หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมาก จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 85

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมาก จริงไหม ?

คุณแม่ และคนรอบข้าง มักจะมีความเข้าใจว่า หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมาก ไม่ควรจะขยับตัวมาก ควรนอนนิ่ง ๆ บนที่นอน เพราะกลัวว่าจะสะเทือนถึงฝีเย็บ หรือ แผลผ่าคลอด ซึ่งในความเป็นจริงนั้น การนอนนิ่ง ๆ ไม่ยอมขยับเคลื่อนตัว เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

ซึ่งโดยปกติ จะสังเกตได้ว่า หลังจากคลอดลูกแล้ว นางพยาบาลจะพยายามให้คุณแม่เคลื่อนไหว ให้ได้มากที่สุด เช่นการ เดินไปรอบ ๆ เดินไปเข้าห้องน้ำด้วยตัวเอง ไปฝึกดูแลลูก เนื่องจาก การเคลื่อนไหวร่างกายนั้น จะช่วยให้ร่างกายมีการขยับตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้มีการเคลื่อนไหวของออกซิเจนในเลือด สามารถหมุนเวียนถ่ายเท ได้ดีกว่าการนอนนิ่ง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณแผลผ่าตัด หรือฝีเย็บ ทำให้การติดของแผลจะดียิ่งขึ้น

แต่มีสิ่งที่ควรระวังอยู่ 2 อย่าง คือ

1. เนื่องจากคุณแม่เสียเลือดไปในขณะคลอดมากกว่าปกติ ฉะนั้นควรระวังอาการหน้ามืดเป็นลมในระยะหลังคลอดใหม่ ๆ

2. อย่าลืมว่ามดลูก เพิ่งผ่านการทำงานมาอย่างหนัก ดังนั้น การเคลื่อนไหวใด ๆ ก็ขอให้ไม่ให้กระทบกระเทือนกับมดลูก เช่น การยกของหนัก หิ้วน้ำเป็นถัง ๆ ฯลฯ แบบนี้ไม่ควรทำค่ะ นอกเหนือจากนี้แล้วไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกายตามที่หมอแนะนำ การเดินไปไหนมาไหน หรือขึ้นลงบันไดก็ย่อมทำได้ และถ้าครบเดือนไปแล้วก็ขับรถไปทำงานได้ตามปกติ

มาทำความรู้จักการบริหารร่างกายหลังคลอดกันเถอะ

พอได้ยินคำว่าบริหารร่างกาย อาจจะคิดว่าเป็นการออกกำลังกายหนัก ๆ ก็ได้ แต่การบริหารร่างกายหลังคลอดนั้นเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ที่เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ขยับปลายเท้าในขณะที่นอน แล้วจึงค่อยเพิ่มระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ

การบริหารร่างกายหลังคลอด คืออะไร?

หลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่ปล่อยให้ร่างกายได้พักผ่อน ควรจะพักผ่อนอยู่นิ่ง ๆ เท่าที่จะทำได้จึงจะดีจริง แต่หากไม่เคลื่อนไหวตัวเลย ก็อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้าก็ได้ การบริหารร่างกายหลังคลอดนั้น เป็นการบริหารร่างกาย ที่สามารถเริ่มทำได้ทันทีหลังคลอด ถึงจะเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ที่ทำได้แม้ในขณะนอนห่มผ้าอยู่บนเตียง แต่ก็สามารถคาดหวังประสิทธิผลต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การบริหารร่างกายดังกล่าว มีจุดประสงค์ และวิธีการที่ต่างไปจากการบริหารร่างกาย เพื่อทำให้กลับไปมีทรวดทรงดีดังเดิม การออกกำลังกายเพื่อทำให้ร่างกายกลับไปมีทรวดทรงดังเดิมนั้นควรทำหลังจากร่างกายฟื้นตัวแล้ว

ทำให้เกิดผลดีอย่างไร?

การบริหารร่างกายหลังคลอดทำให้เกิดประสิทธิผลต่าง ๆ ต่อการฟื้นตัวของร่างกายหลังคลอด

มาดูกันอย่างเป็นรูปธรรมเลยดีกว่าว่าประสิทธิผลดังกล่าวมีอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ช่วยขับน้ำคาวปลา
  2. ช่วยกระชับกล้ามเนื้อที่หย่อนยานเนื่องจากการตั้งครรภ์และคลอดลูก
  3. ช่วยทำให้หายจากความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการคลอดได้เร็วขึ้น
  4. มีประสิทธิผลช่วยทำให้น้ำนมหลั่งได้ดีขึ้น
  5. ป้องกันอาการท้องผูก
  6. กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกและกระชับกระดูกเชิงกราน
  7. การออกกำลังจะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศช่วยทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า

ควรเริ่มทำเมื่อไรดี?

หลังคลอดหากไม่มีปัญหาอะไรเป็นพิเศษ ก็สามารถเริ่มทำได้เลยตั้งแต่วันที่คลอด แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการคลอด และลักษณะร่างกายของคุณแม่ด้วย ทั้งนี้ควรทำโดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือสถานอนามัยที่ทำคลอด

ข้อควรระวังเวลาที่บริหารร่างกายหลังคลอด

การบริหารร่างกายหลังคลอด ก่อให้เกิดประสิทธิผลหลายอย่าง หากเป็นไปได้อยากขอให้นำไปปฏิบัติกัน หากแต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำแน่นอน ดังนั้นหากสุขภาพร่างกายไม่ดี หรือเหนื่อยล้าก็ควรจะหยุด และไม่ควรฝืนทำ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการปฏิบัติ หลังกินอาหารเสร็จใหม่ ๆ หรือเวลาที่ง่วงนอน และไม่จำเป็นต้องฝืนเพิ่มจำนวนครั้งที่ทำด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การบริหารร่างกาย ที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ทุกวันก็คือ การเดินด้วยท่าทางที่ถูกต้อง หลังคลอดต้องคอยดูแลลูก คุณแม่มักจะเดินหลังงอกัน ซึ่งจะทำให้หน้าท้องที่หย่อนยาน เคยชินกับท่าทางที่สบาย ควรจะเริ่มจากการเดินโดยยืดหลังให้ตรง

หากเป็นกังวลใจแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานอนามัยที่ทำคลอดให้

การนั่งและยืนให้ถูกท่าสำหรับคุณแม่หลังคลอด

ผู้หญิงเวลานั่งบริเวณฝีเย็บ จะโดนน้ำหนักตัวทับลงกับพื้น จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดใหม่ ๆ นั่งตรงไม่ค่อยได้ หรือคนที่ชอบนั่งขัดสมาธิ ซึ่งการนั่งท่านี้ขาจะฉีกแยกจากกัน จึงทำให้แผลที่ตึงอยู่แล้วก็แทบจะปริแยกออกจากกัน แต่ท่านั่งที่ดีที่สุดก็คือ “ท่านั่งพับเพียบ” เพราะการนั่งท่านี้ จะไม่ทำให้เจ็บแผลมาก แต่ถ้ายังนั่งไม่ถนัดก็ให้คุณแม่ หาเบาะนุ่ม ๆ หรือหมอนรองนั่งมารองก็ได้ เพราะจะช่วยให้คุณแม่นั่งได้ง่ายขึ้น และมีอาการเจ็บปวดไม่มาก

ส่วนเวลาจะลุกจะนั่ง ก็ต้องระวังด้วยนะคะ อย่าก้าวขามากเกินไป หรือลุกนั่งเร็วเกินไป เพราะจะทำให้แผลฝีเย็บที่ยังไม่หายดี ปริออกจนต้องเย็บใหม่ได้ ส่วนท่ายืนนั้น จะตรงข้ามกับท่าเดิน คุณแม่ไม่ควรเดินหนีบ ๆ เพราะจะทำให้แผลเกิดเสียดสีกัน แต่ให้เดินแบบแยกขาออกจากกันเล็กน้อย เดินแยกนิดหน่อยแต่พองาม โดยให้เดินอย่างนี้ประมาณ 7 วันแล้วแผลก็จะค่อย ๆ หายเอง หลังจากนั้นก็สามารถกลับมาเดินในท่าปกติได้

คุณรู้หรือไม่ : สำหรับแผลผ่าคลอดนั้น การเดินช้า ๆ เบา ๆ จะช่วยให้ออกซิเจนในเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงบริเวณบาดแผลได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดผังผืดใต้แผลผ่าคลอด จึงทำให้ไม่เกิดเป็น แผลคีรอยด์ หรือเกิดการนูนของแผลได้อีกด้วย

 

ที่มา : โรงพยาบาลขอนแก่น , mamypoko

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ออกกำลังกายช่วงไตรมาสที่สาม ไตรมาสสุดท้าย ออกกำลังกายแบบใดเหมาะที่สุด

ออกกำลังกายหลังคลอดได้เมื่อไหร่ แม่ผ่าคลอดออกกำลังกายแบบไหนให้พุงยุบเร็ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

ammy