อึ ทารก เจ้าตัวน้อยอึออกมาแต่ละครั้ง บ่งบอกถึงอะไรบ้าง แต่ละสีแตกต่างกันอย่างไร เรามาดูกันเลยค่ะ ว่า อึ ทารก นั้น บอกอะไรให้คุณพ่อคุณแม่ทราบได้บ้าง
อึ ทารก บอกอะไรบ้างนะ
นพ. ปฏิพัทธ์ ดุรงค์พงศ์เกษม โรงพยาบาลสมิติเวช ได้บอกเกี่ยวกับ สี อึ ของทารก ดังนี้
- สีน้ำตาลและเหลือง
คือ สีอุจจาระของคนสุขภาพดี ระบบย่อยอาหารปกติ แต่ถ้าสีของอุจจาระมีสีเหลืองจ่าง ๆ มีกลิ่นเหม็น อาจเกิดจากไขมันที่ส่วนเกินที่อยู่ในอุจจาระ บ่งบอกว่าน้ำดีมีปัญหา หากเป็นติดต่อกันหลายวัน ควรพบแแพทย์
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : เด็กทารกควรถ่ายวันละกี่ครั้ง สีอุจจาระของทารกบ่งบอกอะไร
- อุจจาระสีเขียว
การรับประทานผักใบเขียวปริมาณมากอาจทำให้อุจจาระเป็นสีเขียว แต่หากมีอุจจาระเหลวร่วมด้วย อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคท้องร่วง หรือทั้งนี้เกิดจากการทานยาบางชนิดก็เป็นได้
- อุจจาระสีดำ
อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น โดยเฉพาะ หากมีสีดำเข้มเหมือนยางมะตอย ควรต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจระบบทางเดินอาหาร ยิ่งไปกว่านั้นหากอุจจาระเป็นสีดำบ่อยๆ โดยไม่ทำการรักษา นั่นอาจหมายถึงคุณกำลังเผชิญอยู่กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ในบางกรณี สีดำของอุจจาระอาจเกิดจากการทานอาหารหรือยาบางชนิด เช่น ตับหรือเลือด ข้าวเหนียวดำ ลูกหม่อน ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก หรือยาแก้ท้องเสียบางชนิด
- อุจจาระสีแดง
สีของอุจจาระที่มีสีแดง ส่วนใหญ่เกิดจากการกิน บีทรูท กระเจี๊ยบ มะละกอ และแตงโม หรืออาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสีแดง แต่ถ้าอุจจาระแล้วมีเลือกออกมาปน แสดงว่าเกิดจากริดสีดวง หรืออาจจะเป็นสัญญาณบอกโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ผนังของลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือเป็นเนื้องอก
- สีเทา
สีเทาเข้ม อาจเกิดจากเลือดออกในกระเพาะอาหารส่วนต้น หรือรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก บำรุงเลือด จึงทำให้อุจจาระมีสีเข้ม แต่ถ้าอุจจาระแล้วเป็นสีเทาอ่อน แสดงว่า ตับกำลังมีปัญหา และหากอุจจาระเป็นสีเทาอ่อนเกือบขาว แสดงว่าท่อน้ำดีอาจจะอุดตัน หรือมีปัญหาที่ตับอ่อน รวมถึงส่งผลข้างเคียงกับการกินยาบางชนิดมากเกินไป
รูปร่าง อุจจาระ ของทารก แต่ละแบบ บ่งบอกอะไร
- ก้อนเล็ก แข็ง คล้ายลูกกระสุน หรือขี้กระต่าย
ลักษณะนี้จะเกิดกับคนที่ท้องผูก เนื่องจากอุจจาระแห้ง อุจจาระค้างในลำไส้เป็นเวลานาน สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากรับประทานอาหารที่มีกากใยไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อย หรือรับประทานยา ที่ส่งผลทำให้ท้องผูก หากบ่อยอาการท้องผูกไว้นานจะส่งผลให้ท้องผูกเรื้อรัง และกลายเป็นมะเร็งลำไส้
- ก้อนเล็ก ๆ หลายก้อนรวมกัน คล้ายเอาลูกกระสุนมาโปะรวมกัน
ก้อนเล็ก ๆ แข็ง ๆ เป็นลักษณะของอาการท้องผูก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกรับประทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย ไม่เครียดจนเกินไป ก็จะไม่ทำให้ให้อุจจาระกักอยู่ในลำไส้นานจนเกิดอาการท้องผูก
- ทรงรียาวคล้ายไส้กรอก ผิวขรุขระ ค่อนข้างแข็ง
ขับถ่ายได้ไม่ลำบากนัก เป็นอุจจาระที่ปกติแต่ค่อนข้างขาดน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น
- เป็นลำสวยผิวเรียบคล้ายกล้วยหอม
ไม่แข็งหรืออ่อนยุ่ยจนเกินไป ถือว่าเป็นรูปทรงอุจจาระที่สมบูรณ์และสุขภาพดีที่สุด
- แตก ๆ แต่เป็นชิ้นสั้น ๆ ขับถ่ายง่าย
ยังนับว่าเป็นอุจจาระคุณภาพดี แต่อาจขาดสารอาหาร หรือกากใย เนื่องจากการลดน้ำหนักหรือควบคุมอาหาร
- กึ่งเหลวกึ่งก้อน
ขับถ่ายง่ายมาก เริม่จากอาการท้องเสีย เนื่องจากมีเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ หากถ่ายเหลวบ่อย ๆ จะทำให้เกิดอาการขาดน้ำ หรือสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้ ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อปรับสมดุลของแบคทีเรียลำไส้
- อุจจาระเหลวเป็นน้ำ
อาการท้องเสีย ที่อาจหมายถึงมีการติดเชื้อในลำไส้ ควรรับประทานเกลือแร่ และจิบน้ำบ่อย ๆ หากเป็นติดต่อกันมากกว่า 1 วัน ควรรีบพบแพทย์
วิธีกระตุ้นการขับถ่ายทารก ทำอย่างไรได้บ้าง
นอกจากอาหารแล้ว อาจใช้การกระตุ้นด้วยวิธีอื่นเพื่อให้ทารกขับถ่ายได้ง่ายขึ้น เช่น
- ช่วยขยับร่างกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยเร่งการย่อยอาหาร ส่งผลให้ร่างกายลำเลียงของเสียออกไปได้เร็ว โดยพ่อแม่อาจฝึกทารกที่ยังเดินไม่ได้ให้ถีบจักรยานกลางอากาศ หรือหากทารกยังคลานไม่ได้ อาจช่วยนวดกระตุ้นขา
- นวดท้องเด็ก
เป็นวิธีช่วยกระตุ้นลำไส้ให้ขับถ่ายได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องนวดท้องส่วนล่างด้านซ้ายของเด็ก โดยใช้ปลายนิ้วกดลงไปเบา ๆ เป็นเวลาประมาณ 3 นาที และควรนวดเป็นประจำ จนกว่าเด็กจะถ่ายเป็นปกติ
- ทาว่านหางจระเข้
หากเด็กถ่ายลำบากจนมีเลือดออกหรือผิวหนังบริเวณทวารหนักฉีกขาด ควรพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาเป็นอันดับแรก แต่ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับการรักษาอาจใช้ครีมที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ทาบริเวณดังกล่าวเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษา
พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาหรือวิธีรักษาอาการท้องผูกของเด็ก โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาที่ช่วยให้อุจจาระไม่แข็งตัวเพื่อให้เด็กถ่ายง่ายขึ้นหรือใช้ยากลีเซอรีนเหน็บก้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาเหน็บก้นเป็นประจำ เนื่องจากจะทำให้เด็กเคยชินและไม่ถ่ายเองตามปกติ รวมทั้งเลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานยาระบาย หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
หากทารกท้องผูก ควรทำอย่างไร
- ปรับการกินอาหารของทารก
ควรปรับอาหารการกินของทารก ซึ่งทั่วไปแล้ว ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน จะกินนมแม่เพียงอย่างเดียว ทำให้ไม่ค่อยเกิดอาการท้องผูกเท่าไหร่นัก แต่อาการท้องผูกก็อาจจะเกิดจากการแพ้อาหารที่แม่ได้กินเข้าไป ดังนั้นคุณแม่ที่ให้นมลูก ควรเลือกกินอาหารที่ไม่ส่งผลทำให้ลูกท้องผูก ส่วนทาทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ช่วงวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มหัดกินอาหารอื่น ควบคู่ไปกับการกินนมแม่ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกอาหารที่ไม่ทำให้ทารกท้องอืด
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : อาหารทารกหลัง 6 เดือน การเริ่มอาหารตามวัยและไอเดียเมนูอาหาร สำหรับทารกอายุ 6 เดือน ขึ้นไป
- เปลี่ยนการให้นม
ทารกที่ดื่มนมชงอาจแพ้ส่วนผสมบางอย่างของนมผง จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนยี่ห้อนม รวมทั้งสังเกตว่าเด็กแพ้ส่วนผสมใดในนมผง
เติมน้ำผลไม้ในนม น้ำผลไม้อาจบรรเทาอาการท้องผูกได้หากบริโภคในปริมาณเล็กน้อย โดยควรผสมน้ำแอปเปิ้ล น้ำลูกแพร์ หรือน้ำลูกพรุนลงไปในนมชงหรือน้ำนมแม่วันละประมาณ 30-60 มิลลิลิตร
- เสริมใยอาหาร
ทารกที่เพิ่งเริ่มหัดกินอาหารร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรเลี่ยงอาหารที่จะทำให้ท้องผูก ควรลดข้าวกับกล้วย เนื่องจากข้าวกับกล้วยจะเหนียวจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย ทำให้ย่อยยาก ควรให้กินอาหารที่มีกากใยมาก หากเด็กยังไม่เปลี่ยนมากินอาหารอื่น อาจจะนำผักผลไม้มาบดรวมกันก็ได้
- ให้ดื่มน้ำเยอะขึ้น
พ่อแม่ควรให้เด็กดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เพราะน้ำเปล่าและนมจะช่วยให้ร่างกายของเด็กชุ่มชื้นและขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอ และอาจให้เด็กดื่มน้ำลูกพรุนหรือน้ำลูกแพร์เพื่อกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ โดยควรผสมน้ำเปล่าเพื่อเจือจางความเข้มข้นของน้ำผลไม้ไม่ให้หวานจนเกินไป
ทารกท้องเสีย ควรทำอย่างไร
- ให้ดื่มผงเกลือแร่
เพราะอาการท้องเสียอย่างรุนแรงจะทำให้ทารกสูญเสียของเหลวและเกลือแร่ในร่างกายไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำตามมา หากลูกน้อยไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วย คุณแม่จะยังสามารถให้ทารกดื่มนมแม่หรือนมผงได้ตามปกติ แต่หากทารกอาเจียนและไม่สามารถดื่มนมได้ แพทย์อาจให้เด็กดื่มสารละลายอิเล็กโทรไลต์สำหรับทารก
- งดของหวาน
ไม่แนะนำให้กินของหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ต่าง ๆ เนื่องจากน้ำตาลจะทำให้อาการท้องเสียของทารกหนักกว่าเดิม
- เปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นประจำ
เพื่อลดการอับชื้นที่อาจเป็นเหตุให้ก้นของลูกน้อยเป็นผื่นและเกิดการระคายเคือง ทั้งยังช่วยลดอาการก้นแดงจากการท้องเสียอยู่บ่อยครั้ง โอบกอดเบา ๆ บางครั้งอาการท้องเสียอาจทำให้ทารกไม่สบายตัวและงอแง ดังนั้น การกอดอาจช่วยให้เจ้าตัวน้อยงอแงน้อยลงได้
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : ลูกกินนมแม่แล้วถ่ายบ่อยจนก้นแดง ทำอย่างไรดี
ที่มา : (samitivejhospitals),(pobpad),(pobpad)