ไฮเปอร์ อาการแบบไหน หรือลูกจะเป็นเด็กไฮเปอร์ วิธีสังเกต

อาการที่ซนเป็นลูกลิง ไม่ชอบที่จะอยู่นิ่ง ๆ จนพ่อแม่เริ่มสงสัยและมีคนทักบ่อย ๆ ว่าลูกเป็นเด็กไฮเปอร์ฯ หรือเปล่า ก่อนจะกลุ้มใจไปมากกว่านี้มาเช็กให้เคลียร์ดีกว่าว่าลักษณะแบบนี้จะเรียกว่าลูกมีอาการ “ไฮเปอร์แอคทีฟ” หรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พอลูกเริ่มเข้าวัยซน คุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตเห็นว่าทำไมเด็กคนอื่นถึงไม่ซนเท่าลูกเรา ทำไมลูกไม่ค่อยมีสมาธิ เล่นอย่างนี้แป๊บ ๆ หนีไปเล่นของชิ้นอื่นอีกแล้ว ฯลฯ จนทำให้พ่อแม่ต้องวิตกกังวลว่าอาการแบบนี้ลูกจะเป็นเด็ก อาการ ไฮเปอร์ หรือเปล่านะ และ ไฮเปอร์คือ อะไร

 

ลักษณะของเด็ก ไฮเปอร์ แอคทีฟเป็นอย่างไร ไฮเปอร์คืออะไร ไฮเปอร์ คือ

1.เด็กจะมีความซนมากกว่าเด็กทั่วไป ซนแบบไม่อยู่นิ่ง หรือเดินไม่เป็น ชอบวิ่ง ปีนป่าย หยิบจับของไปทั่ว มือไม้อยู่ไม่สุข และชอบเล่น เล่นมาก และเล่นอย่างไม่มีจุดหมาย

2.มีความวอกแวก เจอสิ่งเร้านิดหน่อยก็ทำให้เสียสมาธิได้ง่าย และยังแสดงออกในรูปของการทำงานไม่ค่อยสำเร็จ เพราะในขณะที่กำลังทำงานชิ้นนี้ใจก็คิดไปถึงเรื่องอื่น ไม่ค่อยตั้งใจทำ หรือต้องให้จ้ำจี้จ้ำไชกว่าจะเสร็จ และใช้เวลานานถึงสำเร็จลุล่วง ไม่สามารถอยู่กับอะไรได้นาน เปลี่ยนไปทำนู่นทำนี่ หรือเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อย

3.มักจะแสดงออกของการรอคอยไม่เป็น เช่น รีบทำให้ก่อนที่จะฟังคำสั่งจบ มักจะใจร้อนที่จะทำ ชอบโลดโผน หุนหันพลันแล่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็กได้ง่าย

ถ้าสังเกตว่าลูกเข้าข่ายอาการตามลักษณะข้างต้น คุณพ่อคุณแม่สามารถนำลูกไปพบกับจิตแพทย์เพื่อทำการทดสอบวินิจฉัยให้แน่ชัด และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่แบ่งได้เป็น 3 อย่างคือ การบำบัดด้านการศึกษา การบำบัดด้านจิตวิทยาและพฤติกรรม และการบำบัดรักษาด้วยยา ต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไฮเปอร์ (Hyperactivity) 

ไฮเปอร์คือ ภาวะอยู่ไม่สุขหรืออยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ และไขว้เขวง่าย เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และการเข้าสังคม ภาวะไฮเปอร์ไม่ใช่อาการของโรคสมาธิสั้นอย่างที่หลายคนเข้าใจเสมอไป แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกหลายประการ และเป็นความผิดปกติที่รักษาให้หายได้ โดยจะยิ่งส่งผลดีหากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ฝึกลูกให้เป็น เด็กอัจฉริยะ เล่นเกมยังไง? ให้เกิดประโยชน์

อาการไฮเปอร์

ไฮเปอร์ คือ ผู้ที่มีภาวะไฮเปอร์มักมีอาการอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา เสียสมาธิง่าย ขาดการจดจ่อและความยับยั้งชั่งใจต่อสิ่งยั่วยุ บางรายมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือติดทำนิสัยบางอย่างซ้ำ ๆ ทั้งนี้ ภาวะไฮเปอร์ในเด็กและผู้ใหญ่อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย

เด็กที่เป็นไฮเปอร์อาจไม่มีสมาธิในการเรียนและขาดการยั้งคิดในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่น พูดเรื่องที่ไม่สมควรพูด พูดโพล่งออกมาโดยไม่คำนึงถึงกาลเทศะ เล่นแรงหรือทำให้ผู้อื่นเจ็บตัว รวมทั้งอาจสังเกตถึงอาการอยู่ไม่สุขอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ เช่น ไม่อยู่เฉย เดินไปทั่วห้อง พูดไม่หยุด กระดิกเท้าตลอดเวลา ชอบกดปากกาจนเกิดเสียงดังซ้ำ ๆ เคาะดินสอ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคในการเรียนและทำให้เกิดปัญหาในการทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนหรือการเข้าสังคมได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนผู้ใหญ่ที่มีภาวะนี้อาจมีปัญหาในการจดจ่อกับงาน วอกแวกง่าย หรือมีปัญหาในการจดจำชื่อสิ่งต่าง ๆ จำนวนตัวเลข และข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับงาน นอกจากนี้ บางรายอาจรู้สึกเครียดกับอาการที่ตนเผชิญจนเกิดความวิตกกังวลหรือมีภาวะซึมเศร้าตามมา

สาเหตุของภาวะไฮเปอร์

ภาวะไฮเปอร์มักเกิดจากโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการคล้ายกันกับผู้ป่วยภาวะไฮเปอร์ อย่างไรก็ตาม ภาวะไฮเปอร์มีสาเหตุมาจากโรคหรือปัจจัยอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง
  • ภาวะความผิดปกติทางอารมณ์หรืออาการทางจิต
  • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด

 

การวินิจฉัยภาวะไฮเปอร์

เด็กที่มีอาการอยู่ไม่นิ่งตลอดเวลา ก้าวร้าว ขาดความยั้งคิดก่อนทำหรือพูด และไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำจนส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ในขั้นแรกแพทย์จะสอบถามลักษณะอาการ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการ สุขภาพโดยรวม ยารักษาโรคที่กำลังใช้อยู่ และภาวะสุขภาพทางจิตของผู้ป่วย เพื่อประเมินลักษณะอาการ ความรุนแรง และสาเหตุของภาวะไฮเปอร์ รวมทั้งอาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลหากคาดว่าอาการดังกล่าวเกิดจากโรคอื่น ได้แก่ ตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะเพื่อดูความสมดุลของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากนี้ อาจมีการทดสอบทางจิตวิทยา ตลอดจนการประเมินสภาพแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนร่วมด้วย

 

การรักษาภาวะไฮเปอร์

แพทย์จะให้การรักษาภาวะไฮเปอร์ตามสาเหตุที่พบ โดยอาจสั่งจ่ายยาสำหรับโรคนั้น ๆ หรือให้พบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหากผู้ป่วยมีความผิดปกติทางอารมณ์หรือเป็นโรคทางจิตเวช และเพื่อควบคุมอาการไฮเปอร์ ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการบำบัดพฤติกรรมและความคิดกับนักจิตบำบัด ซึ่งรักษาโดยการพูดคุยเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยเพื่อปรับความคิดและพฤติกรรม รวมถึงเรียนรู้วิธีรับมือและบรรเทาอาการอยู่ไม่สุขของตนเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากการบำบัดด้วยวิธีดังกล่าวใช้ไม่ได้ผลและอาการดังกล่าวเกิดจากโรคสมาธิสั้น ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาที่มีฤทธิ์ช่วยให้รู้สึกสงบร่วมด้วย เช่น เมทิลเฟนิเดต อะโทม็อกเซทีน เป็นต้น ทั้งนี้ ยาบางชนิดก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางด้านพฤติกรรมได้ แพทย์หรือจิตแพทย์อาจต้องเฝ้าดูอาการจากการใช้ยาอย่างใกล้ชิด และระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจต้องหลีกเลี่ยงการได้รับสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการไฮเปอร์ เช่น คาเฟอีน นิโคติน เป็นต้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 5 วิธีปราบลูกดื้อ ทำยังไงดีเมื่อลูกดื้อ วิธีปราบลูกอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไร?

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะไฮเปอร์

เด็กที่มีภาวะไฮเปอร์อาจมีปัญหาในการใช้ชีวิตที่โรงเรียนและที่บ้านหรือมีภาวะซึมเศร้าได้ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวอาจทำให้ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งหรือล้อเลียน เข้ากับคนอื่นได้ยาก ต้องใช้ความพยายามในการทำการบ้านมากกว่าเด็กคนอื่น หรืออาจถูกครูทำโทษเนื่องจากพฤติกรรมไฮเปอร์ของตนเอง ส่วนผู้ดูแลเด็กอย่างพ่อแม่หรือครูผู้สอนก็อาจมีปัญหาในการดูแลและรับมือกับเด็กไฮเปอร์เช่นกัน

 

การป้องกันภาวะ ไฮเปอร์

เนื่องจากภาวะไฮเปอร์เป็นอาการแสดงของโรคความผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แนวทางการป้องกันที่พอจะทำได้คือรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรคที่อาจทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และสารเสพติดทั้งหลาย รวมทั้งหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น หากสงสัยว่ามีภาวะไฮเปอร์ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างเหมาะสม เพราะการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้หายเป็นปกติและส่งผลดีต่อผู้ป่วยมากที่สุด

 

โรคไฮเปอร์ในผู้ใหญ่

แต่เมื่อเช็กดูแล้ว ลูกไม่ได้อยู่ใน 3 ข้อนี้ก็สบายใจได้เลย ยิ่งถ้าเห็นลูกมีความตั้งใจทำอะไรได้นาน ๆ และมักจะทำให้เสร็จเป็นชิ้น ๆ ก่อนที่จะไปทำอย่างอื่น รู้จักหยุดฟังพ่อแม่ หรือเงยหน้ามองเวลาที่ผู้ใหญ่พูด รู้จักสบตา หรือยิ้มให้ ลักษณะเช่นนี้แสดงว่าไม่ใช่เป็นลักษณะของเด็กไฮเปอร์แอคทีฟค่ะ.

ขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.pobpad.com/%

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

เด็กสมาธิสั้นกับเด็กไฮเปอร์แตกต่างกันอย่างไร?
เช็กพฤติกรรม “ลูกติดโทรศัพท์” ส่งผลสมาธิสั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R