อาการอ้วกในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร ควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการอ้วกในเด็ก สาเหตุการอ้วกนั้นเกิดจากอะไร และควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก บทความวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักอาการอ้วกในเด็กกันให้มากยิ่งขึ้นค่ะ ว่าอาการนี้จะสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีไหนบ้าง และสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ้วกในเด็กนั้นมาจากอะไรกันแน่ เราจะมาคลายข้อสงสัยเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ ไปดูกันเลย

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ้วกในเด็ก 

 

 

สำหรับเด็กทารกแรกเกิด และเด็กเล็ก มีสาเหตุ ดังนี้

เด็กกลืนขี้เทาหรือเลือดแม่

  • เกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด เนื่องจากขี้เทาหรือเลือดของแม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร แต่จะอาเจียนไม่มาก ไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ และมักจะหายได้เอง ควรให้ทารกดูดน้ำกลูโคสหรือน้ำผสมน้ำตาลทีละน้อยบ่อย ๆ ระหว่างที่มีอาการอาเจียน

 

ทารกได้รับบาดเจ็บระหว่างคลอด

  • มักเกิดจากการคลอดยาก ภายหลังจากคลอดจะมีอาการอาเจียน ซึม ชัก กระหม่อมโป่งตึง หากไม่แน่ใจหรือสงสัยควรรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

กระเพาะหรือลำไส้อุดกั้น

  • กระเพาะส่วนปลายตีบแต่กำเนิด ลำไส้กลืนกันเอง โดยจะมีอาการอาเจียนรุนแรง ปวดท้องรุนแรง หากไม่แน่ใจหรือสงสัยควรรีบนำส่งโรงพยาบาลด่วน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคติดเชื้อ

  • เมื่อมีโรคติดเชื้อเกิดขึ้นในเด็กเล็กทั้งภายในและภายนอกระบบทางเดินอาหาร มักจะอาเจียนร่วมด้วย สาเหตุที่อันตรายร้ายแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ โลหิตเป็นพิษ ส่วนสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง เช่น ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอกรน บิด ท้องเดิน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น

 

โรคเชื้อราในช่องปาก

  • มักตรวจพบมีฝ้าขาวที่ลิ้น อาเจียนเล็กน้อย ไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ใช้ยาเจนเชียนไวโอเลตป้ายลิ้นวันละ 2-3 ครั้งเพื่อรักษา

 

เด็กเล็กสำรอกนม

  • มักเกิดจากกินนมมากเกินไป กลืนอากาศเข้าไประหว่างดูดนมทำให้มีลมจุกแน่นในกระเพาะอาหาร ทารกจะสำรอกคราบนมปนน้ำออกมา แต่ยังดูดนมได้ดี ไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็นปกติ ไม่มีอันตรายจากภาวะสำรอกนมแต่อย่างใด จึงไม่ควรให้นมลูกจนอิ่มเกินไป หลังให้นมควรอุ้มทารกพาดบ่าสักครู่เพื่อให้เรอเอาลมในกระเพาะออกมาเสียก่อน

 

โรคกรดไหลย้อน

  • เด็กจะอาเจียนและไอตอนกลางคืนบ่อย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับเด็กโต มีสาเหตุ ดังนี้

ลำไส้อักเสบ

  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อให้การรักษาแบบอาการท้องเดิน

 

การหมุนตัวผิดปกติของลำไส้

  • เป็นภาวะที่พบได้น้อยแต่รุนแรง มักเป็นมาแต่กำเนิด เด็กมักจะอาเจียนและปวดท้องรุนแรง มักอาเจียนเอาน้ำดีสีเขียวขม ๆ ปนออกมาด้วย อาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ในบางราย หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการผ่าตัด

 

ไส้ติ่งอักเสบ

  • ไส้ติ่งอักเสบ หรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบ อาเจียนและมีไข้ร่วมด้วย มีอาการปวดรุนแรง กดเจ็บบริเวณหน้าท้อง หากสงสัยควรนำส่งโรงพยาบาล

 

โรคพยาธิไส้เดือน

  • เด็กบางคนอาจมีอาการปวดท้องและอาเจียนแบบไม่รุนแรงเป็นครั้งคราว ส่วนมากมักเกิดหลังกินอาหารไปสักพัก จะมีอาการอยู่นิดเดียว ก็จะหายได้เอง บางครั้งอาจอาเจียนหรือถ่ายควรซื้อยาพยาธิมาถ่าย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเครียดทางจิตใจ

  • เด็กบางคนเมื่อมี ความเครียดทางจิตใจ เมื่อมีเรื่องเครียดมาก ๆ อาจมีอาการอาเจียนได้ ซึ่งอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ไปเอง หรือหากเครียดมากเกินไปอาจทำให้มีอาการเรื้อรังได้

 

อาการอ้วกในเด็ก บรรเทาอาการอย่างไร

 

 

อย่าให้เด็กขาดน้ำ

การอาเจียนทำให้เด็กสูญเสียน้ำมากมาย คุณจึงต้องพยายามไม่ให้ลูกขาดน้ำในช่วงที่เขาป่วย น้ำเปล่าเป็นของเหลวที่ดีที่สุด แต่การให้เด็กดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ กันก็ช่วยให้เด็กดื่มน้ำได้มากขึ้น

 

จิบน้ำบ่อย ๆ

ถ้าทำได้ให้กระตุ้นให้เด็กจิบน้ำทีละน้อยช้า ๆ บ่อย ๆ ทุก 5 – 10 นาที พยายามวางเครื่องดื่มไว้ข้างตัวเด็กตลอดเวลา

 

พยายามให้เด็กดื่มของเหลวใสเป็นส่วนใหญ่

เครื่องดื่มอัดแก๊สรสเปรี้ยวอย่าง น้ำมะนาวก็ช่วยได้เหมือนกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กินต้มจืดหรือซุป

ต้มจืดหรือซุป ก็สามารถช่วยเด็ก ๆ ไม่ขาดน้ำได้ด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นซุปให้เลือกซุปใสและอย่าเลือกซุปที่มีมะเขือเทศ มันฝรั่ง และครีม ซุปไก่ทั่วไปก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี

 

ระวังเครื่องดื่มเกลือแร่

เพราะแม้ว่าจะประกอบด้วยน้ำ และมีรสชาติดี แต่เครื่องดื่มเหล่านี้เข้มข้นมาก และอาจทำให้อาการแย่กว่าเดิมได้จริง ๆ ผงเกลือแร่สำหรับเด็กและน้ำเปล่าจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

 

ถ้าเด็กยังอาเจียนบ่อยครั้ง อย่าให้เด็กรับประทานอย่างอื่นนอกจากของเหลวเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

ช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการป่วยที่ทำให้อาเจียน เด็กไม่ควรรับประทานอย่างอื่นนอกจากของเหลว ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ 

  • แต่เด็กที่อาเจียนบ่อยครั้ง ส่วนมากก็ไม่อยากรับประทานอะไรอยู่แล้ว
  • เด็กบางคนจะอยากรับประทานอาหารมาก ๆ แม้ว่าจะคลื่นไส้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นเพราะว่าเด็กสับสนระหว่างอาการปวดท้องเกร็งกับปวดท้องเพราะหิว ถ้าลูกของคุณมีนิสัยแบบนี้ ก็ให้ตระหนักไว้และระมัดระวัง

 

เลี่ยงกลิ่นแรงและสิ่งอื่น ๆ ที่ทำให้คลื่นไส้

เด็กบางคน มักจะคลื่นไส้เพราะกลิ่น กลิ่นอาหารและกลิ่นปรุงอาหาร น้ำหอม ควัน ความร้อน ความชื้น และแสง อาจทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลงได้ แต่อาการที่ว่านี้ก็ต่างกันออกไปในแต่ละคน แต่ถ้าเด็กบ่นว่าคลื่นไส้ ให้พาเด็กไปที่ห้องสบาย ๆ ที่มีแสงสว่างปกติ เลี่ยงที่กลิ่นแรง ๆ ไม่สามารถเข้าไปได้

 

ให้เด็กพักผ่อน

ปกติเด็กที่คลื่นไส้ก็มักจะซึม ๆ อยู่แล้ว แต่บางครั้งเด็กก็จะไม่สนใจอาการคลื่นไส้ ถ้าเขาตื่นเต้นหรือกำลังอยู่กับกิจกรรมบางอย่าง  เด็กบางคนจะซนมากขึ้นเล็กน้อยเวลาที่ป่วย แต่การทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายมากเกินไป อาจทำให้อาการของเด็กแย่ลงได้

 

ให้เด็กรับประทานอาหารจืด ๆ

หลังจากผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง คุณสามารถให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารปกติได้ถ้าเด็กหายอาเจียนแล้ว อาหารรสอ่อนหรือนิ่ม ๆ จะทำให้เด็กไม่อาเจียนออกมา แนะนำให้เด็กที่อาเจียนรับประทานกล้วย ข้าว ซอสแอปเปิล และขนมปังปิ้ง โดยเชื่อว่าอาหารเหล่านี้ย่อยง่าย ทำให้ลำไส้ได้พักผ่อนและฟื้นฟู

แต่กุมารแพทย์ปัจจุบันรู้สึกว่าอาหารเหล่านี้มีสารอาหารไม่เพียงพอที่จะรักษาอาการให้หาย แต่ในช่วงวันแรก ๆ ที่เด็กป่วยอาหารเหล่านี้อาจช่วยได้ เพราะเด็กที่คลื่นไส้สามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้โดยไม่อาเจียน ลองให้เด็กรับประทานเหล่านี้ แล้วหลังจากนั้น 1 หรือ 2 วันก็ให้เด็กรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ผลไม้ และผักที่ดีต่อร่างกายตามปกติ

 

เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและมีรสเผ็ด

เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง คุณไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหารปกติภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากอาเจียน

 

ลองโภชนบำบัด

แนะนำให้ลองการรักษาแบบโภชนบำบัด ก็คือการให้อาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ และจัดให้ถูกหลักโภชนาการ เพื่อที่จะหาว่าอาหารชนิดไหนที่อาจทำให้อาเจียน ปกติแล้วนักโภชนาการที่ขึ้นทะเบียนจะทำงานร่วมกับคุณแม่และเด็ก เพื่อออกแบบแผนการรับประทานอาหารที่ตรงกับความต้องการของเด็กโดยเฉพาะ ปรึกษากุมารแพทย์เกี่ยวกับโภชนบำบัด เพราะแพทย์จะสามารถแนะนำนักโภชนาการให้คุณแม่และเด็กได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : สังเกตอาการขาดน้ำในเด็กแรกเกิด ก่อนจะสายไปจนต้องเข้าห้องฉุกเฉิน

หากลูกอาเจียนอาการแบบไหนควรพาลูกไปพบแพทย์ 

 

 

  • คุณควรพาเด็กไปพบแพทย์ หากเด็กอาเจียนมากกว่า 24 ชั่วโมง หรือ 12 ชั่วโมง โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
  • ทารก และเด็กเล็กมักมีโอกาสขาดน้ำมากกว่าเด็กโต ทารกที่อาเจียนตลอดเวลาอาจต้องเข้ารับการรักษาเร็วกว่าเด็กวัยรุ่น ถ้าเด็กมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา อ่อนแอหรือเวียนศีรษะ ปัสสาวะหรือทำกิจกรรมน้อย ก็ควรไปพบแพทย์
  • ถ้าเด็กดูเหมือนจะอาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด ให้พาเด็กไปห้องฉุกเฉินทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการป่วยร้ายแรง
  • ถ้าเด็กมีไข้สูงพร้อมอาเจียน ท้องเสีย หรือปวดท้องรุนแรง ให้ไปพบแพทย์ทันที
  • ถ้าเด็กรับประทานอาหารและก็ยังอาเจียนออกมา แพทย์อาจจะต้องให้ของเหลวทดแทนทางเส้นเลือด เพื่อรักษาอาการขาดน้ำ หรือสั่งยารักษาอาการคลื่นไส้ และอาเจียน ถ้าคุณเชื่อว่าสาเหตุมาจากอาหารที่เด็กรับประทานเข้าไป คุณก็ควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นอาหารเป็นพิษหรือป่วยร้ายแรง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับข้อมูลที่เรานำมาฝากกันวันนี้ อาการอ้วกในเด็ก เรียกได้ว่าเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ยิ่งลูกอ้วกบ่อย ก็ยิ่งถือเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อย ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น แนะนำให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และตรวจสอบหาสาเหตุทันทีนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาหารเป็นพิษในเด็ก โรคฮิตช่วงหน้าร้อน เกิดจากอะไร รักษายังไง

ลูกแหวะนม สำรอกนม ทารกแหวะนม สำรอกนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม และควรดูแลอย่างไร?

สาเหตุที่ทำให้คลอดยาก เป็นเพราะ 7 สาเหตุนี้

ที่มา : wikihow, thailandonlinehospital.

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong