5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนดที่ต้องระวัง เช็คด่วนหากเข้าข่ายให้รีบพบแพทย์!!

เชื่อว่าช่วงเวลาในขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอีกหนึ่งช่วงเหตุการณ์ที่คุณแม่ให้ความสำคัญ และเฝ้ารอการออกมาดูโลกของลูกน้อยอย่างใจจดใจจ่อ ถึงแม้จะเป็น 40 สัปดาห์แห่งการรอคอยที่มันจะทำให้คุณแม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปบ้าง แต่เพื่อลูกแล้วแม่ยอม! เพราะไม่มีใครอยากให้ลูกน้อยในท้องต้องมีภาวะเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตามปกติแล้วช่วงเวลาตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์จะมีอายุครรภ์ระหว่าง 37 สัปดาห์ – 40 สัปดาห์จึงจะเป็นวันครบกำหนดคลอด แต่เรื่องที่เป็นกังวลของคุณแม่ยุคใหม่ในปัจจุบันที่มีไลฟ์สไตล์การกินอาหารรสจัด หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงการทำงานจนไม่ได้พักผ่อน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสูง ซึ่งหากทารกคลอดก่อน 37 สัปดาห์ นั่นหมายถึง ภาวะคลอดก่อนกำหนด หากยิ่งคลอดเร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อทารกมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ พัฒนาการช้า สุขภาพไม่แข็งแรง เป็นต้น

การคลอดก่อนกำหนดเกิดได้จากปัจจัยที่หลากหลาย ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์นอกจากคุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลูกในท้องแล้ว สิ่งที่ควรเฝ้าระวังคือสังเกตอาการเตือนจากการเจ็บครรภ์ อันเป็นสัญญาณของการคลอดลูกก่อนกำหนดตามมาได้

 

5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด

#1 อาการบวมและความดันโลหิตสูง

อาการนี้มีโอกาสเกิดเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ท้องที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ที่มีประวัติเป็นโรคดังกล่าวขณะตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณแม่อาจคลอดก่อนกำหนดได้

#2 มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด

มูกเลือดหรือมีสีน้ำตาลปนเลือด หรือมีมูกข้นเป็นก้อนหลุดออกมาทางช่องคลอด ไม่ว่าปริมาณมากหรือน้อย อาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ช่องคลอดอักเสบ ปากมดลูกอับเสบ หรือสาเหตุที่รุนแรงมากขึ้น เช่น รกเกาะต่ำ หรือรกลอกก่อนกำหนด แสดงอาการเปิดของมดลูก อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกในครรภ์มีโอกาสเสียชีวิตได้ เมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นควรรับปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์ทันที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#3 มีอาการน้ำเดิน

น้ำเดิน คือ ภาวะที่เกิดจากแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำ ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมา มักเกิดเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะใกล้คลอด แต่บางกรณีก็อาจเกิดขึ้นนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ เนื่องจากการบีบตัวของมดลูกอย่างรุนแรง หรือเกิดการกระแทกจากอุบัติเหตุ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อทารก เพราะเมื่อถุงน้ำคร่ำรั่ว มีน้ำเดินออกมา เชื้อโรคก็สามารถจะเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทารกและเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นถ้าคุณแม่สังเกตว่ามีน้ำใส ๆ ไหลจากช่องคลอดในปริมาณมากพอสมควร ควรรีบไปพบคุณหมอทันที

Read : น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#4 รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยกว่าปกติ

ตามปกติแล้วลูกในท้องจะเริ่มดิ้นในสัปดาห์ที่ 17 แต่ในท้องแรกคุณแม่อาจจะยังไม่เจอลูกดิ้นจนกระทั่งเลยสัปดาห์ที่ 20 ความรู้สึกว่าลูกดิ้นจึงเป็นเครื่องช่วยประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ คุณแม่ควรสังเกตและนับลูกดิ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 28 จนถึงกำหนดคลอด วิธีการนับลูกดิ้นควรเริ่มนับตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น อย่างน้อย 12 ชั่วโมง หากลูกดิ้นครบ 10 ครั้งใน 4 ชั่วโมง ก็ไม่จำเป็นต้องนับต่อ แต่หากลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 2 ชั่วโมง ให้ลองพัก 1 ชั่วโมง แล้วสังเกตดูอีกหนึ่งครั้ง ถ้าลูกยังไม่ดิ้นตามที่ควรจะเป็นหรือลูกดิ้นน้อยลงมาก ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำวินิจฉัยเพิ่มเติมและตรวจยืนยันความแข็งแรงของทารกในครรภ์

Read : คำถามที่พบบ่อย: ลูกดิ้นกี่ครั้งถึงปกติ? ถ้าลูกดิ้นน้อยลงทำยังไง?

 

#5 อาการท้องแข็งบ่อย

อาการท้องแข็ง คือ การปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว ส่วนท้องแข็งตึงนั้น เป็นภาวะที่มดลูกบีบรัดตัวแข็งเป็นก้อนกลม เมื่อคุณแม่เอามือวางบริเวณหน้าท้อง จะสัมผัสและรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ ขึ้นมา หรือรู้สึกตึงมากที่หน้าท้องเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นวินาที และมีช่วงพักเป็นนาทีเมื่อมดลูกคลายตัว บางรายอาจจะมีอาการท้องแข็งอยู่ประมาณทุก 10 นาที/ครั้ง และเป็นสม่ำเสมออยู่ 4-5 ครั้งได้ ซึ่งหากทิ้งไว้นานจะทำให้ปากมดลูกเปิด เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Read : อาการท้องแข็ง เรื่องน่ากังวลขณะตั้งครรภ์

 

อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับแม่ท้องทุกคนในช่วงที่ใกล้ครบกำหนดคลอด ซึ่งหากคุณแม่มีการดูแลตัวเองดี ใส่ใจในโภชนาการและสุขภาพอนามัย พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนดได้ อาการเหล่านี้เป็นเพียงสัญญาณให้คุณแม่คอยเฝ้าระวังและสังเกตตัวเองให้มากขึ้น ไม่ควรนิ่งนอนใจหากพบปัญหาผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจครรภ์และคำแนะนำในการดูแลครรภ์ที่ถูกต้อง.

ขอบคุณที่มา : www.samitivejhospitals.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ชีวิตในตู้อบของทารกคลอดก่อนกำหนด
แม่รู้ไหม แค่ตรวจเลือดก็รู้ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

บทความโดย

Napatsakorn .R