เป็นระยะเวลา 9 เดือน ทารกแรกเกิด ที่คุณแม่เฝ้าทนุถนอมทารกในครรภ์มารดา จนถึงวันที่ลูกน้อย ลืมตาออกมาดูโลกเป็นครั้งแรก ทารกแรกเกิด หรือ เด็กแรกเกิด ที่ยังไม่คุ้นเคยกับโลกภายนอก อาจจะมีอาการที่ทำให้คุณแม่กังวลใจ แต่จะบอกว่า ทารกแรกเกิด เด็กทารกแรกเกิด ก็มีอาการแบบนี้แหละ
เด็กแรกเกิด อาการปกติของ เด็กทารก ที่คุณแม่ไม่ต้องกังวล ทารกแรกเกิด
- อาการสะดุ้งผวา
- อาการกระตุก
- อาการบิดตัว
- อาการสะอึก
- อาการถ่ายบ่อย
- อาการแหวะนม
- ผิวหนังลอก
- อาการเขียวปลายมือปลายเท้า
- เลือดออกที่ตาขาวหรือรอบ ๆ แก้วตา
- มีตุ่มสีนวลหรือขาว
- ริมฝีปากแห้งและลอกและหลุดเป็นแผ่น
- นมเป็นเต้า
- มีผดแดงหรือผดร้อน
- ถุงอัณฑะยาน
- มีติ่งเนื้อยื่นพ้นออกมานอกช่องคลอด
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- อาการไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน
- ร้องไห้เมื่อถ่ายปัสสาวะ
- มีตุ่มขาวในปาก
- มีลิ้นขาว
ส่วนอาการต่าง ๆ ของลูกจะเป็นอย่างไร อ่านต่อได้เลยค่ะ
ทารกแรกเกิด หมายถึง เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 เดือน พัฒนาการทารกแรกเกิด 1 เดือนแรก จะสามารถเคลื่อนไหวมือ แขน และขาทั้งสองข้าง หรือแสดงสีหน้าได้เล็กน้อย พอให้คุณพ่อคุณแม่ได้ยิ้มดีใจ แอบถ่าย รูปทารกแรกเกิด ของตัวเองเก็บไว้ดูเล่น แต่ก็ยังมีอาการต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้คุณแม่ตกใจ มาดูทั้ง 20 อาการปกติของทารกแรกเกิดที่ไม่น่ากังวล แล้วอาการบางอย่างนั้น ถือเป็นอาการปกติของทารกแรกเกิด ที่มักจะเกิดขึ้นได้ทั่วไปกับทารกแทบทุกคน
เช็กอาการผิดปกติของทารกแรกเกิด และปรึกษาปัญหาสุขภาพของลูกรัก กับกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลชั้นนำได้ฟรี ผ่าน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรมี ดาวน์โหลดเลย!
20 อาการปกติของทารกแรกเกิดที่ไม่น่ากังวล
#1 อาการสะดุ้งหรือผวา เด็กทารกแรกเกิด
คุณแม่จะพบอาการนี้ของทารกได้จนถึงอายุ 6 เดือน ขณะที่ทารกหลับสนิทเวลามีเสียงดังหรือสัมผัสกับตัวลูกน้อย จะเห็นว่าทารกทุกคนจะมีการตอบสนองด้วยการสะดุ้งหรือผวา โดยการยกแขน ยกขา แบมือ และกางแขนออก หรือโอบแขนเข้าหากัน
Read : ทำอย่างไรเมื่อ ลูกนอนผวา สะดุ้งตื่นบ่อย
#2 อาการกระตุก ทารกแรกเกิด
ในขณะที่หลับลูกอาจจะมีการกระตุกเล็กน้อยที่แขนขาหรือมุมปาก แต่ถ้าเวลาอื่นจะไม่มีการกระตุกให้เห็น
#3 อาการบิดตัว
เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับลูกน้อย ทางการแพทย์เรียกการบิดตัวว่าเป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อของทารก เมื่อครบกำหนดทารกจะมีการเคลื่อนไหว เวลาตื่นนอนก็คล้ายกับผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ มีการยกแขนเหนือศีรษะ งอตะโพกและข้อเข่า และบิดลำตัวไปมา และทารกบางคนอาจบิดตัวจนหน้าแดง
#4 อาการสะอึก
มักเกิดขึ้นจากลูกดูดนมอิ่ม เป็นเพราะการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลมของลูกน้อยไม่สัมพันธ์กับการหายใจเข้าออก เมื่อทารกอิ่มกระเพาะอาหารเกิดการขยายตัวเพราะมีนมเข้าไปอยู่ ทำให้เกิดแรงดันไปที่กล้ามเนื้อกระบังลมตรงบริเวณรอยต่อระหว่างช่องปอดกับช่องท้อง ทำให้กระบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วขณะหายใจออก เป็นสาเหตุให้ทารกเกิดอาการสะอึกนั่นเอง
#5 อาการถ่ายบ่อย
ในทารก 2-3 เดือนที่กินนมแม่อย่างเดียวอาจถ่ายทุกครั้งหลังกินนม หรือมีการบิดตัว ผายลมบ่อย (ทำไมทารกตดบ่อยจัง) และมีอุจจาระเล็ดออกมาด้วย ซึ่งเกิดจากร่างกายส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทอัตโนมัติไปที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้บีบตัวเพื่อขับถ่ายอุจจาระออกจากร่างกายทันทีที่กระเพาะอาหารได้รับน้ำนมจนเต็ม บางครั้งอาจจะถ่ายได้ 10-20 ครั้งต่อวัน หากไม่มีมูกหรือเลือดปกออกมาถือเป็นเรื่องปกติ
บทความที่เกี่ยวข้อง : รอบรู้เรื่อง การขับถ่ายของทารก
#6 อาการแหวะนม
เกิดจากระบบการย่อยของทารกยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท มักเกิดขึ้นระหว่างที่เรอหรือทันทีที่กินนม ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติและไม่มีผลกระทบต่อสารอาหารที่ลูกน้อยได้รับ
#7 ผิวหนังลอก
อาจพบเห็นผิวหนังของลูกลอกออกได้ภายหลังคลอด 24 – 48 ชั่วโมง เกิดจากไขมันในทารกแรกเกิดที่ช่วยปกป้องผิวบอบบางของทารกจากน้ำคร่ำในมดลูกเริ่มหลุดออกไป ทำให้ผิวหนังชั้นนอกสุดของลูกเริ่มแห้งและลอกออก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปตามธรรมชาติและจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา
#8 อาการเขียวปลายมือปลายเท้า
พบบ่อยในทารกแรกเกิดอายุ 24 – 48 ชั่วโมงหลังคลอด เกิดจากการที่ลูกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิต่ำ จะทำให้ตัวลูกเย็นและปลายมือปลายเท้าเขียว ซึ่งหากให้ลูกนอนในห้องแอร์ควรปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสมประมาณ 25-27 องศาเซลเซียส ก็จะช่วยให้ลูกได้นอนหลับสบาย ๆ แล้ว
#9 เลือดออกที่ตาขาวหรือรอบ ๆ แก้วตา
อาจเกิดขึ้นได้กับทารกบางคน ซึ่งจะหายไปเองภายใน 2 – 3 สัปดาห์
#10 มีตุ่มสีนวลหรือขาว
อาจขึ้นที่แก้ม ดั้งจมูก หน้าผาก เพดานแข็ง เหงือก หรือหัวนม มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร และหายไปเองเมื่อลูกอายุ 2 – 3 สัปดาห์ หรืออาจอยู่นานจนถึงอายุ 2 เดือน
#11 ริมฝีปากแห้งและลอกและหลุดเป็นแผ่น
ซึ่งผิวใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาแทนใหม่
#12 นมเป็นเต้า
เป็นลักษณะเฉพาะของทารกคลอดครบกำหนด พบได้ทั้งทารกเพศหญิงและเพศชาย บางครั้งก็จะเห็นมีน้ำนมไหลออกมา เกิดจากฮอร์โมนของแม่ที่ผ่านจากรกมาสู่ทารก จึงไม่ควรบีบเค้นเพราะจะทำให้เต้านมลูกอักเสบได้
#13 มีผดแดงหรือผดร้อน อาการ ทารกแรกเกิด
จะเกิดขึ้นกับทารกบางคนที่มีอายุมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปเมื่ออยู่ในอากาศที่ร้อนชื่น ทำให้มีการอุดตันที่ท่อของต่อมเหงื่อเกิดเป็นตุ่มนูนสีแดงเล็ก ๆ ซึ่งอาการนี้พบได้บ่อยในเด็กทารกเพราะการพัฒนาของต่อมเหงื่อและผิวหนังยังไม่สมบูรณ์
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็นผดร้อน ทำอย่างไรดี
#14 ถุงอัณฑะยาน
เป็นลักษณะปกติของทารกและแพทย์จะใช้เพื่อประเมินอายุครรภ์ทารกด้วย
#15 มีติ่งเนื้อยื่นพ้นออกมานอกช่องคลอด
ซึ่งจะแห้งหายไปเองภายใน 2 – 3 สัปดาห์
#16 มีเลือดออกทางช่องคลอด
ซึ่งจะพบในทารกเพศหญิงอายุ 3 – 5 วัน เกิดจากฮอร์โมนของแม่ที่ผ่านจากรกมาสู่ทารก และจะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์
#17 อาการไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน
สำหรับทารกที่ทานนมผสมอาจจะมีอุจจาระที่แข็งกว่าและขับถ่ายไม่คล่องเท่าเด็กทารกที่กินนมแม่ อาจจะถ่ายทุก ๆ 3-4 วัน ลักษณะการขับถ่ายแบบนี้ไม่ถือว่าผิดปกติ หรือทารกที่กินนมแม่ก็มีโอกาสไม่ถ่ายอุจจาระได้ทุกวันเช่นกัน หากไม่มีอาการท้องผูก อึดอัด ไม่อาเจียน และดูดนมได้ ก็ถือว่าปกติ
#18 ร้องไห้เมื่อถ่ายปัสสาวะ
ทารกอายุใกล้ 1 เดือนบางรายจะเริ่มรับรู้ความรู้สึกปวดปัสสาวะ ทำให้ทารกร้องไห้เหมือนเจ็บปวด โดยจะเป็นเฉพาะเวลาที่ทารกถ่ายปัสสาวะในขณะที่ตื่น หากถ่ายปัสสาวะขณะนอนหลับทารกจะไม่ร้อง ซึ่งอาการจะหายไปเองภายใน 1 เดือน ทั้งนี้จะต้องไม่มีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นหยด ๆ หรือเบ่งขณะถ่ายปัสสาวะ
#19 มีตุ่มขาวในปาก
เกิดขึ้นบริเวณกลางเพดานปากของทารกแรกเกิด ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติ อาจมีเม็ดสีขาวขนาดเท่าหัวหมุด และมีจำนวนมากน้อยต่างกัน ตุ่มเล็ก ๆ นี้ไม่ทำให้ทารกไม่ดูดนมและจะหลุดไปเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง : เมื่อมีตุ่มขาวในปากทารกต้องทำอย่างไร
#20 มีลิ้นขาว
การที่ลิ้นของทารกเป็นฝ้านั้น เกิดขึ้นจากน้ำนมที่เป็นคราบ มีลักษณะเป็นสีขาวกระจายเท่า ๆ กันบริเวณกลางลิ้นและอาจเป็นได้บริเวณเพดานปาก และกระพุ้งแก้มด้วย ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นในทารกแรกเกิด และจะหายไปได้เองเมื่อลูกมีอายุมากขึ้นโดยไม่ต้องให้การรักษาใด ๆ และอาจเกิดจากเชิ้อราที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งโดยปกติจะพบในช่องปากของลูกได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือต่ำกว่า 6 เดือน เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะหายไปเองเช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : หยุดกังวล…ลิ้นเป็นฝ้าขาวในเด็กเล็ก
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ลูกอ่อน ที่เจ้าตัวน้อยมีอาการเหล่านี้ ก็คงจะสบายใจได้แล้วนะคะ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาการเหล่านี้จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทารกแรกเกิด แต่หากคุณพ่อคุณแม่ เห็นว่ามีความผิดปกติ ก็อย่าลืมพาลูกไปพบคุณหมอ
สิ่งที่พ่อแม่ทุกคนคาดหวัง ก็คงจะเป็นการดูแลให้ลูกมีสุขภาพ และพัฒนาการที่ดี และเหมาะสมกับวัย การเลี้ยงทารกแรกเกิด -3เดือน เป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ทางภาครัฐได้มอบเงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตร ตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบสิทธิของตัวเอง และลูกได้ตาม ระบบตรวจสอบสิทธิ์เงินอุดหนุน หรือคลิกที่ตรงนี้ได้เลยค่ะ csgcheck.dcy.go.th
ขอบคุณที่มา : www.health.spr.go.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
7 อาการปกติที่แม่ท้องแก่ควรรู้
10 เรื่องแปลกแต่จริงของทารกแรกเกิด