แม่จ๋า.. อย่าทำร้ายกันเลย 4 อย่างที่แม่ไม่สมควรทำกับทารกแรกเกิดเด็ดขาด!!

ยังมีอีกหลายอย่างที่คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกน้อย และบางเรื่องก็อาจเป็นสิ่งคุณแม่เผลอทำกับลูกน้อยโดยไม่ได้ตั้งใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่าทำร้ายกันเลย เรื่องที่คุณแม่อาจเผลอทำกับลูกโดยที่ไม่รู้ว่าอาจเป็นการดูแลเจ้าตัวน้อยอย่างผิดวิธี ดังนั้นการเลี้ยงลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้ว่า ควรต้องทำอย่างไรกับลูกน้อยแรกเกิด เพื่อให้แน่ใจว่าลูกจะปลอดภัยและเติบโตมีพัฒนาการที่ดี

อย่าทำร้ายกันเลย 4 สิ่งที่แม่ไม่ควรทำกับลูกน้อยแรกเกิด

#1 ให้ลูกน้อยนอนหลับในท่านอนคว่ำ

ทารกหลายคนนั้นเสียชีวิตในขณะที่นอนหลับ อันเนื่องมาจากการจัดท่านอนและสภาวะแวดล้อมในการนอนที่ไม่ปลอดภัย การเสียชีวิตบางครั้งก็เกิดจากการถูกกดทับ การหายใจไม่ออกและการถูกบีบรัด และทารกบางคนเสียชีวิตจากอาการเสียชีวิตอย่างฉับพลันในเด็กทารกหรือ SIDS

วิธีการที่พ่อแม่จะทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างปลอดภัย The American Academy of Pediatrics ได้ให้คำแนะนำว่า ควรให้ทารกที่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงนั้นได้นอนหงายเวลานอนหลับ เนื่องจากมันเป็นท่านอนที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทารกในการนอน และให้ลูกได้นอนคว่ำเล่น ในเวลาที่เขาตื่นนอน ซึ่งการนอนคว่ำนี้จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อคอและหลีกเลี่ยงไม่ให้ศีรษะแบน และอย่าลืมว่าคุณแม่ควรอยู่กับลูกน้อยตลอดเวลาด้วยในระหว่างช่วงนอนคว่ำเล่นนะคะ

#2 ปล่อยให้ใครต่อใครได้หอมแก้มลูกน้อยแรกเกิด

ท่ามกลางญาติพี่น้องและเพื่อน ๆ ที่แวะเวียนมาเยี่ยมเจ้าตัวน้อยและแสดงความยินดีกับคุณแม่ไม่ขาดสาย หากคุณแม่จะแสดงอาการหวงลูกน้อยเพื่อไม่ให้คนอื่นมาหอมแก้มเจ้าตัวน้อย หรือคอยมาจับต้องในช่วงนี้คงไม่ใช่เรื่องน่าอาย หรือน่าเกรงใจ เพราะการจูบหรือหอมแก้มลูกจากบุคคลที่ไม่ได้ล้างทำความสะอาดมือหรือที่สัมผัส อาจมีโอกาสที่จะทำให้เจ้าตัวน้อยติดเชื้อ โดยเฉพาะทารกในระหว่างช่วงสัปดาห์แรก ที่ระบบภูมิคุ้มกันเล็ก ๆ นั้นยังไม่อาจป้องกันร่างกายจากการเจ็บป่วยได้ นำไปสู่อาการเจ็บไข้ได้ป่วยอันไม่พึงประสงค์ และบางรายอาจส่งอันตรายถึงแก่ชีวิต

คุณแม่สามารถขอร้องอย่างสุภาพกับแขกที่มาเยือนได้ว่า อย่าเพิ่งจูบหรือหอมเจ้าตัวเล็กแรกเกิดในตอนนี้ และขอให้ล้างทำความสะอาดมือก่อนที่จะอุ้มเจ้าตัวน้อย หากลูกในสบายก็สามารถขอได้ว่ามาเยี่ยมในวันอื่น ๆ มันอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนว่ากำลังเป็นคุณแม่มือใหม่ที่จุกจิกเกินไป แต่ถ้าไม่อยากทำร้ายลูกในตอนนี้มันควรจะทำนะ

#3 ปล่อยให้ลูกน้อยได้อยู่กับผ้าอ้อมที่เปรอะเปื้อนนานเกินไป

แม้จะเห็นว่าทารกแรกเกิดเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ แต่ลูกน้อยนั้นขับถ่ายและปัสสาวะมากกว่าเด็กอายุ 6 เดือนเสียอีก ดังนั้นคุณแม่ควรคอยตรวจสอบผ้าอ้อมของลูกให้เป็นประจำ และดูให้สบายใจว่ามันไม่เลอะเทอะ แลดูไม่หนัก หรือจำเป็นต้องเปลี่ยน ซึ่งการดูแลรักษาความสะอาดในจุดนี้ นอกจากจะทำให้ทารกไม่ร้องไห้งอแงจากการไม่สบายตัวแล้ว สิ่งนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อมด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#4 ใส่เสื้อผ้าให้หนาเกินไป

คุณแม่อาจจะเห็นว่าลูกน้อยนั้นดูบอกบาง นอกจากการห่อตัวให้อบอุ่นแล้ว การใส่เสื้อผ้าที่มากเกินไปให้ลูกน้อยอาจจะเป็นสาเหตุของการเป็นไข้และภาวะขาดน้ำได้ และมีความเสี่ยงอย่างมากจากอุณหภูมิในตัวลูกที่ร้อนเกินไป อาจทำให้เกิดอาการเสียชีวิตอย่างฉับพลันในเด็กทารก ( SIDS) ได้เช่นกัน สำหรับการแต่งตัวลูกน้อยแรกเกิด ควรให้ลูกได้สวมใส่ชุดที่บาง ๆ สบาย ๆ และเป็นชุดที่ถอดได้ง่ายเพื่อที่จะช่วยรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับทารก

พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก

ลูก คือ ทุกสิ่งของพ่อแม่ พ่อแม่หลายคนคาดหวังว่าลูกต้องเติบโตขึ้นมาในแบบที่พ่อแม่วางไว้ บางคนบอกว่าลูกฉันต้องเป็นคนที่เรียนเก่ง บางคนบอกว่าลูกฉันต้องเป็นเด็กดี บางคนบอกว่าลูกฉันต้องดีพร้อมทุกอย่าง ทำให้พ่อแม่ต้องพยายามอบรมสั่งสอนลูกในทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะวางกฏรัเบียบ วางตารางการใช้ชีวิต คอยผลักดันให้ลูกทำในสิ่งที่ถูกที่ควร แต่บางครั้งพ่อแม่อาจจะหลงลืมไปว่าตัวเองบังคับลูกเกินไปหรือเปล่า หรือเจ้าอารมณ์มากไปไหม หรือว่าอารมณืไม่ดีมาก็มาลงที่ลูก หรือว่าลูกไม่ได้ดั่งใจก็ดุด่า ซึ่งพฤติกรรมบางอย่างเหมือนจะอยากให้ลูกปรับปรุงพฤติกรรม แต่กลับกลายเป็นว่าลูกยิ่งแย่ลงไปอีก ถ้าพ่อแม่ไม่อยากทำร้ายลูก ควรเลี่ยง 6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก เหล่านี้กันค่ะ

1. ตะคอก

พ่อแม่หลายคนบางครั้งคงเผลอตะโกนหรือตะคอกใส่ลูกบ้าง เพราะอารมณ์ชั่ววูบ แต่พ่อแม่รู้ไหมว่าการที่พ่อแม่ทำแบบนี้บ่อยๆ ไม่ได้เป็นผลดีต่อลูกน้อยเลยแต่อย่างใด แน่นอนว่าในช่วงแรกอาจได้ผลจริง ลูกอาจจะสงบและยอมเชื่อฟัง แต่พอทำนานๆ ไป กลับกลายเป็นว่า ลูกจะรู้สึกถึงความเคยชิน รู้สึกไม่สนใจ หรือรำคาญ จนกลายเป็นว่าเด็กเฉยเมยต่อการกระทำของพ่อแม่ เกิดการต่อต้าน และไม่ยอมทำตามที่พ่อแม่บอก

2. จู้จี้จุกจิก

การจู้จี้ เจ้ากี้เจ้าการกับเด็ก เวลาที่ลูกจะทำอะไนพ่อแม่ก็เอาแต่ขัด ห้ามนู้นห้ามนี้ อย่าทำแบบนั้นอย่าทำแบบนี้ หรือว่าบอกว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้แบบมากเกินไป โดยที่เด็กไม่ได้ลองพยายามใช้ความสามารถของตัวเองก่อน ทำให้เด็กมีความรู้สึกว่า เขาก็รู้ว่าตัวเองควรทำหรือจัดการอย่างไร แต่ทำไมพ่อแม่ต้องมาคอยจู้จี้จุกจิกด้วย ซึ่งพฤติกรรมของพ่อแม่แบบนี้ อาจทำให้ลูกรู้สึกเบื่อหน่ายและนำไปสู่การทะเลาะกันได้ค่ะ

3. ขู่ลูกบ่อยๆ

การที่พ่อแม่ขู่ลูกบ่อยๆ ซ้ำๆ อาจทำให้ลูกรู้สึกกลัว และหยุดพฤติกรรมดังกล่าวได้ก็จริง แต่การทำแบบนี้ไม่ใช่เรื่องดี ทำให้เด็กเกิดอารมณ์ด้านลบอื่น ๆ เช่น ตกใจ ขยะแขยง เช่น การขู่ว่าถ้าไม่ยอมกินข้าวจะให้หมอมาฉีดยา ถ้าดื้อแม่จะให้ตำรวจมาจับนะ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อลูกมาก เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความกังวลและปฏิเสธ ทำให้ลูกขาดความคิดสนร้างสรรค์ ขาดความเชื่อมั่น และลดความไว้วางใจในตัวผู้ใหญ่ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้รู้สึกปลอดภัย

อีกทั้งทำให้เด็กเด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ที่จะสร้างวินัยในตนเอง แทนที่จะพัฒนาตนเองให้เลือกทำในสิ่งที่ควรทำและเลือกหยุดในสิ่งที่ควรหยุดโดยตัดสินใจได้ด้วยตนเอง แต่กลับกลายเป็นการหยุดเพราะกลัวหรือหยุดเพราะตกใจ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการปรับตัวเพื่อเรียนรู้

4. พูดมากเกินไป

พ่อแม่บอกคนเป็นนักพูด หรือชอบอธิบาย และอยากสอนลูกจริงๆ จังๆ ให้ลูกได้เข้าใจ แต่ก็อย่าลืมว่าเด้กยังมีความอดทนต่ำ เขาไม่สามารถทนฟังสิ่งที่พ่อแม่ต้องการจะสื่อสารกับลูกได้ยืดยาวมากนัก ซึ่งพ่อแม่เองก็ต้องปรับตัว พูดเฉพาะในส่วนที่สำคัญ พูดเฉพาะในเรื่องที่ต้องการให้ลูกแก้ไขต่างๆ มากกว่าการที่พูดอะไรมากมายยืดเยื้อ เพราะจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกว่า พ่อแม่จะบ่นอะไรนักหนา พูดอยู่ได้ และทำให้เด็กเกิดอารมณ์ ท้ายสุดก็จะเกิดอาการไม่อยากรับฟัง ไม่อยากรับรู้ เกิดการโต้เถียง และบ่ายเบี่ยงที่จะเผชิญหน้าพ่อแม่ เวลาที่ทำอะไรผิด และไม่กล้าบอกพ่อแม่ ทางที่ดีควรปล่อยให้ลูกพูดบ้าง ฟังให้มากขึ้น พูดให้น้อยลงค่ะ

5. พูดให้เด็กรู้สึกอาย

เวลาที่ลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจพ่อแม่ หรือเวลาที่ลูกทำอะไรผิด พ่อแม่ไม่ควรลงโทษอะไรที่ทำให้เด็กรู้สึกอับอาย การลงโทษแบบนี้คล้ายกับการดุด่า และให้ผลรุนแรงต่อจิตใจเช่นกัน เช่น การเยาะเย้ยให้อับอาย การพูดประชดประชัน การดูถูกโดยการเปรียบเทียบเด็กกับคนอื่นๆ ที่ทำอะไรได้ดีกว่า ให้ถอดเสื้อผ้า ไม่ให้กินอาหาร บังคับให้อยู่ในท่าที่น่าอายให้ทุกคนมองเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งเหล่านี้ พ่อแม่ไม่ควรทำเด็ดขาดนะคะ

6. การตบตี

การลงโทษด้วยวิธีที่รุนแรงอย่างเช่น การตีเด็กด้วยมือหรือวัตถุบางอย่างเช่น ไม้เรียว เข็มขัด แส้ รองเท้า หนังสือ ไม้บรรทัด ฯลฯ การเตะ การกระชากผม การหยิก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดการเรียนที่เป็นผลดีต่อเด็กแต่อย่างใดค่ะ เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเจ็บปวดทางด้านร่างกาย และอาจเกิดบาดแผลในจิตใจด้วย นอกจากนี้ บางประเทศมองว่า การลงโทษเด็กในลักษณะนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน

หากพ่อแม่อยากจะแก้ไขในนิสัยหรือพฤติกรรมไม่ดีกับลูก แนะนำให้ใช้เหตุผลที่ตรงไปตรงมา ไม่ต้องพูดอะไรที่ยืดยาว เช่น มีดเล่นไม่ได้เพราะจะบาดมือหนู ใช่ท่าทีและวาจาที่หนักแน่น ปล่อยให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกออกมาบ้าง เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วควรให้รางวัลเป็นการตอบแทน เช่น กล่าวชมเชย หรือให้รางวัลแบบอื่นเมื่อลูกสองคนเล่นกันด้วยดีไม่ทะเลาะไม่ตีกันในช่วงตลอดสองวันที่ผ่านมา

รวมถึงการเลิกให้ความสนใจเด็ก เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ลูกคนหนึ่งกินอาหารดีอีกคนไม่ค่อยยอมกินเล่นไปเรื่อยๆ แม่ก็อาจชมคนที่กินอาหารดีแต่เฉยๆ ไม่แสดงความสนใจกับลูกคนที่ไม่ยอมกินแต่เขี่ยอาหารเล่นอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องดุว่าค่ะ ที่สำคัญ พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก เช่นพูดสอนว่าการพูดปดเป็นสิ่งไม่ดีห้ามทำ แต่พอมีคนที่พ่อแม่ไม่ต้องการพบมาพบ ก็ใช้ลูกออกไปบอกว่า พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน การกระทำแบบนี้ก็เท่ากับสอนลูกว่าที่จริงพูดปดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มาจาก : sg.theasianparent.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

แม่จ๋า..นี่คือ 8 ของใช้ทารก ที่หนูจำเป็นต้องใช้จริงๆ แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่นึกไม่ถึง!

แม่จ๋ารู้มั้ย..อยู่ในท้องหนูรู้สึกอะไรบ้าง 5 เรื่องจริงที่น่าอัศจรรย์ของ ทารกในครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R