การให้นมลูกในตอนกลางคืนอาจจะทำให้คุณแม่ต้องคอยลุกตื่น ทำให้ไม่ค่อยได้หลับได้นอน ถ้าตอนนี้เจ้าตัวน้อยอายุเกิน 6 เดือนแล้ว คุณแม่บางคนอาจต้องการ หย่านมลูกตอนกลางคืน และฝึกให้ลูกน้อยได้นอนหลับยาวตลอดคืนกันแล้วล่ะ
แม่แชร์ หย่านมลูกตอนกลางคืน ทำอย่างไรให้ได้ผล ?
สำหรับคุณแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน มันอาจจะเป็นเรื่องหนักหนาตรงที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนดี บทความนี้คุณแม่ลูกสองจะขอมาแชร์ประสบการณ์วิธีที่จะให้เจ้าหนูเลิกหม่ำนมในตอนกลางคืน เพื่อให้คุณแม่ได้นอนหลับอย่างเต็มตื่นหลังจากนี้
เคล็ดลับง่าย ๆ ที่คุณแม่ขอบอก คือ ใช้วิธีลดเวลาให้เจ้าตัวน้อยกินนมน้อยลง ถ้าลูกตื่นขึ้นมา 3 ครั้งในตอนกลางคืนและใช้เวลากินนมประมาณ 15 นาทีสำหรับแต่ละเต้า เริ่มต้นให้ป้อนนมน้อยลงอย่างช้า ๆ เช่น ในวันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ ให้เวลาเข้าเต้าลดลงเป็น 14 นาทีในแต่ละเต้า สลับกับในวันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์ ให้กินประมาณข้างละ 13 นาที ค่อย ๆ ลดเวลาลงจนถึงวันที่เหลือ 1 นาทีหรือ 1 ออนซ์ จึงค่อยหยุดให้นมเจ้าตัวน้อย
การเริ่มต้นอาจจะเป็นเรื่องยากซักหน่อยสำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่จะต้องเจอลูกร้องไห้บ้าง แต่ถ้าค่อย ๆ ทำไป ลูกน้อยจะเรียนรู้จนค่อย ๆ กินนมน้อยลงในตอนกลางคืนและไม่จำเป็นต้องกินนมอีก อย่างไรก็ตามทารกแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ลูกของเราอาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อยในการหย่านมตอนกลางคืน นั่นก็ไม่เป็นไร ซึ่งมันอาจจำเป็นต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ก่อนที่จะลดเวลาหรือจำนวนออนซ์ลง ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร แต่หัวใจสำคัญคือคุณแม่ต้องมีความใจแข็ง เพื่อลูกน้อยจะค่อยปรับตัวได้เองและจะเริ่มนอนหลับยาวได้ตลอดทั้งคืน โดยไม่ต้องตื่นมาร้องหานมแม่แล้ว
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีน้ำนมเพียงพอ ไม่มีอุปสรรคอื่นใดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลัง 6 เดือนคุณแม่สามารถให้ลูกได้กินนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยจนอายุครบ 2 ปี หรือมากกว่าก็จะยังเป็นประโยชน์ต่อตัวลูกน้อย แถมยังจะมีปริมาณภูมิคุ้มกันบางชนิดมากขึ้นซะอีก และสารอาหาร คุณประโยชน์ในนมแม่ก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปตามอายุของลูกด้วย แต่อาจจะน้อยลงตามธรรมชาติร่างกายของแม่และตามความต้องการของลูกเท่านั้น ถ้ามีโอกาสให้นมแม่ยาว ๆ แม้จะเหนื่อยล้าร่างกายหน่อย แต่สำหรับลูกแล้วมีแต่ดีกับดี.
วิดีโอจาก : PRAEW
วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า เทคนิคหย่านมลูก
การ หย่านมลูก ไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะลูกเพียงอย่างเดียว แต่กลับมีผลกลับต่อตัวแม่เช่นเดียวกัน จะมาแนะนำ วิธีหย่านม วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า เทคนิค หย่านมลูก ง่าย ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบมาก ทั้งต่อแม่และลูกน้อย
วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า เป็นกระบวนการที่ทำให้ลูกน้อยเปลี่ยนจากการดูดนมแม่ไปดูดนมขวด หรือกินอาหารอย่างอื่นแทน หรือที่เรียกว่าการ หย่านมลูก เมื่อเขาถึงช่วงอายุครบ 6 เดือน ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเริ่มหัดเดิน หัดพูด และกินอาหารแข็งได้มากขึ้นแล้ว ฉะนั้นถ้าคุณกำลังคิดจะให้ลูกน้อย หย่านม อยู่ล่ะก็ คู่มือแม่มีเคล็ดลับ และเทคนิคดี ๆ ที่เราจะนำมาบอกกล่าวถึง วิธีหย่านม ที่อาจจะช่วยคุณได้
วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า ต้องมีปัจจัยหลายอย่าง
ปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการ หย่านมลูก คือ คุณแม่การกลับไปทำงาน การใช้ยาบางตัวของคุณแม่ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับลูก ความกดดันทางสังคมหรือครอบครัวรู้สึกว่าลูกของคุณ อายุเกินเกณฑ์ที่จะให้นม หรือตั้งครรภ์อีกครั้ง ซึ่งคุณสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน แต่ก็ยังคง ปั๊มนม และ เลี้ยงลูก ด้วยนมในบางรูปแบบ โดยคุณสามารถอ่านเคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนม หลังจากกลับไปทำงาน และการให้นมบุตร ขณะคุณแม่ป่วย การให้นมขณะตั้งครรภ์ได้ เป็นต้น
การ หย่านม เป็นการตัดสินใจของตัวคุณเองและลูกของคุณ ซึ่ง วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า นั้นคุณจะต้องทำได้โดยไม่มีแรงกดดันหรืออิทธิพลของผู้อื่น โปรดใช้เวลาสักครู่ เพื่อพิจารณาสิ่งที่คุณรู้สึกว่าดีที่สุด สำหรับคุณและลูกของคุณ เมื่อพูดถึงการ หย่านมลูก
เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็ลดการให้นมแม่ลงทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไปแล้วทดแทนด้วยนมขวด ซึ่งอาจจะเป็นนมแม่ที่ปั๊มใส่ขวด หรือแม้แต่อาหารแข็งบางอย่าง คุณควรให้เวลาลูกน้อยและเต้านมของคุณได้ปรับตัว และถ้าลูกน้อยอายุต่ำกว่าหนึ่งปี ควรเสริมด้วยนมแม่ เนื่องจากนมวัวและนมผง มีสารอาหารไม่เพียงพอ สำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน เป็น วิธีหย่านม ที่ดีที่สุด
วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า หรือ หย่านม นั้นควรค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ซึ่งลูกจะค่อย ๆ รับรู้ได้เองว่า หมดความต้องการที่จะดูดนมแม่แล้ว และลูกจะค่อย ๆ ดูดนมแม่น้อยลง และเลิกไปทีละมื้อเมื่อเขาโตขึ้น จนคุณอาจไม่ทันได้สังเกตว่าลูกกินนมแม่มื้อสุดท้ายเมื่อใด เพราะขบวนการนี้จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้า ๆ วิธีการนี้ทำให้ลูก หย่านม ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยลดความต้องการไปทีละน้อย ไม่ร้อง ไม่เสียใจจากการที่ต้องเลิกดื่มนมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 วิธีชาญฉลาด สำหรับคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกน้อย “หย่านม”
หย่านมลูกเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง
ช่วงเวลาของการ หย่านมลูก เป็นช่วงเวลาที่สร้างความหงุดหงิดใจ เสียใจ ให้กับลูกไม่น้อย การเปลี่ยนแปลงการจะพรากสิ่งนี้ไปจากลูก ย่อมทำให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกไม่ดีแน่ ๆ เพียงจำไว้ว่าลูกของคุณอาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวเต็มที่
ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือลูกของคุณที่กำลัง หย่านม คุณอาจรู้สึกเศร้าหรือสูญเสียความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปกับลูกของคุณ คุณแม่หลายคนรู้สึกว่าเป็นการผสมผสานระหว่างความคิดถึง และความโล่งใจ ซึ่งอาจทำให้สับสน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในร่างกายของคุณเองในระหว่างกระบวนการ หย่านม นั้นเป็นความคิดที่จะจุดประกายการตอบสนองทางอารมณ์ของแม่ แม่เองก็จะมีปัญหาเต้านมคัดตึง หรืออาการเต้านมอักเสบได้
วิธีให้ลูกเลิกเต้าโดยที่ไม่ให้ทำร้ายใจลูก
1.ควรให้ลูก หย่านม เมื่อพร้อม
คุณแม่ ควรวางแผนการ หย่านมลูก เป็นลำดับขั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการ หย่านม ควรทำเมื่อถึงเวลาที่ทั้งแม่และลูกพร้อม ไม่ควร หย่านมลูก เร็วเกิน ปล่อยให้ลูกมีการปรับตัว พยายามอดทน และเตรียมพร้อมสำหรับความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการหงุดหงิด
2. เปลี่ยนเวลาให้นมลูก
วิธีหย่านม ด้วยวิธีนี้เป็นการหันเหความสนใจ ยืดเวลาให้ลูกปรับตัวไม่กินนมในเวลาเดิม ๆ คล้าย ๆ กับการทำให้มื้อนมห่างเปลี่ยนไปลูกจะได้เรียนรู้การปรับตัวที่จะเลิกนมได้
3.เปลี่ยนจุดให้นมจากเดิม
หากลูกตื่นกลางดึก หากต้องการ หย่านมลูก และหลีกเลี่ยงการขอกินนม ให้ลองนอนแยกเตียง หรือนอนห้องอื่นดู เพื่อไม่ให้ลูกเห็นแม่แล้วอาจจะไม่ร้องกินนม และจะค่อย ๆ เลิกนึกถึงเรื่องการกินนมไปเอง
ดังนั้นการ หย่านมลูก วิธีหย่านม ที่ดีที่สุดคือ ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ค่อย ๆ ให้ลูกได้ปรับตัว และเมื่อถึงช่วงวัย ๆ หนึ่ง พัฒนาการเด็ก ก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนไป เขาจะรู้สึกคุ้นชินกับพฤติกรรมการเลิกกินนมแม่ไปเอง ซึ่งหากเรารีบร้อนจนเกินไป อาจทำให้เขารู้สึกเครียด และเป็นกังวลเมื่อไม่ได้กินนมแม่ได้นั่นเอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกหย่านม ทำอย่างไรให้ได้ผล ? หากลูกติดเต้าไม่ยอมดูดขวด
แม่อุตส่าห์ปั๊มน้ำนมได้ตั้งเยอะ แก้ปัญหา ลูกไม่ยอมกินนมสต๊อก ทำไง
เผยเคล็ดลับ วิธีนวดเปิดท่อ ให้น้ำนมไหลสะดวก มีน้ำนมให้ลูกกิน
ข้อมูลจาก : lifewithmylittles raisingchildren