ฮีทสโตรก คนท้อง ต้องระวัง! เตือนคุณแม่ตั้งครรภ์ระวังโรคลมแดด

โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ภัยเงียบของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งการเผาผลาญสูงกว่าปกติ ทำให้เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย คุณแม่ต้องระวังให้ดีนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฮีทสโตรก คนท้อง ต้องระวัง! ตั้งครรภ์ระวังโรคลมแดด

ฮีทสโตรก คนท้อง ต้องระวัง! เพราะเมืองไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว มาดูสัญญาณเตืิอนโรคลมแดด อาการของโรคฮีทสโตรก และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยฮีทสโตรกกันค่ะ

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว

วันนี้ (5 มี.ค.2561) กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่องการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ.2561 โดยมีรายละเอียด

ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว เมื่อวันที่ 3 มี.ค.2561 โดยอุณหภูมิสูงสุดบริเวณประเทศไทยตอนบนได้สูงขึ้นเกือบทั่วไปและมีอากาศร้อนในตอนกลางวันอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทย ได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ หรือลมฝ่ายใต้พัดปกคลุม ซึ่งเป็นการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย แต่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง คาดว่าฤดูร้อนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2561

จากการประกาศเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการของกรมอุตุนิยมวิทยา สิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งก็คือ อันตรายจากอากาศร้อน โดยเฉพาะโรคลมแดด ลมร้อน หรือฮีทสโตรก

ฮีทสโตรก คนท้องต้องระวัง! เตือนคุณแม่ตั้งครรภ์ระวังโรคลมแดด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฮีทสโตรกคืออะไร

นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปี 2561 กรมอุตุนิยมวิทยาประเมินว่าตั้งแต่มีนาคม ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูร้อน สภาพอากาศร้อนอบอ้าวและร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิสูงสุดอาจจะสูงถึง 40-42 องศาเซลเซียส ซึ่งในช่วงอากาศร้อนจัด ประชาชนเสี่ยงมีภาวะเจ็บป่วยจากสภาวะอากาศร้อน ทั้งโรคลมแดด ลมร้อน หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) มีอันตรายอย่างรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการทำงานผิดปกติของระบบสมอง

ความรุนแรงของโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก

ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา มีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดเฉลี่ยปีละ 32 คน ล่าสุดในปี 2559 พบผู้เสียชีวิต 21 ราย สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส และไม่สามารถปรับตัวได้

ฮีทสโตรก อาการ

  • ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยล้า
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • วิตกกังวล
  • สับสน
  • ปวดศีรษะ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หน้ามืด

อาจมีอาการเพิ่มเติมเช่น ภาวะขาดเหงื่อ เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อค หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้

6 กลุ่มเสี่ยงโรคลมแดด

  1. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น เล่นกีฬา การฝึกทหาร ที่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ผู้ทำงานกลางแดด เช่น กรรมกร ก่อสร้าง เกษตรกร
  2. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้สูงอายุ
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง
  4. คนอ้วน
  5. ผู้ที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
  6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด

ฮีทสโตรก ปฐมพยาบาล อย่างไร

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยฮีทสโตรก

นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ อธิบายว่า เมื่อเจอผู้ประสบเหตุเป็นลมกลางแดด ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการนำตัวเข้ามาในที่ร่ม จากนั้นให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง คลายเสื้อผ้าให้หลวม แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัวและศรีษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด หากยังไม่ฟื้น ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล

วิธีการป้องกัน ไม่ให้เป็นโรคลมแดด

หากเริ่มรู้สึกร้อนมากๆ เนื่องจากทำกิจกรรมหรือทำงานกลางแจ้งนานๆ ให้เลี่ยงออกจากพื้นที่ โดยต้องพักจากกิจกรรมนั้น เพื่อทำให้ร่างกายเย็นลง ด้วยการเปิดพัดลม ดื่มน้ำเย็น ใช้ผ้าเย็นเช็ดหน้า เช็ดตัว เพื่อเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ที่สำคัญควรจิบน้ำบ่อยๆ แม้ไม่รู้สึกกระหายก็ตาม นอกจากนี้ ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา และสามารถระบายความร้อนได้ดี ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนเด็กเล็กและคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ควรจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้ดี

ที่มา : https://www.thaihealth.or.th

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฮีทสโตรก คนท้องต้องระวัง! เตือนคุณแม่ตั้งครรภ์ระวังโรคลมแดด

 

อ่านเตือนคุณแม่ตั้งครรภ์ระวังโรคลมแดด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เตือนคุณแม่ตั้งครรภ์ระวังโรคลมแดด

ช่วงหน้าร้อนคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะต้องดูแลตัวเองดีๆ นะคะ เพราะจากการที่คุณแม่มีภาวะการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ การเผาผลาญพลังงานในร่างกายขณะตั้งครรภ์จึงสูงกว่าภาวะปกติ ส่งผลให้คุณแม่มีอาการหงุดหงิด มีเหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย และที่สำคัญเกิดโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ง่ายกว่าคนปกติซึ่งอาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดอันตรายต่อตัวของแม่เองและอาจมีผลกระทบถึงเด็กในครรภ์ได้ค่ะ

โรคฮีทสโตรก

“โรคฮีทสโตรก” เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จะมีอาการเบื้องต้น ได้แก่ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน ปวดศีรษะ ความดันต่ำ หน้ามืด และยังอาจมีผลต่อระบบไหลเวียน ซึ่งอาจมีอาการเพิ่มเติม เช่น ภาวะขาดเหงื่อ เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อค หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยค่ะ

นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ฤดูร้อนปี 2560 กรมอุตุนิยมวิทยาประเมินว่าตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายนจะมีอากาศร้อนอบอ้าวและร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิสูงสุดอาจจะสูงถึง 42-43 องศา ซึ่งข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุว่าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-17 เมษายน 2559 ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากโรคลมร้อน 21 คน และในช่วงเวลาเดียวกันระหว่าง พ.ศ.2556-2559 มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 32 คนด้วยกันเลยค่ะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทำอย่างไร

  • จากข้อมูลข้างต้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท ร้อนอบอ้าว สถานที่อยู่อาศัยการระบายอากาศในห้องจึงต้องดี
  • เสื้อผ้าต้องหลวม ดูดซับเหงื่อได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ฯลฯ
  • หากต้องออกนอกบ้าน ควรมีหมวกหรือร่มกันแดด
  • หากต้องเดินทางไกลควรมีผู้ใกล้ชิดร่วมดูแลไปด้วยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเมื่อมีอาการหน้ามืด วิงเวียนหรือเป็นลม
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำ
  • อาหารที่รับประทานต้องสดสะอาดและมีประโยชน์ เพราะหากเกิดภาวะอาหารเป็นพิษหรือลำไส้อักเสบก็จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มไปอีก

สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก

สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรกที่คุณแม่ตั้งครรภ์และผู้ใกล้ชิดควรหมั่นสังเกต ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันทีและถ้าอาการเป็นเยอะขอให้ผู้ใกล้ชิดช่วยเหลือตามที่นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค แนะนำดังนี้ค่ะ

  1. นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก
  2. เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด
  3. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ
  4. ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัวเพราะจะขัดขวางการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย
  5. รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหรือโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือสายด่วน 1669

 

ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แม่เกือบแย่…เมื่อลูกรักเป็นฮีทสโตรก!!

5 โรคหน้าร้อนที่เด็กต้องระวัง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา