เด็กตู้อบก็รอดได้ ทำอย่างไรให้ทารกแรกเกิดยังมีชีวิตอยู่ได้ไม่ตายในตู้อบ
เด็กตู้อบก็รอดได้ ทำอย่างไรให้ทารกแรกเกิดยังมีชีวิตอยู่ได้ไม่ตายในตู้อบ
“ดูแลชีวิตเล็กๆ ในตู้อบ” แนวทางเพิ่มโอกาสรอดชีวิตทารกแรกเกิด โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก)
นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า “จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า
- ในภูมิภาคอาเซียน สาเหตุการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 72 มาจากการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมักมีภาวะพิการแต่กำเนิดร่วมด้วย
- โดยประเทศไทยในแต่ ละปีมีทารกเกิดใหม่ปีละ 700,000 คน เป็นทารกเกิด ก่อนกำหนดประมาณ 1๐๐,๐๐๐ คน
- และ ยังพบภาวะพิการแต่กำเนิดถึง 3 % อาทิ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะแขนขาพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม และ ภาวะน้ำคั่งในสมองแต่กำเนิด
ซึ่งทารกกลุ่มนี้ต้องเข้ารับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดภายในควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกเรียกสั้นๆ ว่า “ตู้อบ”
- ปัจจุบัน สถาบันฯ มีตู้อบเพียง 65 ตู้ ซึ่งใช้งานมาเกิน 12 ปีกว่า ๆ ถึง 25 ตู้ โดยใช้ตู้อบจำนวน 55 ตู้ในใช้ดูแลทารกที่ไม่มีการเจ็บป่วยรุกรามมากนัก
- และ ตู้อบอีก 10 ตู้ ในการดูแลทารกภาวะวิกฤตที่ต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์มากมาย เพราะทารกกลุ่มนี้มักมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ ภาวะปอดไม่สมบูรณ์ ทำให้หยุดหายใจ ภาวะโรคปอดเรื้อรัง ปัญหาลำไส้ การติดเชื้อในกระแสเลือด การมองเห็น การได้ยิน รวมทั้งพัฒนาการโดยรวม และ น้ำหนักตัวที่น้อยของทารก เป็นต้น ซึ่งบางรายอาจต้องดำเนินการผ่าตัดหรือช่วยชีวิตทารกอย่างเร่งด่วน”
ดูแลและป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
แม้ว่าความเจริญทางการแพทย์จะสามารถช่วย ให้เด็กที่คลอดออกมาก่อนกำหนด มีชีวิตอยู่รอดได้มากขึ้นกว่าในอดีต แต่ก็ยังพบว่ามีทารกอีกจำนวนมาก ที่มีความพิการหรือเสียชีวิต จึงมีความจำเป็นที่จะ ต้องป้องกันไว้ก่อน ดังนี้
- ส่งเสริมสุขภาพของ คุณแม่ ให้ดีก่อนการตั้งครรภ์ และ เมื่อตั้งครรภ์แล้วควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อฝากครรภ์ และ ปฏิบัติตนตามที่ได้รับคำแนะนำ รวมถึงไปพบแพทย์ตามนัดทุก ๆ ครั้งอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง อาทิ งดสูบบุหรี่ และ ดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงความเครียด ลดการทำงานหนัก หรือ ออกกำลังกายเป็นเวลานาน ๆ หรือ ยกของหนัก และ ไม่เดินทางไกลโดยไม่จำเป็น
- รับประทานอาหารที่มี ประโยชน์อย่างสมดุล เพราะจากการศึกษาที่พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนัก ตัวก่อนตั้งครรภ์น้อย หรือ มีภาวะขาดสารอาหาร และ มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวน้อยตลอดการตั้งครรภ์ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์ กับการคลอดก่อนกำหนด
- เสริมแคลเซียมเพื่อช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ อาการแทรกซ้อนจากภาวะครรภ์เป็นพิษได้แล้ว การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอในแต่ละวัน ยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ในผู้หญิงที่มีประวัติ หรือ มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก้วเป็นอย่างต่ำ เพื่อรักษาความชุ่มชื่นของร่างกาย
- รับประทานวิตามินที่จำเป็นระหว่างตั้งครรภ์
- ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่อั้นปัสสาวะเพราะการอั้นปัสสาวะบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้
- ระวังเรื่องน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวของ คุณแม่ ในระหว่างตั้งครรภ์ที่เพิ่มมากเกินไป หรือ น้อยเกินไป อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้ คุณแม่คลอดลูกก่อนกำหนด และ ลูกที่มีน้ำหนักตัวน้อยได้ คุณแม่ จึงควรมีการเพิ่มน้ำหนักขึ้นในระดับที่เหมาะสม
- พยายามหลีกเลี่ยง หรือ งดการมีเพศสัมพันธ์
- การใช้ยาลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูกตามที่สูติแพทย์แนะนำ หรือ ตรวจคัดกรองเพื่อดูว่า คุณแม่ มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือไม่
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ เกี่ยวข้อง
แชร์ประสบการณ์ตรง ลูกเข้า NICU เพราะคลอดก่อนกำหนด
ชีวิตในตู้อบ กว่าจะโตมาจนถึงวันนี้ รู้ไหม…หนูต้องเจออะไรบ้าง