สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป จากปัญหานมแม่มากเกินไป พร้อมวิธีแก้ปัญหา!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นเรื่องปกติค่ะ ที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะเป็นกังวลว่า น้ำนมจะไม่พอ แต่ในขณะเดียวกันก็มีคุณแม่ที่กังวลเรื่อง น้ำนมเยอะ จนเกินความต้องการของลูกน้อยเช่นกัน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเต้านมของคุณแม่ผลิตน้ำนมเยอะเกินไป สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป โดยคุณแม่สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเหล่านี้

 

สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป

  1. คุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำนมเต็มเต้าอย่างรวดเร็ว แม้เพิ่งจะให้ลูกดูดนมไปไม่นาน ทั้งยังรู้ว่านมแข็งเป็นก้อนและรู้สึกเจ็บ
  2. ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้ง่าย เนื่องจากเต้านมคุณแม่ยังคงมีน้ำนมอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าลูกเพิ่งดูดไป จึงเพิ่มโอกาสให้ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้มากกว่า
  3. น้ำนมพุ่งแรงเกินไปจนลูกกลืนไม่ทัน ถ้าลูกถอนปากออกจากเต้านมบ่อยๆ พร้อมกับไอ หรือสำลัก โดยคุณแม่จะสังเกตเห็นว่าน้ำนมพุ่งเป็นสายออกจากหัวนม
  4. ลูกน้อยดูเหมือนจะท้องอืด หรือมีลมในกระเพาะ โดยลูกจะมีอาการหงุดหงิด งอแง ร้องไห้หนัก นอนหลับยาก ยืดแอ่นตัว และงอเข่าขึ้นมาที่หน้าอก
  5. น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป หากแม่มีน้ำนมเยอะเกินไป ลูกมักจะตัวใหญ่กว่าเกณฑ์เฉลี่ย
  6. อึบ่อย ลูกอาจอึระหว่างดูดนม หลังจากดูดนม และระหว่างมื้อนม โดยลักษณะของอึมักจะมีสีเขียวและเป็นฟอง
  7. ฉี่บ่อย ลูกอาจฉี่บ่อยถึง 10 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง
  8. แหวะนมบ่อย อาการแหวะนมอาจเป็นเรื่องปกติของทารก แต่เด็กที่ได้รับนมแม่มากเกินไป มักจะแหวะนมทุกครั้งหลังให้นม

 

 

หากคุณแม่ท่านใดที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำนม ก็เป็นเรื่องที่ดีไป แต่ถ้ามีน้ำนมมากเกินไป คุณจะวิธีรับมือกับปัญหาน้ำนมเยอะเกินความต้องการอย่างไร เพราะสำหรับคุณแม่มือใหม่นั้น ย่อมมีคำถามที่มากมายเกี่ยวกับการให้นมแม่ และเวลาจะหาข้อมูลทีก็ต้องเปิดไปดูตรงนู้นตรงนี้ที ดังนั้นเพื่อให้ทุกคำถามอยู่ในที่เดียวกัน วันนี้เราได้รวบรวมทุกคำถามและคำตอบของการให้นมแม่ไว้ที่แล้วละค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่รู้ไหม??ท่าให้นมท่าไหนสบายทั้งแม่และลูก

 

ตอบคำถามคุณแม่ทำไมถึง น้ำนมเยอะ

เพราะการที่ น้ำนมเยอะ จนเกินไป จะทำให้ลูกกินนมลำบาก เพราะว่าลูกต้องรีบดูดน้ำนมด้วยความแรง จากการที่ร่างกายของคุณผลิตจำนวนมาก ในทางกลับกันร่างกายของคุณจะค่อย ๆ ปรับตัวเพื่อผลิตน้ำนมในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของลูก ซึ่งก่อนที่ร่างกายจะคุณแม่จะเข้าสู่การปรับตัวในการผลิตน้ำนม คุณแม่อาจจะยังต้องรับมือกับปริมาณของน้ำนมที่มียังคงเหลือเฟือ  หนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับกรณีนี้ คือการเก็บรักษาน้ำนมส่วนเกินของคุณไว้  นี่คือทางออกที่ดีที่สุด หากคุณเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว

การทำเช่นนี้ สามารถกระตุ้นร่างกายของคุณ ให้เข้าสู่วิธีของการผลิตนม “ในปริมาณที่ลูกต้องการ” ซึ่งจะนำไปสู่ความสม่ำเสมอ ของการผลิตน้ำนมแม่ ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณมากเกินความต้องการ  เวลาปั๊มนมเก็บ คุณควรปั๊มน้ำนมจากเต้านมทั้งสองข้างจนหมดเกลี้ยงจริง ๆ  น้ำนมจากเต้าสามารถเก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นเพื่อใช้ในวันหลังได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณต้องการให้ร่างกายผลิตน้ำนมน้อยลง คุณควรให้นมลูก จากเต้านมข้างเดียวกัน 2-4 มื้อ ก่อนจะเปลี่ยนข้าง ในระหว่างเวลาที่ให้นมลูก  ให้คุณปั๊มน้ำนมเพียงเล็กน้อยจากเต้านมข้างอีกข้าง เพื่อบรรเทาอาการเต้าคัด  วิธีนี้ จะเห็นว่ามีการผลิตน้ำนมลดลงภายในเวลา 48 ชั่วโมง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำอย่างไรเมื่อนมแม่พุ่งแรงจนลูกสำลักนม

หากคุณมีน้ำนมแม่มากเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการดูดนมของลูก ลองทำตามวิธีต่อไปนี้

1. เปลี่ยนท่าให้นมลูก

  • ท่ากึ่งนอน อุ้มลูกนอนคว่ำบนหน้าอกของคุณแม่ โดยคุณแม่ใช้หมอนหนุนหลังไว้ในท่ากึ่งนอน ท่านี้ช่วยให้ลูกสามารถควบคุมการไหลของน้ำนมได้ดีขึ้น
  • ท่านอนตะแคงเข้าหากัน ให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านล่างประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวแม่ ท่านี้ช่วยให้ลูกน้อยสามารถถอนปากออกจากอกแม่ได้สะดวกเมื่อน้ำนมแม่พุ่งแรง และกลับไปดูดได้ใหม่ ทำให้ลูกสามารถควบคุมการไหลของน้ำนมได้ดีขึ้น

 

2. อุ้มลูกเรอบ่อยขึ้น

ถ้าลูกดูดนมอึกใหญ่ และเข้าๆ ออกๆ จากเต้านมแม่ระหว่างการให้นม อาจทำให้ลมเข้าไปในท้องมากขึ้น ควรอุ้มลูกเรอบ่อยๆ หลังจากที่ลูกดูดนมแต่ละเต้า หรือเมื่อลูกถอนปากออกจากเต้านม เพื่อช่วยในการย่อยนมที่ดูดนมเข้าไปให้ง่ายขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคจับลูกเรอให้ได้ผลชะงัด!!!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น

การให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น ช่วยลดปริมาณนมที่ลูกจะได้รับในแต่ละมื้อ เมื่อปริมาณน้ำนมในเต้านมน้อยลง การไหลของน้ำนมก็จะช้าลง ลูกน้อยก็จะดูดนมได้ง่ายขึ้น

 

4. ปั๊มนมออกก่อนให้ลูกดูดนม

ถ้าวิธีที่กล่าวมาไม่ได้ผล คุณแม่อาจใช้วิธีปั๊มนมออกส่วนหนึ่งก่อนจะให้ลูกน้อยดูดนม เพื่อลดความแรงของน้ำนมที่จะพุ่งใส่ลูกน้อย แต่อย่างไรก็ตาม การปั๊มนมยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมเพิ่ม หากคุณแม่ใช้วิธีนี้ พยายามปั๊มนมในแต่ละครั้งให้น้อยลง จนไม่ต้องปั๊มนมก่อนให้ลูกน้อยดูดเต้าอีกต่อไป

 

 

ข้อดีของการให้นมแม่มีดังนี้

  1. คุณแม่ได้อยู่ใกล้ชิดกันกับลูก : ความสุขของคนเป็นแม่ก็คือ ช่วงเวลาที่ได้อยู่กับลูก ได้จ้องมองตากัน ได้กอด ได้หอม และได้ใกล้ชิดซึ่งกันและกัน และแน่นอน ช่วงเวลาดังกล่าวนี่แหละ ที่จะไม่มีใครสามารถมาแยกความสุขนั้นไปจากเราได้
  2. ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคกระดูกพรุน : จากการค้นคว้าพบว่า คุณแม่ที่ให้นมลูกจะสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกได้ในระหว่างให้นม
  3. ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ : ยิ่งให้นมนาน ยิ่งลดความเสี่ยง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถลดความเสี่ยงได้ทั้งหมดนะคะ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การหมั่นคลำเต้านมตัวเองเป็นประจำกันนะคะ
  4. ช่วยให้มดลูกลับเข้าอู่ไวยิ่งขึ้น : คุณแม่ลองสังเกตสิคะว่า เวลาที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมนั้น จะรู้สึกเจ็บที่ท้องน้อย นั่นแสดงว่า มดลูกกำลังบีบตัวอยู่ ดังนั้นการให้นมแม่จึงช่วยให้มดลูกเข้าอู่ไวยิ่งขึ้น
  5. ช่วยให้น้ำหนักของแม่ลดลง : เพราะการผลิตน้ำนมในแต่ละวันนั้น สามารถลดแคลอรี่ได้มาถึง 300 – 500 กรัมต่อวัน
  6. เป็นการคุมกำเนิดด้วยวิธีการทางธรรมชาติ : มีงานวิจัยที่ศึกษาเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า แม่ที่ให้นมลูกอย่างเดียว โดยไม่ให้น้ำ หรืออาหารเสริมในช่วงหกเดือนแรกนั้น จะช่วยยับยั้งการตกไข่ ทำให้ไม่มีประจำเดือน มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง เมื่อเทียบเท่ากับการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นมากถึง 98 เปอร์เซ็นต์
  7. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย : การให้นมแม่นั้นนอกจากจะมีประโยชน์ตามที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีส่วนช่วยให้คุณแม่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่านมลูก
จริงอยู่ที่ปัญหาน้ำนมเป็นเรื่องที่คิดไม่ตก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของการที่น้ำนมน้อย หรือปัญหาน้ำนมที่มีมากจนเกินไป แต่ถ้ามองในแง่ดีแล้วก็พอที่จะทำให้คุณแม่หายเครียด และช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ค่ะ ทางแก้สำหรับเรื่องนี้มีอยู่แล้ว ขอเพียงคุณแม่อดทนอีกนิดอย่างไรซะก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ!

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

9 ปัญหายอดนิยม กับทางแก้ของแม่ให้นม

7 ข้อกังวลใจของแม่ให้นมลูก

น้ำนมเยอะ ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมแชร์เคล็ดลับในการรับมือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา