Alana Alipate คุณแม่ลูกสามชาวออสเตรเลีย ไม่เคยที่จะนอนหลับได้สนิท เพราะเธอจะต้องคอยเฝ้าดูแล Huxton ลูกชายวัย 16 เดือนที่ป่วยเป็น โรคลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจหยุดเต้น ได้ทุกเมื่อ
ทั้งเธอ และสามีต้องพบกับข่าวร้ายนี้ เมื่อตอนที่ Huxton ลูกชายมีอายุได้เพียง 2 สัปดาห์ เพราะอาการป่วย โรคลิ้นหัวใจรั่ว นั้น ส่งผลให้ลิ้นหัวใจของลูกชายทำงานไม่ปกติ เลือดจึงไหลย้อนกลับทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และเหนื่อยง่ายขึ้น แน่นอนว่า หัวใจของหนูน้อยคนนี้ ต้องทำงานหนักกว่าคนอื่น รวมทั้งมีโอกาสที่ หัวใจหยุดเต้น ได้ทุกเมื่อ
“ฉันไม่เคยได้นอนหลับสนิทเลยสักคืน เพราะฉันกลัวว่า ถ้าหากฉันหลับไปแล้ว หัวใจของเขาหยุดเต้นขึ้นมา ฉันอาจจะต้องสูญเสียเขาไปตลอดชีวิตได้” Alana กล่าว
เพราะวาล์วเปิด-ปิดจะทำงานไม่ปกติ ทำให้ Huxton ต้องเข้าการผ่าตัดหัวใจเป็นครั้งแรกตอนมีอายุได้ 6 สัปดาห์ และเมื่อร่างกายของเขาโต และพร้อมกว่านี้ เขาก็จะต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกครั้ง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การผ่าตัดในอนาคตข้างหน้า จะสามารถช่วยทำให้หนูน้อย Huxton กลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนกับเด็ก ๆ ทั่วไป
ปัจจุบันเราพบว่ามีทารกแรกเกิดป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วกันมากขึ้น ซึ่งการกำเนิดของเด็กแต่ละครั้งทั่วโลก จะพบว่ามีเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด 8 คน และหนึ่งในนั้นจะเป็นโรคลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิดประมาณ 5 เปอร์เซ็น จริงอยู่ที่โรคลิ้นหัวใจรั่วนั้น สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับคนที่เรารักเป็นแน่ และเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ทุก ๆ ท่าน วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาฝากกันค่ะ
ลิ้นหัวใจคืออะไร
ลิ้นหัวใจของคนเรา จะทำหน้าที่เป็นเหมือนวาล์วเปิด-ปิดก๊อกน้ำ ซึ่งเปิดเมื่อเลือดไหลผ่าน และจะปิดเพื่อไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ เด็กที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว วาล์วเปิด-ปิดจะทำงานไม่ปกติ เลือดจึงไหลย้อนกลับทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และเหนื่อยง่ายขึ้น
สาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดลิ้นหัวใจรั่ว
- มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยอาจไม่มีอาการอะไรให้เห็นในวัยเด็ก หรือตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์
- ลิ้น หัวใจเสื่อมตามอายุ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหว และรับแรงจากเลือดตลอดเวลา ดังนั้น จึงเกิดการเสื่อมขึ้น ลิ้นหัวใจ จะหนาตัวขึ้น และเริ่มมีหินปูน (calcium) เข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อ ทำให้ปิดไม่สนิท
- โรคหัวใจรูห์มา ติค ซึ่งพบบ่อยในเด็ก ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ต่อต้านหัวใจตนเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผลตามมาคือลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นมาก เกิดลิ้นหัวใจตีบ และรั่ว โรคนี้ยังจัดเป็นปัญหา สาธารณสุขของประเทศอยู่ พบบ่อย ๆ ในผู้ป่วยเศรษฐานะต่ำ หรืออยู่ในชุมชนแออัด
- เกิดจากการติด เชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นรู เชื้อโรคอาจมาจากช่องปาก เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาดในผู้ติดยาเสพติด การเจาะตามร่างกาย เป็นต้น
ลูกเจ็บหน้าอก มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่
บทความ : ลูกบ่นเจ็บหน้าอก เป็นโรคหัวใจหรือเปล่า?
อาการเจ็บหน้าอกมีได้หลายสาเหตุ แต่ในที่นี้หมอขอแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุอย่างใหญ่ ๆ ค่ะ ก็คือ สาเหตุจากความผิดปกติของหัวใจ และสาเหตุที่ไม่ใช่จากหัวใจ โดยสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งอันตรายร้ายแรงนั้น จากสถิติจะพบได้ไม่บ่อยในเด็กค่ะ
สาเหตุของการเจ็บหน้าอกจากความผิดปกติของหัวใจมีอะไรบ้าง?
สาเหตุของการเจ็บหน้าอกจากจากความผิดปกติของหัวใจ มีหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ โรคของเยื่อบุหัวใจ เช่น เยื่อบุหัวใจมีการอักเสบ หรือมีน้ำในเยื่อบุหัวใจ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการที่รุนแรง เฉียบพลัน เช่น เหงื่อออก มีอาการซีดเซียว ใจสั่น คลื่นไส้อาเจียนอย่างมากร่วมด้วย และผู้ป่วยอาจจะมีประวัติการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของสมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อย ซึ่งอาจเกิดจากโรคหัวใจ
สาเหตุของการเจ็บหน้าอกที่ไม่ใช่จากหัวใจ มีอะไรบ้าง?
สาเหตุที่พบได้บ่อยของการเจ็บหน้าอกที่ไม่ใช่จากหัวใจ ได้แก่ การอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก ซึ่งพบได้บ่อยมากในเด็ก ผู้ป่วยมักจะมีประวัติอุบัติเหตุกระทบกระแทก เล่นกีฬา ยกของหนัก โดยอาการมักจะมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง หรือถูกกดบริเวณนั้น และหายใจเข้าลึกๆ, โรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ร่วมกับ เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย หายใจมีเสียงวี้ด หรือโรคปอดอักเสบติดเชื้อ มีอาการร่วมคือ มีไข้ ไอ และหอบ ฟังปอดได้เสียงผิดปกติ, ภาวะเยื่อหุ้มปอดมีการอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแบบแปล็บๆ, โรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน โดยอาการลักษณะการเจ็บหน้าอกเป็นแบบแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ก่อนจะกระจายมาที่กลางหน้าอก และเจ็บมากขึ้นหลังทานอาหาร
นอกจากนี้ อาการเจ็บหน้าอกอาจมีสาเหตุมาจากจิตใจ ความกังวล และความเครียด ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กโตและวัยรุ่น โดยเกิดหลังจากความเสียใจ การสูญเสีย หรือการเจ็บป่วยหนักของคนในครอบครัว
แต่ก็มีเด็กที่มีอาการเจ็บหน้าอกส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ โดยอาการจะเกิดขึ้นแล้วหายไปได้เองค่ะ
หากลูกมีอาการเจ็บหน้าอก ร่วมกับลักษณะอย่างไร ที่ควรรีบไปพบคุณหมอ?
หากลูกมีอาการเจ็บหน้าอกมากอย่างกะทันหันขณะออกกำลังกาย เจ็บมาก จนตื่นนอนขึ้นมาตอนกลางคืน ใจสั่น หน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีประวัติในอดีตเป็นโรคหัวใจ หรือโรคที่มีความผิดปกติของหัวใจร่วมด้วย มีประวัติคนในครอบครัวเสียชีวิตกะทันหัน หรือมีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว หรือ มีอาการไข้ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันทีที่มีอาการ เพื่อความปลอดภัยนะคะ
ที่มา : The Sun
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกบ่นเจ็บหน้าอก เป็นโรคหัวใจหรือเปล่า?
ตรวจโรคหัวใจทารกแต่เนิ่น ๆ ช่วยรักษาชีวิตได้
โรคลิ้นหัวใจรั่วในทารกแรกเกิด โรคที่พ่อแม่ควรรู้จัก