่แน่ ๆ ก็คือการตัดสินใจของคุณ จะมีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกน้อย
ที่มา: Huffington Post
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
แม่แชร์การผ่าคลอดกับรักแท้ที่ยิ่งใหญ่
ผู้ปกครองบุกร้อง สาธารณสุข ตรวจสอบ รพ. ทำคลอดเด็กทารก ดับกว่า 40 คน
คลิปคลอดลูกธรรมชาติ วีดีโอกำเนิดทารก พร้อมคำแนะนำ อยากคลอดลูกง่าย ต้องทำไง