สัญญาณอันตรายของเด็ก วัยแรกเกิด - 11 ปี ลูกมีอาการแบบนี้ ควรพบแพทย์ด่วน

สัญญาณอันตรายของเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง วิธีเช็กว่าลูกเรามีอาการปกติหรือไม่ ในวัยตั้งแต่แรกเกิด - 11 ปี ลูกต้องมีอาการแบบไหนถึงควรพบแพทย์โดยด่วน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัญญาณอันตรายของเด็ก ส่วนใหญ่แล้วเราสามารถดูได้จาก 4 อย่างด้วยกัน คือ ความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามาารถบอกถึงสุขภาพโดยรวมของเด็กและผู้ใหญ่ได้เล่นกัน แต่อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งบางอย่างคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเหล่านี้

สัญญาณอันตรายของวัยทารก

ทารกจะมีอัตราการเต้นหัวใจและอัตราการหายใจที่สูงกว่าผู้ใหญ่ วิธีสังเกตง่ายๆ เลยว่าทารกมีอาการผิดปกติหรือไม่ให้ดูที่บริเวณหน้าอก เนื่องจากเด็กยังมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อได้ไม่ดีนัก หากคุณแม่เห็นการยืดตัวบริเวณหน้าอกได้ดี แสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจปกติเลือดสามาถไหลผ่านไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างสะดวก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำนั้น แสดงว่าลูกอาจมีสาเหตุจาก ออกซิเจนที่ไม่เพียงพอ อุณหภูมิร่างกายที่ต่ำเกินไป เกิดจากยา หรือปัญหาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ซึ่งจะรู้ได้อย่างไรว่าทารกมีอาการปกติหรือไม่ ดูได้จากสัญญาณชีพ ดังต่อไปนี้

  • อัตราการเต้นของหัวใจ (ทารกแรกเกิดถึง 1 เดือน): 85 ถึง 190 ครั้งต่อนาที เมื่อตื่นนอน
  • อัตราการเต้นของหัวใจ (1 เดือนถึง 1 ปี): 90 ถึง 180 ครั้งต่อนาที เมื่อตื่นนอน
  • อัตราการหายใจ: 30 ถึง 60 ครั้งต่อนาที
  • อุณหภูมิ: 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 37 องศาเซสเซียส
  • ความดันโลหิต ทารกแรกเกิด (96 ชั่วโมงถึง 1 เดือน): 67 ถึง 84, 31 ถึง 45
  • ความดันโลหิต ทารก (1 ถึง 12 เดือน): 72 ถึง 104. 37 ถึง 56

สัญญาณอันตรายของทารก วัยแรกเกิด อัตราการหายใจในเด็ก

สัญญาณอันตรายของเด็กวัยหัดเดิน

สำหรับเด็กวัยหัดเดินที่มีอายุประมาณ 1 ขวบ ไปจนถึง 2 ขวบ นั้น หากพ่อแม่อยากรู้ว่าลูกเรามีอาการปกติหรือไม่ สามารถดูได้จากสัญญาณชีพเหล่านี้

  • อัตราการเต้นของหัวใจ: 98 ถึง 140 ครั้งต่อนาที
  • อัตราการหายใจ: 22 ถึง 37 ครั้งต่อนาที
  • ความดันโลหิต: 86 to 106, 42 ถึง 63
  • อุณหภูมิ: 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 37 องศาเซสเซียส

อัตราการหายใจในเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัญญาณอันตรายของเด็กก่อนวัยเรียน

เมื่อเด็กอายุ 3 ถึง 5 ปี สัญญาณชีพของเด็กก็จะเปลี่ยนไปตามวัย ถ้าพ่อแม่อยากรู้ว่าลูกเรามีอาการปกติหรือไม่ สามารถดูได้จากสัญญาณชีพเหล่านี้

  • อัตราการเต้นของหัวใจ: 80 ถึง 120 ครั้งต่อนาที
  • อัตราการหายใจ: 20 ถึง 28 ครั้งต่อนาที
  • ความดันโลหิต: 89 ถึง 112, 46 ถึง 72
  • อุณหภูมิ: 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 37 องศาเซสเซียส

สัญญาณอันตรายของเด็กวัยเรียน

สำหรับพ่อแม่ที่ลูกอยู่ในช่วง 6 – 11 ปี ให้คอยสังเกตสัญญาณชีพของลูก ดูว่าลูกของเรามีอาการปกติหรือไม่ ซึ่งสามารถบอกได้ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อัตราการเต้นของหัวใจ: 75 ถึง 118 ครั้งต่อนาที
  • อัตราการหายใจ: 18 ถึง 25 ครั้งต่อนาที
  • ความดันโลหิต: 97 ถึง 120, 57 ถึง 80
  • อุณหภูมิ: 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 37 องศาเซสเซียส

สัญญาณอันตรายของเด็ก วัยแรกเกิด – 11 ปี

วัดอุณหภูมิในเด็กควรวัดที่ไหนดี

เคยสงสัยกันไหมว่า เวลาวัดอุณหภูมิเขาวัดกันที่ตรงไหนกันแน่ แล้วตรงไหนให้ผลตรงมากที่สุด เราลองมาดูกัน โดยศูนย์การแพทย์ Sutter Health / California Pacific ได้ออกมาเปิดเผยถึงค่าอุณหภูมิในส่วนต่างๆ ของร่างกายเด็ก ดังนี้

  • รักแร้: มากกว่า 99 องศาฟาเรนไฮต์ (37.2 องศาเซลเซียส)
  • หู (แก้ว): มากกว่า 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ และ 37.5 องศาเซลเซียส หากวัดช่องปาก (สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้การวัดอุณหภูมิในใบหูในเด็ก)
  • ช่องปาก: มากกว่า 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ (37.5 องศาเซลเซียส)
  • ใช้จุก: มากกว่า 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ (37.5 องศาเซลเซียส)
  • ทางทวารหนัก: มากกว่า 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส)

ถ้าเมื่อไหร่ที่ทารกตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ใ้รีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน

ความดันเลือดสูงหรือต่ำในเด็กบอกอะไรได้บ้าง

หากเป็นผู้ใหญ่จะบอกได้ว่าที่ความดันสูงอาจมาจากการสะสมของคอเลสเตอรอลในร่างกาย แต่ในเด็กไม่ใช่แบบนั้น แต่อาจเป็นเพราะการทำงานที่บกพร้องของหัวใจหรือขนาดปอดของเด็กที่เล็กเกินไปนั่นเอง ซึ่งสาเหตุก็มาจาก

  • การเจริญผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด
  • เป็นภาวะที่มีการตีบตันของเส้นเลือดใหญ่
  • ความผิดปกติของไต
  • เนื้องอก

เมื่อเด็กมีความดันสูง อาจทำให้เด็กมีน้ำหนักตัวเกณฑ์เกินได้ แต่ถ้าความดันต่ำจะทำให้ลูกน้อยของคุณกลายเป็นเด็กที่ป่วยง่าย และป่วยบ่อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: healthline

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

วิตามินเสริมสำหรับเด็ก อันตรายวิตามินเสริม อาหารเสริมเกินขนาด พ่อแม่ต้องคิดก่อนให้ลูกกินวิตามินเสริม

ก่อนลูกเข้าอนุบาลต้องรู้อะไรบ้าง ความรู้เบื้องต้นสำหรับเด็กอนุบาลที่พ่อแม่ต้องรู้

ตารางการนอนทารกแรกเกิด – 15 เดือน ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ นอนกี่ครั้งต่อวัน

บทความโดย

Khunsiri