เด็กไทยไอคิวต่ำกว่าปกติ 3 แสนคน เร่งพัฒนาแบบวัดไอคิว ลูกใครไอคิวต่ำจะได้รีบช่วย

แบบวัดไอคิวเด็กไทยอายุ 2-15 ปี เวอร์ชั่นใหม่ ไทยแลนด์ 4.0 ได้ใช้ปี 2563

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กไทยไอคิวต่ำกว่าปกติ 3 แสนคน

เด็กไทยไอคิวต่ำกว่าปกติ 3 แสนคน ! กรมสุขภาพจิต เร่งพัฒนาแบบวัดไอคิวเด็กไทย 4.0 เพื่อวัดไอคิวเด็กไทยอายุ 2-15 ปี เวอร์ชั่นใหม่ ไทยแลนด์ 4.0 ได้ใช้ปี 2563 หากพบเด็กมีไอคิวต่ำจะได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว

 

เด็ก ป.1 ไอคิวต่ำกว่าค่าปกติ 3 แสนกว่าคนทั่วประเทศ

จากการสำรวจระดับไอคิวครั้งล่าสุดในปี 2559 ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 23,641 คนทั่วประเทศ พบภาพรวมทั้งประเทศมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 98.23 จุด เทียบกับปี 2554 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 94.58 จุด

ในภาพรวมของประเทศยังมีเด็กประถมศึกษา ปีที่ 1 ที่มีไอคิวต่ำกว่าค่าปกติคือต่ำกว่า 90 จุด อยู่ถึงร้อยละ 37.61 หรือคาดว่ามีประมาณ 3 แสนกว่าคนทั่วประเทศ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดว่าไอคิวกลุ่มนี้ไม่ควรมีเกินร้อยละ 25 ซึ่งในจำนวนนี้มีระดับไอคิวน้อยกว่า 70 จุดที่จัดอยู่ในเกณฑ์เข้าข่ายสติปัญญาบกพร่องที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือทันทีอยู่ถึงร้อยละ 5.8

 

เร่งพัฒนา แบบวัดไอคิวเด็กไทย ลูกใครไอคิวต่ำจะได้รีบช่วยเหลือ 

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ว่า กรมสุขภาพจิตมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญาหรือไอคิว (Intelligent Quotient : IQ) ไม่ต่ำกว่า 100 จุดเทียบเท่าเด็กสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์และเตรียมความพร้อมการแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งเชาวน์ปัญญานั้นเป็นความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ เข้าใจ จดจำ วิเคราะห์ สังเคราะห์และคิดได้อย่างมีเหตุผล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แบบวัดไอคิวเด็กไทย 4.0

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อไปว่า ระดับไอคิวของเด็กมีต้นทุนร้อยละ 70 มาจากกรรมพันธุ์ และร้อยละ 30 พัฒนาขึ้นได้จากการเลี้ยงดู ในปี 2561 นี้กรมสุขภาพจิตเร่งดำเนินการเรื่องไอคิวเด็กไทย 2 เรื่องใหญ่

  • เรื่องแรกคือ การวัดระดับไอคิวเด็กไทยในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จะทำการประเมินทั่วประเทศในเดือนมิถุนายน 2561 คาดจะรู้ผลในเดือนสิงหาคม 2561
  • เรื่องที่สอง คือการพัฒนาแบบทดสอบไอคิวของเด็กอายุ 2-15 ปีให้ทันสมัยสอดรับกับยุคไทยแลนด์ 4.0 และใช้งานง่ายสำหรับบุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยเฉพาะครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถใช้ได้เพื่อใช้ติดตามและแก้ปัญหาเด็กไอคิวต่ำได้อย่างรวดเร็ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แบบประเมินไอคิวเด็กวัย 2-15 ปีเวอร์ชั่นใหม่

แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่าในการพัฒนาแบบประเมินไอคิวเด็กวัย 2-15 ปีเวอร์ชั่นใหม่นี้ ได้วิจัยและพัฒนาเพิ่มเติมจากเครื่องมือชุดเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2546เพื่อใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในเวลาที่จำกัด มีทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบด้วย

  1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
  2. ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจเชิงมิติสัมพันธ์ จากการมองเห็นและแสดงออกโดยการใช้กล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว
  3. ความสามารถในการประมวลผลความจำในการเห็นและการได้ยิน
  4. ความสามารถในการรู้จัก เข้าใจความหมายและเหตุผลทางด้านภาษา การเรียนรู้ การสังเกตจากสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหาโดยใช้ประสบการณ์
  5. ความสามารถในการแยกแยะและการจัดประเภทของสิ่งต่างๆ

ทั้งนี้ จะทำการหาค่าเกณฑ์ปกติ (National norms) ของเด็กไทยอายุ 2-15 ปีทุกเขตสุขภาพทั่วประเทศและกทม. รวม 14 ช่วงอายุ ใช้กลุ่มตัวอย่างประมาณ5,460 คน โดยใช้เวลาศึกษา 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2561-2563 คาดว่าจะสามารถนำมาใช้กับเด็กไทยทั่วประเทศในปลายปี พ.ศ.2563

 

พัฒนาไอคิวลูก 3 ขวบแรก

พ่อแม่ทั้งมือเก่าและมือใหม่สามารถพัฒนาไอคิวของเด็กให้ดีขึ้นได้ในช่วง 3 ขวบแรกด้วยเครื่องมือที่ลงทุนต่ำ โดยการเล่นกับลูกตามวัย และสามารถประยุกต์ใช้สิ่งรอบ ๆ ตัวเด็กในวิถีชีวิตมาช่วยส่งเสริมไอคิวของเด็กได้ เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ฝึกให้เด็กถ่ายทอดจินตนาการ ด้วยหนังสือภาพหรือหนังสือนิทาน
  2. ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต ด้วยการเดินเล่น
  3. ฝึกให้เด็กคิดเชื่อมโยงด้วยการทำอาหาร
  4. ฝึกการประสานงานของประสาทตากับมือ ด้วยการหยิบจับสิ่งของ อันเป็นต้นทุนของการคิดมีเหตุผล

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ https://www.thaihealth.or.th/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีการเพิ่มไอคิวลูก กระตุ้นความคิดให้ลูกฉลาด

สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF

เทคนิคเลี้ยงลูกให้ฉลาดตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่ต้องสอนลูกด้วยวิธีเหล่านี้

อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด หัวไว สมองดี ทำอย่างไร?

 

บทความโดย

Tulya