เช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 12 เดือน

ในวันที่คุณได้เป่าเทียนวันเกิดให้เจ้าตัวน้อยเป็นครั้งแรก คงเป็นอีกหนึ่งวันแห่งความปลาบปลื้มใจที่ได้ผ่านบททดสอบความเป็นแม่ในขวบปีแรกมาแล้ว ตอนนี้เจ้าตัวน้อยไม่อยู่นิ่งๆ เอาแต่กินกับนอนเหมือนตอนเป็นทารกอีกต่อไป ช่วงเวลาแห่งความสนุกกับบททดสอบต่อไปกำลังรอคุณอยู่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงขวบปีแรกเจ้าตัวน้อยของคุณจะง่วนอยู่กับการค้นพบตัวเอง แต่ต่อไปนี้เขาจะได้ค้นพบโลกทั้งใบที่กำลังรอคอยเขา เพราะในวัยนี้ลูกพร้อมที่จะลุกและเดินไปสำรวจโลกรอบตัวด้วยขาของเขาเองแล้ว

พัฒนาการด้านร่างกาย

เด็กวัย 12 เดือนจะมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 8-10 กิโลกรัม และมีส่วนสูงราว 70-77 เซนติเมตร แต่ไม่ต้องเป็นกังวลหากลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักและส่วนสูงต่างไปจากค่าเฉลี่ยนี้นะคะ เพราะพัฒนาการของเด็กวัยเตาะแตะนั้นจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคนค่ะ

เด็กส่วนใหญ่ในวัยนี้สามารถก้าวเดินได้แล้ว ในขณะที่เด็กบางคนอาจยังต้องรอให้เขารู้สึกมั่นใจในการก้าวเดินมากขึ้นสักหน่อย อีกไม่นานหรอกค่ะ เดี๋ยวเจ้าตัวน้อยก็จะก้าวเดินฉับๆ จนคุณไล่จับไม่ทันแล้ว

สัญญาณที่น่าจับตา คือเจ้าตัวน้อยจะเริ่มเกาะยืน และเกาะเดินไปตามโซฟา รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน หากลูกอยากจะเดินข้ามจากโต๊ะไปยังโซฟา ลองเริ่มฝึกให้ลูกเดินเองในระยะที่สามารถเอื้อมถึงดูซิคะ

บทความแนะนำ วิธีสอนลูกหัดเดินให้ลูกน้อยวัยทารกเดินได้ไว ๆ

นอกจากเรื่องการเดินแล้ว ไม่มีอะไรที่จะทำให้ลูกน้อยวัย 12 เดือนเพลิดเพลินได้เท่ากับกับสำรวจสิ่งของในกล่องหรือถุง ด้วยการเอาของใส่เข้าไปแล้วก็หยิบทุกอย่างออกมา รวมทั้งการค้นของในกระเป๋าของแม่ด้วย หากเจ้าตัวน้อยของคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้ แสดงว่าทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเขากำลังพัฒนาแล้วล่ะค่ะ

คุณอาจสังเกตเห็นว่าลูกใช้มือข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้างหนึ่ง เป็นการบอกให้รู้ว่าเขาถนัดข้างไหนมากกว่ากัน ส่วนความสามารถอื่นๆ ที่ลูกสามารถทำได้เมื่อทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเขาดีขึ้น คือการถือถ้วยน้ำ หยิบอาหารเข้าปากด้วยนิ้วมือ (การใช้ช้อนส้อมจะเป็นลำดับต่อไป แต่ยังไม่ใช่ในตอนนี้) รวมถึงการแต่งตัวเองได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกสามารถยืนได้ มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้นแล้ว สิ่งต่อไปที่เขาจะค้นพบคือการ โยนลูกบอล และเข็นของเล่นที่มีล้อ ไถตัวเองในรถหัดเดินไปรอบๆ หรือแม้แต่การปีนขึ้นบนโซฟาก็ล้วนเป็นเรื่องสนุกของเด็กวัยนี้ทั้งสิ้น

พัฒนาการด้านสติปัญญา

ลูกน้อยวัย 1 ขวบจะค่อยๆ เรียนรู้ว่าเขาอาศัยอยู่ในที่ที่หนึ่ง ซึ่งกว้างใหญ่และน่าสนใจมากกว่าที่เขาจินตนาการไว้ในตอนแรก

วัยนี้เป็นช่วงที่ความจำของเขากำลังพัฒนา จึงเป็นจังหวะที่ดีที่จะเริ่มสอนลูกเรียนรู้เรื่องรูปร่าง และสี แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลากว่าที่เจ้าตัวน้อยจะจดจำได้ก็ตาม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยจะค่อยๆ เข้าใจว่าเมื่อทำอย่างนี้ จึงเกิดสิ่งนี้ตามมา และเขาจะลองทำสิ่งนั้นซ้ำๆ เพื่อรอดูผลที่จะเกิดขึ้น เช่น กลิ้งลูกบอล เขย่าของเล่นให้เกิดเสียง

เจ้าตัวน้อยยังเริ่มชี้สิ่งต่างๆ ที่เขาต้งการหรือที่เขาสนใจ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นที่จะสื่อสารแบบสองทาง นอกจากนี้ลูกน้อยยังสามารถทำให้คุณใจละลายด้วยการโบกมือบ๊ายบายและส่งจุ๊บให้คุณได้แล้วนะ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาจะยอมให้คุณจากไปไหนได้ง่ายๆ หรอกนะคะ เรื่องนั้นยังอีกห่างไกลเลยค่ะ

เช็กพัฒนาการลูกน้อยวัย 12 เดือนด้านอารมณ์ สังคม ภาษาและการพูด ได้ในหน้าถัดไป

พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม

การค้นพบโลกใบใหญ่ของเจ้าตัวน้อยเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น แต่ก็เป็นเรื่องน่ากลัวเช่นกัน เจ้าตัวน้อยจะกล้าออกไปสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวก็ต่อเมื่อเขามั่นใจว่าคุณคอยดูอยู่ใกล้ๆ และเขาจะคอยหันมาดูเป็นระยะว่าคุณอยู่ที่ไหน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการลูกน้อยวัย 1 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่ลูกจะเริ่มขี้อาย เกิดความกังวลในการแยกจาก และกลัวคนแปลกหน้า และจะเริ่มร้องไห้อย่างหนักเมื่อคุณทิ้งเขาไว้กับคนอื่น หรือที่เนอสเซอรี่ แม้ว่าก่อนหน้านี้เขาจะไม่เคยต่อต้านเลยก็ตาม

แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะนี่เป็นขั้นตอนหนึ่งของพัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะเจ้าตัวน้อยกำลังเริ่มจดจำและแยกแยะความแตกต่างระหว่างบุคคลค่ะ ไม่จำเป็นต้องบังคับให้เขาเป็นมิตรกับทุกคนหรอกนะคะ เพียงปล่อยให้เขาค่อยๆ คุ้นเคยกับผู้คนที่เข้ามาในชีวิตของเขา เจ้าตัวน้อยจะค่อยๆ ปรับตัวได้ในที่สุด

เมื่อลูกติดแม่ ก็ถือเป็นโอกาสที่คุณจะได้กอดลูก หอมลูก บอกรักลูกได้บ่อยขึ้น ได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกัน สานสัมพันธ์แม่ลูกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วยนะคะ

เจ้าตัวน้อยพยายามที่จะกินเอง ใส่รองเท้าเอง และเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณแรกที่จะบอกคุณว่า ลูกจะเริ่มดื้อแล้วนะ ลูกจะพยายามทำอะไรด้วยตัวเอง และจะโกรธเมื่อคุณยื่นมือเข้ามาช่วย ดังนั้น ควรปล่อยให้ลูกทำเองและรอจนกว่าเขาขอความช่วยเหลือ

ไม่ต้องกังวลหากลูกของเราไม่ยอมแบ่งของเล่นให้เพื่อน เพราะความรู้สึกหวงของเป็นเรื่องปกติของเด็กในวัยนี้ค่ะ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการลูกน้อยวัยเตาะแตะ เพียงแต่คุณแม่ต้องสอนเขาอย่างสงบ แต่ยังไม่ต้องถึงขั้นฝึกวินัยให้ลูกหรอกนะคะ เพราะสมองเด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจความละเอียดอ่อนทางสังคมค่ะ

พัฒนาการด้านภาษาและการพูด

พัฒนาการความจำ เป็นขั้นตอนสำคัญในการเรียนรู้วิธีพูดของลูก และแม้ว่เจ้าตัวน้อยยังไม่พูด แต่ภายในสมองของเขาทำงานตลอดเวลา และตอนนี้เจ้าตัวน้อยก็กำลังจับคู่คำศัพท์กับสิ่งต่างๆ ที่คุณกำลังพูดถึงอยู่ค่ะ

การที่ลูกรู้จักคำศัพท์ยิ่งมาก ยิ่งช่วยให้เจ้าตัวน้อยสามารถทำตามคำสั่งสั้นๆ ได้เร็วขึ้นเช่น ส่งบอลมาให้แม่หน่อยค่ะ เก็บของเล่นใส่กล่องก่อนนะ โดยในตอนแรกคุณอาจใช้วิธีชี้ไปยังของเล่นนั้นๆ แล้วพูดไปพร้อมๆ กันก็ได้ และเจ้าตัวน้อยจะตอบสนองเร็วขึ้น เมื่อคุณสบตากับเขาขณะพูด

ลูกน้อยวัยนี้เริ่มพูดเป็นคำ 1-2 พยางค์ได้แล้วเช่น พ่อ แม่ บอล โดยลูกจะฝึกการพูดโดยเลียนแบบคำที่คุณพูด และสนุกกับเลียนเสียงของสัตว์ต่างๆ

อย่างไรก็ตามในวัยนี้ลูกจะสนใจกับความสามารถในการเดินของเขา มากกว่าจะพยายามพูด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่ฟังที่คุณพูดนะคะ ดังนั้น ควรคุยกับลูกบ่อยๆ และอ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำ เพื่อพัฒนาการด้านภาษาที่ดีของเจ้าตัวน้อยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ 10 เทคนิคเสริมพัฒนาการภาษาวัยหัดพูด

สุขภาพและโภชนาการ

ลูกน้อยวัยนี้เริ่มที่จะเลือกกินแล้ว เนื่องจากเขาสามารถเคลื่อนที่ไปได้รอบบ้าน จึงทำให้สนใจในอาหารน้อยลง แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ ลูกจะกินเองเมื่อเขาหิว ส่วนการบังคับให้ลูกกินนั้นจะยิ่งทำให้ลูกดื้อมากขึ้น

ลูกวัย 1 ขวบขึ้นไป ลำไส้พัฒนาเต็มที่แล้ว เขาสามารถทานนมวัวที่เป็นนมกล่องยูเอชทีได้ โดยคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการของลูกว่าจะแพ้นมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวหรือไม่ด้วยนะคะ

ที่สำคัญ คุณแม่ควรเตรียมโทรศัพท์มือถือให้พร้อม เพื่อจะได้เก็บภาพประทับใจ เมื่อลูกมีพัฒนาการใหม่ๆ  ได้ทันค่ะ

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เสริมสร้างพัฒนาการลูกด้วย PQ ผ่านการเล่น

ลูกนอนดึก เสี่ยงตัวเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน