นี่เหรอ! สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวเล็ก 4 อาหารที่กินมากไปอาจทำให้ลูกโตไม่ทันเพื่อน

มองไปข้าง ๆ ตอนนี้เพื่อนลูกในวัยเดียวที่ไล่ ๆ กันมา กำลังจะเริ่มโตกว่าลูกไปแล้ว หนึ่งใน สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า ที่คุณแม่ควรรู้ไว้ ว่าการให้ลูกกินอาหารบางชนิดอาจชะลอการเจริญเติบโตของลูกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารบางชนิดสามารถชะลอการเจริญเติบโตของลูกของคุณ ถ้าบริโภคมันมากเกินไป อาจเป็น สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวเล็กได้

4 อาหารที่กินมากไปอาจเป็น สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า

#1 อาหาร Junk food

อาหาร Junk food หรือที่เราเรียกอาหารประเภทนี้ว่า อาหารขยะ นี่คือหนึ่งเหตุผลที่คุณแม่ควรตัดอาหารประเภทนี้ออกจากมื้ออาหารของลูก เพราะมันมีคุณค่าทางอาหารน้อยมาก ๆ และไม่ได้มีประโยชน์อื่นใดเลยนอกจากที่จะทำให้ลูกได้อิ่มท้องเท่านั้น แถมยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย ดังนั้นหลีกเลี่ยงที่จะให้ลูกได้กินอาหารขยะหรือจำกัดอาหารประเภทนี้ในปริมาณที่จำกัดกันเถอะค่ะ

#2. น้ำอัดลมหรือน้ำผสมโซดา

น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่อัดแก็สนั้นมีฟอสฟอรัสซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ แต่เมื่อบริโภคในปริมาณมากไปก็อาจส่งผลต่อระดับของแคลเซียม ซึ่งมีการศึกษาพบว่า เด็กที่กินฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากนั้นจะมีความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ต่ำ เด็ก ๆ จำนวนมากที่ทานอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ อย่างเช่น บรรดาน้ำอัดและอาหารขยะนั้น ทำให้พวกเขาได้รับสารอาหารที่ควรจะได้รับอย่างเหมาะสมน้อยลง ดังนั้นควรหยุดให้ลูกกินน้ำอัดลม หันมาดื่มน้ำเปล่า หรือนมที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้ลูกเติบโตสูงขึ้นได้

#3. ข้าว

ข้าวเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่สูงและโปรตีนต่ำ แต่ถ้าในมื้ออาหารของลูกมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่าโปรตีน มันอาจชะลอการเจริญเติบโตของลูกได้ ดังนั้นเพื่อโภชนาการที่ดีควรจัดมื้ออาหารของลูกให้มีความสมดุลกันระหว่างคาร์โบไฮเดรตและเพิ่มปริมาณโปรตีนมากกว่า ซึ่งจะช่วยทำให้เจ้าตัวเล็กมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตสูงวัยได้เต็มความสูงตามธรรมชาติของตัวลูกเอง

#4 น้ำตาล

เด็กที่บริโภคน้ำตาลเป็นจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะเตี้ยกว่าเด็กที่บริโภคอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ เช่นเดียวกันกับคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลจะเพิ่มระดับอินซูลินในร่างกายและขัดขวางไม่ให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยรสหวานมากเกินไป การกินขนมหวาน เบเกอรี่ ไอศกรีม ฯลฯ นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นี่คือรายการอาหารที่คุณแม่ควรต้องระวังถ้าต้องการให้ลูกน้อยนั้นสูงได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาหารการกินนั้นมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายลูกได้มากทีเดียว นอกจากหลีกเลี่ยงการบริโภคที่มากเกินไปในอาหารดังกล่าวแล้ว ควรจัดอาหารให้ลูกได้กินครบหมู่เพื่อให้ได้รับพลังงาน โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี และอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูก กินแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี ที่มีผลต่อการสร้างเสริมกระดูกและมีความสำคัญต่อความสูงของลูกได้เช่นกัน หากลูกขาดสารอาหารเหล่านี้ไปก็ทำให้มีการเจริญเติบโตช้า

นอกจากการรับประทานแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาความสูงของลูก เช่น การได้ออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต การนอนหลับพักผ่อนอย่างสนิทและเพียงพอก็จะทำให้เกิดการหลั่ง Growth hormone เพื่อทำให้ร่างกายลูกเจริญเติบโตตามวัยที่ดีได้อย่างเหมาะสมนะคะ

ลูกตัวเตี้ยกว่าเกณฑ์หรือเติบโตช้าผิดปกติ พ่อแม่สังเกตได้อย่างไร?

แพทย์หญิงนวลผ่อง เหรียญมณี กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโรคต่อมไร้ท่อ เบาหวาน และการเจริญเติบโต ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้เผยว่า…ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กเกิดจากพันธุกรรม ปัจจุบันมีพ่อแม่ผู้ปกครองเข้ามาปรึกษาเรื่องเด็กโตช้าประมาณร้อยละ 10 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพบว่า กว่าร้อยละ 60 เกิดจากพันธุกรรม คือมีพ่อแม่หรือประวัติของปู่ย่าตายายที่ตัวเล็กมาก่อนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นแล้วความผิดปกติจากโรคบางชนิดหรือฮอร์โมนอาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กตัวเตี้ย ได้แก่ ภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น ซึ่งในสองกรณีหลังนี้ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์จึงจะหายเป็นปกติและกลับมาเติบโตสมวัยได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทราบได้อย่างไรว่าเด็กตัวเตี้ยกว่าเกณฑ์หรือเติบโตช้าผิดปกติ

โดยพื้นฐานทั่วไปแล้วเด็กผู้หญิงจะทะยานความสูงหรือโตเร็วเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น อายุเฉลี่ยประมาณ 10 -11 ปี และจะหยุดการเจริญเติบโตที่อายุประมาณ 16 ปี ส่วนเด็กผู้ชายจะช้ากว่าผู้หญิง คือเริ่มทะยานความสูงเมื่อผ่านช่วงวัยรุ่นไประยะหนึ่งแล้ว ประมาณอายุ 12 – 15 ปี และจะหยุดโตเมื่ออายุ 18 ปี หรือในบางคนที่พัฒนาการช้ากว่าเพื่อนอาจจะโตไปได้ถึงอายุประมาณ 20 ปี เราจึงเห็นว่าในช่วงเด็กตอนปลายเข้าสู่วัยรุ่น..ผู้หญิงอาจจะสูงกว่าผู้ชาย แต่หลังจากนั้นอีกพักหนึ่งผู้ชายก็จะแซงหน้า โดยค่าเฉลี่ยความสูงของชายไทยปกติอยู่ที่ 160 – 180 เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงอยู่ที่ 150-170 เซนติเมตร

การประเมินการเจริญเติบโตว่าปกติหรือไม่ สามารถทราบได้จากการวัดส่วนสูง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานการเจริญเติบโตปกติ ถ้าความสูงมีค่าต่ำไปจากมาตรฐานที่ปกติก็ถือว่าเตี้ย หรือ ประเมินจากอัตราการเพิ่มส่วนสูงต่อปีดังต่อไปนี้

อายุ (ปี) อัตราการเพิ่มความสูง / ปี(ซม.)
แรกเกิด- 1 25
1 – 2 10-12
2 – 4 6-8
4 – 10 5

เด็กที่สงสัยว่าจะมีการเจริญเติบโตผิดปกติควรได้รับการ ตรวจ วินิจฉัยโดยแพทย์แต่เนิ่นๆ เนื่องจากบางภาวะสามารถให้รักษาได้และได้ผลดีกว่าหากรักษาตั้งแต่อายุน้อยๆ ไม่ควรรอจนอายุมาก หรือจนมีลักษณะเป็นหนุ่มสาวจึงค่อยมาพบแพทย์เพราะทำให้การรักษาไม่ได้ ผลดีเท่าที่ควร หรือไม่ได้เลย

ฮอร์โมนเจริญเติบโตคืออะไร?

ฮอร์โมนเจริญเติบโต หรือเรียกว่าโกรทฮอร์โมน (growth hormone) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นต่อมเล็กๆ อยู่บริเวณตรงกลางของสมอง ทำหน้าที่ให้เด็กมีการเจริญเติบโตปกติตามวัย และยังมีผลต่อกระบวนการสร้างน้ำตาลในกระแสเลือดด้วย ถ้าต่อมใต้สมองมีความผิดปกติ จะเป็นเหตุให้ต่อมดังกล่าวหยุดผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตหรือผลิตได้น้อยลง และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าและตัวเตี้ย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเติบโต

การตรวจหาระดับฮอร์โมนเติบโตแตกต่างไปจากการเจาะเลือดโดยทั่วๆไป จำเป็นต้องให้ยากินหรือฉีดยา กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเติบโตก่อน ดังนั้นคนไข้ต้องงดอาหารก่อนวันทดสอบ ระหว่างการทดสอบคนไข้ จะอยู่ภายใต้การดูแลของพยาบาลและแพทย์โดยใกล้ชิด

การตรวจความผิดปกติที่เกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

ทำได้โดยเจาะเลือดตรวจหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมนเพียงครั้งเดียว หากพบว่าขาดจริง..การรักษาจะทำโดย การให้ฮอร์โมนทดแทนทางปาก

การรักษาคนไข้ที่มีสาเหตุจากพันธุกรรม

แม้หลีกเลี่ยงสาเหตุหลักไม่ได้ แต่ก็มีปัจจัยที่จะส่งเสริมให้เด็กเติบโตเหนือพันธุกรรมได้ นั่นคือ การรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายดี และเข้านอนเร็ว ซึ่งกลุ่มอาหารหลักที่ขาดไม่ได้เลยคือ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เพราะเป็นสารอาหารที่จะช่วยกระตุ้นการเสริมสร้างฮอร์โมนแบบธรรมชาติในตัวเด็ก นอกจากนี้ก็ต้องได้รับพลังงานหรือแคลอรีที่เพียงพอและเหมาะสมจากคาร์โบไฮเดรต รวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกและแร่ธาตุสังกะสีที่มีข้อมูลว่าช่วยสร้าง growth hormone และมีส่วนทำให้ growth hormone ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น

การรักษาคนไข้ที่ขาดฮอร์โมนเติบโต ทำโดยการฉีดฮอร์โมนเติบโตเข้าใต้ผิวหนัง

คนไข้ที่จะตอบสนองดีต่อการให้การรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนเติบโต คือคนไข้ที่ขาดฮอร์โมนเติบโตจริงๆ หากขาดมากจะตอบสนองดีกว่ารายที่ขาดไม่มาก ดังนั้นก่อนให้ฮอร์โมนเติบโตจึงจำเป็นต้องทำการทดสอบทุกราย

เด็กแต่ละคนนั้นล้วนมีสัดส่วน รูปร่างและความสูงที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะมีรูปร่างกะทัดรัด แต่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกหรือน่ากังวลจนเกินกว่าเหตุ หากพ่อแม่อยากให้ลูกมีพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตที่ดีกว่าปกติ ก็ต้องส่งเสริมเรื่องอาหาร ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย และการนอนหลับให้เพียงพอ เพราะ growth hormone จะถูกผลิตและหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองขณะที่เด็กนอนหลับและเมื่อออกกำลังกายอีกด้วย

 


ขอบคุณข้อมูลจาก :www.thaihealth.or.th

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

กลัวลูกเป็นเด็กเตี้ย ตัวเล็ก โตไม่ทันเพื่อน อยากให้ลูกสูงต้องทำอย่างไร?

กลุ้มใจ! ท้องเล็ก ลูกในครรภ์ตัวเล็กไหม ถ้าลูกน้ำหนักน้อย ทำไงดี?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R