อย่ารอช้า!!!ปฏิบัติตนแบบนี้เมื่อเจ็บท้องคลอด

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่ 8 – 9 ต้องเฝ้าระวังในช่วงใกล้คลอด แม้คุณหมอจะกำหนดวันคลอดมาให้แล้วก็ตาม แต่โอกาสคลอดอาจเกิดขึ้นได้ แล้วถ้าเกิดอาการน้ำเดินหรือเกิดอาการต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่าจะคลอดแล้ว ทำยังไงดี อย่ารอช้า!!!ปฏิบัติตนแบบนี้เมื่อเจ็บท้องคลอดนะคะ ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการเริ่มต้นที่คุณแม่ควรสังเกต

อาการเจ็บท้องคลอด  เกิดจากร่างกายหลังฮอร์โมนออกซีโตซินออกมากระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณมดลูกให้มีการหดรัดตัว  และผ่อนคลายเป็นจังหวะ ดังนั้น  มดลูกจะบีบตัวรุนแรงขึ้นขณะที่ศีรษะของเจ้าตัวน้อยเริ่มเคลื่อนต่ำลงมาบริเวณคอมดลูกรอคอยการออกมาดูโลกแล้วค่ะ

1. อาการเริ่มต้นเจ็บท้องคลอดในช่วงเริ่มต้น คล้ายกับการปวดท้องเวลาที่มีประจำเดือน อาจรู้สึกปวดท้อง ปวดหลัง

2. คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการท้องเสียหรือคลื่นไส้อาเจียน มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด น้ำคร่ำเดินและเริ่มเจ็บท้องคลอดเพราะมดลูกเกิดการหดตัว

3. สำหรับบางท่านอาจจะไม่มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดในระยะเริ่มต้นก็ได้นะคะ เพราะบางครั้งมูกจะออกมาในระยะอื่นของการเจ็บท้องคลอดก็ได้

4. สำหรับอาการน้ำเดิน คือ การมีน้ำคร่ำไหลออกมาทางช่องคลอด น้ำคร่ำทำหน้าที่รองรับตัวลูกน้อยในท้องคุณแม่  และเมื่อร่างกายคุณแม่พร้อมคลอดแล้ว ถุงน้ำคร่ำจะแตกออกและน้ำคร่ำจะไหลออกมาทางช่องคลอด  ซึ่งคุณแม่บางท่านจะไหลออกมามากบางท่านไหลออกมาน้อย

5. อาการเจ็บท้องคลอดเกิดจากการหดรัดตัวและผ่อนคลายเป็นจังหวะ ๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังของคุณแม่ และคุณแม่จะรู้สึกเจ็บมากกว่าอาการท้องแข็งในช่วงตั้งครรภ์

6. หากเข้าสู่ระยะเจ็บท้องคลอดแล้ว มดลูกจะหดรัดตั้งรุนแรงขึ้น นานขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่ารอช้า!!!ปฏิบัติตนแบบนี้เมื่อเจ็บท้องคลอด

1. ให้คุณพ่อหรือคนในบ้าน หากอยู่ที่ทำงานให้เพื่อนร่วมงานโทรแจ้งไปยังโรงพยาบาลว่า กำลังเริ่มเจ็บท้องคลอดในช่วงเริ่มต้นแล้ว  ทางโรงพยาบาลซึ่งอาจจะเป็นนางพยาบาลแผนกสูติฯ จะสอบถามว่ามดลูกเริ่มบีบรัดตัวเป็นจังหวะทุก ๆ กี่นาที  และควรรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

2. แน่นอนว่าช่วงเวลานี้คุณพ่อและคุณแม่ต้องตื่นเต้นมาก ๆ แต่ต้องพยายามควบคุมตัวเองให้สงบและผ่อนคลาย เพื่อให้คุณแม่รู้สึกอุ่นใจ เก็บกระเป๋าสัมภาระสำหรับคลอดที่เตรียมไว้เพื่อไปโรงพยาบาล ระหว่างทางชวนคุณแม่พูดคุยเพื่อให้คุณแม่คลายความกังวล

3. เมื่อถึงโรงพยาบาล คุณพ่อจัดการติดต่อกับทางแผนกสูติฯ  ทางโรงพยาบาลจะดำเนินการเรื่องห้องเพื่อพาคุณแม่เข้าไปพักผ่อน คุณพ่อควรพูดคุยให้กำลังใจ  คอยชักชวนให้คุณแม่เปลี่ยนท่านอน และคอยเตือนคุณแม่ให้อยู่ในท่าตัวตรงตั้งฉากกับพื้นจะช่วยเร่งปากมดลูกให้เปิดเร็วขึ้น

4. เตรียมน้ำดื่มเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำที่อาจเกิดขึ้น เพราะมีอาการอ่อนเพลียจากการเจ็บท้อง ถ้ารู้สึกว่าลมหายใจคุณแม่มีกลิ่นแสดงว่าคุณแม่เริ่มขาดน้ำ  ควรเตือนให้คุณแม่จิบน้ำบ่อย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. คอยเตือนให้คุณแม่ผ่อนคลาย ให้หายใจช้า ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่คุณแม่ปวดจนมีอาการเกร็ง

6. หากมีอาการปวดหลัง ให้คุณพ่อใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าขนหนูประคบบริเวณที่ปวด หรือใช้วิธีการนวด โดยกำมือหรือใช้สันมือกดนวดบริเวณที่ปวดและบริเวณใกล้เคียง

7. คุณพ่อควรควบคุมอารมณ์และความรู้สึก หากเวลาที่คุณแม่ร้องปวดท้องคลอด เพราะการร้องจะช่วยให้คุณแม่ระบายความเจ็บปวดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8. คอยบอกสถานการณ์ ความก้าวหน้าในการคลอดให้คุณแม่รู้เพื่อเป็นกำลังใจในการคลอด

9. ให้กำลังใจคุณแม่และชื่นชมคุณแม่เมื่อลูกคลอดแล้ว

บทความแนะนำ  ความภูมิใจของคนเป็นแม่ในวินาทีแรกคลอด

จากบทความขั้นตอนต่าง ๆดำเนินมาจนเสร็จเรียบร้อย  คราวนี้เหลือการปฏิบัติจริงที่คุณแม่จะต้องลงมือปฏิบัติ อย่ากังวลไปค่ะ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวแม้ว่าจะมีอาการเจ็บปวดบ้างแต่ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขนะคะ  นึกถึงหน้าเจ้าหนูเอาไว้ เดี๋ยวได้เจอกันแล้วค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ เตรียมตัวคลอดอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปากมดลูกเปิดเป็นยังไง สัญญาณใกล้คลอดที่ควรรู้

เชื่อไหมว่าฉันคลอดลูกเองที่บ้าน