เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่ คลายกังวล หมดปัญหาเรื่องให้นมลูก

เพราะนมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดของลูก  และแน่นอนว่าคุณแม่เองก็อยากที่จะให้ลูกกินนมแม่ไปได้นาน ๆ  เทคนิค 4 ดูด ของการดูดน้ำนมแม่จากเต้า ช่วยให้นมแม่มามาก จะเป็นอย่างไร ไปติดตามกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่ หมดปัญหาเรื่องให้นมลูก

เรื่องน้ำนมน้อย แก้ได้ด้วย เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่

 

1. ดูดเร็ว การดูดนม

หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว หากคุณแม่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และลูกอยู่ในสภาพร่างกายปกติ ควรให้ลูกดูดกระตุ้นนมแม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้แม้จะยังไม่มีน้ำนมก็ตาม และควรให้ลูกดูดกระตุ้นทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละ 10 นาทีทั้งสองข้าง แม้ว่าตอนที่ให้ลูกดูดแล้วลูกอาจจะยังไม่ได้รับน้ำนมในช่วงแรก แต่จุดสำคัญก็คือ เป็นการช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วนั่นเอง

 

2. การดูดนม ดูดบ่อย

สำหรับเด็กในช่วงแรกเกิด ทารกส่วนใหญ่มักจะมีพฤติกรรมหลับในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ซึ่งคุณแม่หลายคนมักจะไม่กล้าปลุกลูก แต่ถึงแม้ว่าลูกจะหลับ คุณแม่ก็สามารถปลุกลูกให้ดูดนมแม่ได้เลยทุก 2 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วมากขึ้น หลังจากนั้นก็ให้ลูกดูดได้บ่อยตามต้องการ และถ้ารู้สึกคัดเต้านม ต้องให้ลูกดูดนมออกทันที การให้ลูกดูดบ่อยจะช่วยระบายน้ำนมออกจากเต้า และให้เต้านมสร้างน้ำนมใหม่เรื่อย ๆ

นอกจากนี้ การให้ลูกดูดนมบ่อย จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนมออกมามากขึ้น คุณแม่มือใหม่อาจจะรู้สึกว่าน้ำนมยังมีน้อยหรือมาไม่เยอะ ซึ่งเป็นปกติของการให้นมช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด แต่ถ้าขยันเอาลูกเข้าเต้าให้บ่อยครั้งและสม่ำเสมอ กลไกการหลั่งน้ำนมก็จะทำหน้าที่ได้ดี เมื่อมีน้ำนมมาก และลูกดูดเรื่อย ๆ จนคุณแม่เริ่มเจ็บเต้า ก็ควรสลับเต้าให้ลูกได้ดูด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่ชำนาญ สามารถหัดกระตุ้นน้ำนมได้ด้วยการใช้มือนวดคลึงหัวนมเบา ๆ อย่าเพิ่งไปเครียดว่าน้ำนมมีน้อย การให้ลูกดูดบ่อย ๆ ก็จะรู้จังหวะ เพราะยิ่งเครียดและกังวล ก็จะทำให้กลไกการหลั่งน้ำนมไม่ทำงาน น้ำนมยิ่งไหลน้อยได้

เทคนิค 4 ดูด กระตุ้นน้ำนมแม่

3. ดูดถูกวิธี

ดูดถูกวิธีมีผลต่อสุขภาพแม่และลูก คือ หากลูกดูดถูกวิธี จะทำให้ลูกได้รับน้ำนมอิ่มท้อง นอนหลับ ไม่ร้องกวน แต่หากลูกดูดผิดวิธี ก็จะทำให้คุณแม่หัวนมแตก มีอาการเจ็บจนท้อ และอาจจะอยากหยุดให้นมลูกไปเลย ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะหมดไป หากคุณแม่ให้ลูกดูดถูกวิธี ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปากลูกต้องเปิดกว้าง เพื่ออมหัวนมให้ลึกที่สุดจนมิดลานนม ถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด คางแนบเต้า ปลายจมูกชิดหรือแตะเต้า นม และริมฝีปากบน-ล่างบานออก ลักษณะเหมือนปากปลา คางของลูกจรดกับเต้านมแม่ จมูกลูกไม่ถูกสิ่งใดกดเบียด
  • ขณะดูดนม คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าขากรรไกรและใบหูของลูกขยับเล็กน้อยตามจังหวะการกลืน ลูกจะออกแรงดูดน้ำนมจากเต้าแม่โดยใช้ลิ้นรีดน้ำนมอย่างเป็นจังหวะสม่ำเสมอ หากมีน้ำนมแล้วคุณแม่จะได้ยินเสียงลูกกลืนน้ำนมเป็นจังหวะ
  • หากลูกหยุดดูด คุณแม่สามารถกระตุ้นใต้คางลูกเบา ๆ เพื่อให้ลุกดูดต่อ หากลูกเอาปากออกจากหัวนมแม่ และไม่ดูดต่อ หมายถึงลูกอิ่มแล้ว

 

4. ดูดเกลี้ยงเต้า

น้ำนมของคุณแม่นั้นมีอยู่ 2 ส่วน คือน้ำนมแม่ส่วนหน้า และน้ำนมแม่ส่วนหลัง ซึ่งในน้ำนมแม่ส่วนหลังนั้นจะมีโปรตีนและไขมันสูงกว่าน้ำนมส่วนหน้า อีกทั้งในน้ำนมส่วนหลังนั้นมีไขมันดี อุดมไปด้วย omega AA ARA มีคอเรสเตอรอลที่จะสร้างใยสมอง เสริมพัฒนาการทางสมองและสายตาของลูกน้อย ทั้งยังมีน้ำย่อยไลเปสช่วยย่อยไขมันจากนม ซึ่งเป็นเหตุผลที่เด็กกินนมแม่แล้วท้องไม่ผูก จึงต้องรีดน้ำนมให้เกลี้ยงเต้านั่นเอง นอกจากนี้ เมื่อลูกดูดนมได้จนเกลี้ยงเต้า เต้านมจะผลิตน้ำนมใหม่อย่างต่อเนื่อง ป้องกันปัญหาการมีน้ำนมน้อยลงได้

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกดูดนมเกลี้ยงเต้า

  • หลังให้ลูกดูดนมเสร็จแล้วเต้านมนิ่มลงทั้งเต้า
  • อาการเจ็บตึงที่เต้านมหรือที่เรียกว่านมคัด ก็จะหายไปด้วย
  • ถ้ายังไม่แน่ใจให้ลองบีบเต้านมดู น้ำนมจะไม่พุ่ง แต่จะออกมาเพียง 1-2 หยดเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไวท์ดอท เรื่องที่ทำแม่ให้นมต้องนอนร้องไห้ เช็คหัวนมด่วน มีจุดขาวไหม

หน้าอกเล็ก กลัวไม่มีน้ำนมให้ลูกจัง ขนาดของเต้านมแม่มีผลต่อน้ำนมลูกไหม?

นี่คือเหตุผลว่า ทำไมลูกแรกเกิดถึง 6 เดือนต้องกินนมแม่ ไม่ป้อนน้ำ ห้ามป้อนกล้วย

บทความโดย

P.Veerasedtakul