สิทธิแม่ลาคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 80

คนท้องมีสิทธิอะไรบ้าง? ขณะที่ทำงานสามารถลาไปฝากครรภ์หรือสามารถลาเพราะเหตุของการตั้งครรภ์ได้หรือไม่ ไปดูกันค่ะ!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แค่ท้องก็ได้โดนไล่ออก!  แบบนี้ยุติธรรมหรือไม่?

 

แม่ท้องวัย 28 ปี ผู้ช่วยสัตวแพทย์วิ่งแจ้งตำรวจลงบันทึกประจำวันหลังถูกบังคับให้เซ็นใบลาออกทั้งที่ตนแค่ลาไปฝากครรภ์ และไปตามที่หมอนัด เหตุเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลสัตว์แห่งหนึ่งย่านท่าอิฐ ต.บางรักน้อย อ.เมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 14 ก.ย 64 ที่ผ่านมา

 

 

วันที่ 15 ก.ย. 64 เวลา 18.00 น. ทนายเกียรติคุณ ต้นยาง หรือทนายโป้ง ทนายจากชมรมทนายความจิตอาสา ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ได้รับการร้องเรียนขอความช่วยเหลือจาก น.ส.เพ็ญพิไล บุญเสร็จ วัย 28 ปี เกี่ยวกับเรื่องของการถูกบังคับให้ลาออก เนื่องจากขอหยุดไปฝากครรภ์ และมีอาการแพ้ท้องจนไม่ได้ไปทำงาน 2 วัน โดยคุณเพ็ญพิไลเล่าว่า ตนเองเพิ่งทราบว่าตั้งครรภ์ วันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมาจึงขอลาไปฝากครรภ์ และก็ได้กลับมาทำงานปกติ ถัดมาจนถึงวันที่ 11 ก.ย. เธอรู้สึกไม่สบายตัว และมีอาการแพ้ท้องอย่างหนักจึงได้ขอลาพักอีกเป็นเวลา 2 วัน และกลับมาทำงานในวันที่ 13 ก.ย 64 ทางหมอที่โรงพยาบาลและผู้จัดการโรงพยาบาลที่เป็นสามีภรรยากันได้เรียกเธอเข้าพบและให้เซ็นใบเตือนเกี่ยวกับการลางานของเธอ และเลื่อนการประเมินผ่านงานของเธอออกไป ทั้งที่เธอทำงานมาแล้วมากกว่า 120 วัน เธอจึงได้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน วันถัดมา 14 ก.ย. หมอและผู้จัดการทราบข่าวจึงได้เข้ามาชี้หน้าด่าเธอขณะที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ ก่อนจะขู่บังคับให้เธอเซ็นใบลาออก

 

ทั้งนี้นางสาวเพ็ญพิไล รู้สึกว่าเธอไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเธอได้บอกกล่าว และลางานล่วงหน้าแล้วก่อนที่จะทำการหยุด แต่กลับถูกเลื่อนการประเมินและถูกบังคับให้ลาออกจึงได้เข้าร้องเรียนกับทนายโป้ง ซึ่งทางทนายเองก็ได้แจงเรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 4.3 ที่ห้ามเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุตั้งครรภ์ และ 4.2 ลูกจ้างสามารถเปลี่ยนหน้าที่การทำงานได้ หากมีอาการแพ้ท้องจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งในตอนนี้เธอได้ร้องกับกระทรวงแรงงานแล้วอยู่ในขั้นตอนของการส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม และเข้าสู่กระบวนการต่อไป (ขอบคุณข้อมูลจาก : สยามรัฐ)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การใช้สิทธิลาคลอดมีประโยชน์ต่อคุณอย่างไร?

การลาคลอดเป็นโอกาสที่ดีที่คุณแม่จะได้พักฟื้นหลังจากการตั้งครรภ์ และคลอดลูก และเป็นช่วงเวลาอันมีค่าที่คุณจะได้สร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อย เรียนรู้วิธีการดูแลลูก ช่วงแรก ๆ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะได้ใช้เวลากับลูกน้อยคนใหม่ ดังนั้น จึงควรใช้โอกาสนี้อย่างเต็มที่ อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาดี ๆ เหล่านี้สูญเสียไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สวัสดิการเพื่อแม่ และเด็ก ถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่มีส่วนสร้างความก้าวหน้าของสังคม ตระหนักเห็นความสำคัญของคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งคาบเกี่ยวกับสิทธิแรงงาน โดยส่วนใหญ่สถานที่ทำงานจะมีการสนับสนุนการสร้างครอบครัว หรือ สิทธิแม่ลาคลอด เพื่อให้พนักงานที่กำลังตั้งครรภ์มีการดำเนินชีวิตอย่างปกติ โดยไม่มีเรื่องลูกมาเป็นอุปสรรค  คุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่านเกิดความกังวลใจ เมื่อตนกำลังตั้งครรภ์ หรือ กำลัง วางแผนครอบครัว  เนื่องจากการลาคลอดไม่ใช่ระยะเวลาสั้น ๆ

 

ในปี พ.ศ. 2533 กฎหมายระบุให้ สิทธิแม่ลาคลอด ได้ 60 วัน โดยคุณแม่จะได้ค่าจ้างจากนายจ้างเพียง 30 วัน บางโรงงาน หรือบางบริษัทที่ไม่จ่ายให้ก็มี ส่งผลให้คุณแม่หลายท่านต้องกลับมาทำงาน ทั้งที่ร่างกายยังฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่จากการคลอด หลังจากนั้นกฎหมายมีการปรับเปลี่ยนลาคลอด 90 วัน โดยได้ค่าจ้างเต็มจากเดิม 45 วัน หากตามความเป็นจริงการลาคลอดเพียง 90 วัน อาจไม่เพียงพอสำหรับคุณแม่ เนื่องคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องมีการลาฝากครรภ์ หาหมอ ตรวจสุขภาพฟื้นฟูหลังคลอดบุตร รวมถึงระยะเวลาการให้นมลูกน้อย

บทความที่น่าสนใจ : ลาคลอดเมื่อไหร่ดี? แล้ว กฏหมายคุ้มครองผู้หญิงตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ได้อะไรบ้าง?

 

  • ค่าจ้าง

เริ่มจากจำนวนวันลาคลอดกันก่อนเลย ตามกฎหมายกำหนดสิทธิ์เกี่ยวกับการลาคลอดเอาไว้ว่า ลูกจ้างทุกประเภทที่เป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิ์ลาคลอดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้ โดยแต่เดิม ลูกจ้างหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน แต่ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 98 วัน โดยนับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และยังรวมถึงการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอด ส่วนในเรื่องของค่าจ้างในขณะที่คุณแม่ใช้สิทธิ์ลาคลอดนั้น ตามกฎหมายคุณแม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินจาก 2 ช่องทางหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

 

1. นายจ้าง
ในการลาคลอด 1 ครั้ง คุณแม่จะได้สิทธิ์ในการลาคลอดเป็นจำนวน 98 วัน โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้เป็นจำนวน 45 วัน (ยึดตามกฎหมายเดิมที่ให้ลาคลอดได้ 90 วัน) ส่วนจำนวนวันลาอีก 8 วันที่เพิ่มมานั้น นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลา หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ซึ่งการจ่ายเงินทางนายจ้างจะจ่ายระหว่างลาหรือหลังจากมาทำงานขึ้นอยู่กับตกลงกัน

ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่ได้เงินเดือนอยู่ที่เดือนละ 20,000 บาท ในระหว่างที่คุณแม่ลาคลอด นายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้คุณแม่เป็นจำนวนเท่ากับ 45 วัน หรือ 30,000 บาท (คิดจากค่าจ้าง 30 วัน เท่ากับ 20,000 บาท 15 วัน เท่ากับ 10,000 บาท) อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด คุณแม่สามารถไปร้องเรียนได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด กระทรวงแรงงาน

 

2. ประกันสังคม
นอกจากนี้เงินจากนายจ้างแล้ว คุณแม่ยังมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากทางประกันสังคม โดยทางประกันสังคมจะเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเฉลี่ย 90 วัน (คิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) หรือในกรณีที่คุณแม่ได้เงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ทางสำนักงานประกันสังคมก็จะคิดเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาทเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่มีเงินเดือน 20,000 บาท ก็จะได้เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50% ของเงินเดือน แต่ต้องคิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท  คือ 15,000 x 3 เดือน (90 วัน) x 0.5 เท่ากับ 22,500 บาท แต่ในกรณีที่ 2 นี้ คุณแม่จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ และจะได้รับเงินสงเคราะห์เฉพาะการคลอดบุตรไม่เกิน 2 คนเท่านั้นนะคะ หากเป็นการคลอดบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร

หมายเหตุ : ในกรณีที่คุณแม่มาทำงานก่อนโดยไม่รอให้ครบ 90 วัน ก็ยังคงได้รับ เงินสงเคราะห์บุตร จากประกันสังคมเต็มจำนวน 90 วัน แถมคุณแม่ก็จะได้รับค่าจ้างตามปกติต่างหากในวันที่คุณแม่มาทำงานด้วย

กล่าวโดยสรุปคือคุณแม่ผู้ประกันตนมีสิทธิ์รับเงินค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน และสิทธิ์ลาคลอดจากประกันสังคม 90 วัน หรือถ้าคุณแม่คนไหนฟิตร่างกายกลับมาทำงานได้ไวกว่า 90 วันตามสิทธิ์การลาคลอดแล้ว คุณแม่ยังได้เงินตามวันที่คุณแม่มาทำงานจริงด้วยนะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ค่าคลอดบุตร

สำหรับค่าคลอดบุตรสำหรับผู้ที่ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จะต้องมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน หรือภายใน 15 เดือนก่อนที่จะมีการคลอดบุตร ซึ่งจะใช้สิทธิ์ของสามีหรือภรรยาที่มีสิทธิ์ประกันตนคนใดคนหนึ่งก็ได้ โดยการใช้สิทธิ์ไม่มีการจำกัดจำนวนบุตรต่อครั้ง ถ้าหากเป็นกรณีคลอดบุตรแฝด หรือคลอดบุตรมากกว่า 1 คนต่อหนึ่งครั้งจะต้องยืนสำเนาสูติบัตรของบุตรมาด้วย ซึ่งคุณแม่จะได้สิทธิค่าคลอดบุตร โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • สามารถเบิกค่าคลอดได้ทีหลังจากคลอด หากมีการสำรองจ่ายออกไปก่อน ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลเอกชนหรือรัฐบาล
    • สามารถเบิกเหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์หรือค่าคลอดบุตรได้ เป็นวงเงิน 15,000 บาท ต่อครั้งที่คลอดบุตร
    • สามารถคลอดได้ที่โรงพยาบาลไหนก็ได้

 

  • ค่าตรวจและค่ารับฝากครรภ์

คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถเบิกค่าฝากครรภ์กับประกันสังคมได้ วงเงินรวมทั้งหมด 1,500 บาท โดยจะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

    • จะต้องจ่ายค่าประกันสังคมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนหน้าที่จะมีการใช้สิทธิดังกล่าว
    • การเบิกค่าฝากครรภ์และค่าตรวจนั้น หากสามีและภรรยามีสิทธิประกันสังคม สามารถใช้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการยื่นขอรับเงินก็ได้

ทั้งนี้ คุณแม่สามารถนำหลักฐานเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลในแต่ละครั้ง คือ ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จรับเงิน ไปขอรับประโยชน์ทดแทนส่วนค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ 

บทความที่น่าสนใจ : เลือกโรงพยาบาลก่อนฝากครรภ์ ต้องเลือกอย่างไร? ฝากครรภ์ที่ไหนดี?

 

  • เงินสงเคราะห์บุตร

คุณแม่ที่จะได้สิทธิ์นี้ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 กับ 39 เท่านั้น ซึ่งจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน (3 ปี) ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ โดยคุณแม่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน ทั้งนี้ในกรณีของการมีลูกแฝดจะมีการเหมาจ่ายเดือนละ 1,200 บาทต่อเดือน ซึ่งเงื่อนไขที่จะได้รับเงินคือ

    • ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย คือเป็นลูกแท้ ๆ ของตัวเอง ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
    • บุตรต้องมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
    • หากคุณพ่อ คุณแม่ที่ใช้สิทธิ์เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตายก่อนบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ บุตรยังจะได้รับเงินส่วนนี้จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ โดยประกันสังคมจะจ่ายให้ผู้อุปการะบุตรต่อไป

ทั้งนี้ คุณแม่จะหมดสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์บุตรเมื่อ

    • บุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
    • บุตรเสียชีวิต
    • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
    • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

คุณพ่อคุณแม่ที่มีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการลาคลอด หรือการเบิกจ่ายเงินสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก สำนักงานประกันสังคมของแต่ละพื้นที่ หรือสามารถโทรไปได้ที่เบอร์ 1506 หรือเว็บไซต์ www.sso.go.th ได้นะคะ

 

 

 

บทความที่น่าสนใจ :

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม 2564 ใครมีสิทธิ์ได้รับบ้าง เช็คเลย

คนท้องลาออกจากงาน ยังได้สิทธิค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรอยู่ไหม 

ช่องทางหารายได้ช่วงลาคลอด หาเงินจากไหนดี? สวัสดิการรัฐช่วยอะไรบ้าง?

ที่มา : 12 , 3

บทความโดย

ammy