สอนลูกให้มีสัมมาคารวะ การทักทายผู้ใหญ่ต้องทำอย่างไร

สอนลูกให้มีสัมมาคารวะ เวลาที่ให้ลูกยกมือไหว้เหมือนเป็นการบังคับลูก ควรสอนลูกอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สอนลูกให้มีสัมมาคารวะ เวลาที่ให้ลูกยกมือไหว้เหมือนเป็นการบังคับลูก ควรสอนลูกอย่างไร ให้เป็นนิสัยติดตัว เราไปดูวิธีการ สอนลูกให้มีสัมมาคารวะ กันเลยค่ะ

 

5 วิธี สอนลูกให้มีสัมมาคารวะ

สอนลูกให้มีสัมมาคารวะ

  • เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ๆ

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการจะปลูกฝังสิ่งใดให้แก่เด็ก ๆ จะต้องเป็นต้นแบบให้แก่เด็ก ๆ ก่อน โดยเด็ก ๆ จะเริ่มเรียนรู้บทบาททางเพศ มาตรฐานทางศีลธรรมและการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจากตัวแบบ (Role Model) ในครอบครัว โดยมีตัวแบบเป็นตัวอย่าง และให้ข้อมูลแก่เด็ก เพื่อเรียนรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ดังนั้น ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจึงสามารถสร้างขึ้นโดยการเรียนรู้จากบุคคล ในครอบครัว และรวมถึงแนวความคิดค่านิยมของสังคม

  • วางกฎในบ้านร่วมกัน และทำตามกฎของบ้านอย่างเคร่งครัด

การวางกฎในบ้านร่วมกันระหว่างพ่อ แม่ ลูก ถือเป็นการปลูกฝังประชาธิปไตยให้แก่เด็ก ๆ รูปแบบหนึ่ง เพราะเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากแสดงความคิดเห็น ได้เรียนรู้การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง และที่สำคัญ เด็กๆจะได้เรียนรู้การปฏิบัติตามกฎระเบียบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ทำกิจกรรมที่ฝึกสมาธิร่วมกัน

การฝึกสมาธินอกจากจะทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สมองแจ่มใส สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี แล้วยังทำให้เด็กมีสติมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าตนทำอะไร และสิ่งที่ทำจะส่งผลอย่างไร ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ มีความตระหนักในตนเอง และคิดถึงคนอื่นอยู่เสมอ

 

  • ฝึกการใช้เหตุผล

เราทุกคนย่อมมีความสบายใจที่จะทำงาน ทำกิจกรรม หรือใช้ชีวิตร่วมกับคนที่มีเหตุผล มากกว่าคนที่ใช้อารมณ์ เพราะคนที่มีเหตุผลนั้นย่อมมีการกระบวนการคิด วิเคราะห์ที่เป็นระบบ เป็นผู้มีระเบียบในชีวิต และการใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจ ที่จะเลือกการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในสถานการณ์ต่าง ๆ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางจิตใจของบุคคลได้อย่างมีแบบแผน และยังทำให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้

  • ฝึก “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ให้ติดปาก

การที่จะฝึกให้ลูก รู้จัก ขอบคุณ และ ขอโทษ ให้ติดปากนั้น มีข้อดีคือ ลูกจะไม่มีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียน หากมีปัญหาก็รู้จักพูดคำว่า ขอโทษ เพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะวิวาทที่รุนแรง และขอบคุณทุกครั้งที่ได้รับสิ่งของ หรือคำชม เมื่อฝึกตั้งแต่เด็กโตขึ้น เขาก็จะมีคำพูดนี้ที่ติดปากไปจนโต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การทักทายผู้ใหญ่ ให้ลูกไหว้และพูดสวัสดี ควรทำอย่างไร ? 

สอนลูกให้มีสัมมาคารวะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • คุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่าง 

ทักทายและไหว้คนอื่นให้เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่ดีที่พึงกระทำ โดยเริ่มจากคนในครอบครัว ตื่นเช้าเจอหน้ากันพูด “อรุณสวัสดิ์” หรือ “สวัสดีตอนเช้าครับ/ค่ะ”​ พบหน้าผู้ใหญ่หรือบุคคลที่ 3 คุณพ่อคุณแม่ก็ทักทายพูดคำว่า “สวัสดี” และยกมือไหว้ทักทายกันให้เป็นกิจวัตร โดยลูกจะค่อย ๆ ซึมซับกิจวัตรเหล่านี้จนกลายเป็นเรื่องที่ทำกันเป็นปกติของครอบครัวไปโดยที่ไม่ต้องบังคับให้ทำ

 

  • บอกลูกเมื่อต้องไปพบผู้อื่น 

เพื่อให้ลูกรับรู้ว่ากำลังจะไปเจอใครและควรทักทายอย่างไรโดยคุณพ่อคุณแม่อาจให้คำง่าย ๆ เช่น “อยากจากบ้านวันนี้ เดี๋ยวพ่อจะไปคุยงานกับน้าเอแป๊บนึงนะลูก อย่าลืมสวัสดีน้าเอด้วยนะครับ” หรือ “เดี๋ยวคุณยายมาหาที่บ้าน เราจะทักทายคุณยายยังไงดีนะ ?”

 

  • ไม่กดดัน หรือใช้เป็นคำสั่ง 

เพราะเมื่อเราสั่งหรือบังคับ ลูกจะมีแนวโน้มที่จะต่อต้านอยู่แล้วไม่มากก็น้อย บางครั้งการไม่สวัสดี ไม่ไหว้ อาจไม่ได้เกิดจากการไม่อยากสวัสดี ไม่อยากไหว้ แต่อาจเกิดจากการต่อต้าน ‘คำสั่ง’ หรือ ‘การบังคับ’ จากคุณพ่อคุณแม่ก็ได้ครับ ปรับพฤติกรรมเชิงบวก ไม่ว่ากล่าวไม่เมื่อทำ แต่ชมเมื่อทำตาม

 

  • พฤติกรรมที่ดี 

อย่างการสวัสดี เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกเชิงบวก ที่จะปลุกพลังบวกในตัวเราให้แผ่ไปยังลูกว่า “สิ่งนี้ดี ควรทำนะคะ” ซึ่งแน่นอนบางคนทำตามเลย บางคนต้องใช้เวลา และบางเวลาก็ไม่ใช่เวลาที่พร้อมจะทำตามครับ อย่าถือเป็นเรื่องใหญ่แต่ให้ค่อย ๆ สอนกันไปครับ ยังมีพฤติกรรมดีอีกมากมายที่รออยู่ให้เขายอมทำ

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดเชิงลบ 

เช่น ไม่น่ารักเลย หรือเป็นเด็กไม่ดี เป็นต้น ไม่ต้องไปว่าเขา แต่สอนเขาว่าการไหว้ การทักทาย เป็นมารยาททางสังคมที่ดี ที่เราควรสอนให้ลูกรู้ว่า ควรทำ และ น่าทำ

 

  • สร้างความเข้าใจว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ 

บอกสั้น ๆ ง่าย ๆ ตรงไปตรงมาไม่ว่าจะเป็นการสอนให้ “สวัสดี” หรือ “ขอบคุณ” ผ่านกิจวัตร เงื่อนไข กฎเกณฑ์ที่เหมาะสมตามวัยผ่านวินัยเชิงบวกที่ชัดเจน และสม่ำเสมอ ชมเชยเมื่อทำ หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยวาจาหรือร่างกายเมื่อไม่ทำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สอนอย่างไร ให้ลูกน่ารัก และน่าเอ็นดู 

สอนลูกให้มีสัมมาคารวะ

  • สอนให้ลูกใช้คำพูดให้เหมาะสม

เด็กที่ใช้คำพูดที่เหมาะสม ไม่ว่าจะกับเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็ทำให้เขาดูน่ารักขึ้นมามากๆ เลยนะคะ การใช้คำพูดที่เหมาะสมในที่นี้อาจจะรวมถึงการใช้คำหยาบคาย การพูดจาที่แตกต่างกันระหว่างเพื่อนกับผู้ใหญ่ ที่เด็ก ๆ ควรจะถูกสอนให้ใช้อย่างเหมาะสมด้วยค่ะ

 

  • สอนให้ลูกเป็นผู้ฟังที่ดีเมื่ออยู่ในบทสนทนา

การเป็นผู้ฟังที่ดีในที่นี้ไม่ได้จำเป็นต้องตอบบทสนทนาและเออ ออ กับเรื่องทุกเรื่อง และเห็นด้วยกับคู่สนทนาทุกเรื่องนะคะ ในที่นี้หมายถึงการเป็นคนรับฟังที่ดี คิดและเป็นที่ปรึกษาในเรื่องต่างๆ อย่างรอบครอบ อีกทั้งเกี่ยวกับเรื่องการสนทนา เมื่อไหร่ที่คู่สนทนาของเราพูดอยู่ จงสอนลูกเสมอว่า อย่าพูดจาแทรกเด็ดขาด เพราะจะทำให้คู่สนทนาหลุดจากการสนทนานั้น ๆ และอาจจะทำให้เขารำคาญก็ได้ค่ะ เป็นผู้ฟังรับฟังที่ดีก่อน ก่อนที่จะต้องคิดและให้คำปรึกษาที่ดีกลับไปเป็นดีที่สุดค่ะ

 

  • สอนให้ลูกรู้จักแบ่งปันและมีน้ำใจเสมอ

เพราะเด็ก ๆ ต้องอยู่กับคนมากมายบนโลกใบนี้ การมีน้ำใจที่ดีต่อกันเป็นเรื่องที่ดีเสมอ หากลูกยังเด็กๆ อยู่ก็อาจจะสอนเขาให้รู้จักแบ่งขนม ของเล่น ให้กับเพื่อนที่โรงเรียน เวลาเพื่อนยืมของ ก็ให้เพื่อนยืมอย่างจริงใจ ทำแบบนี้เรื่อย ๆ ไปจนโต ก็จะทำให้เขาเป็นมีน้ำใจ และไม่หวงของเป็นเด็กดื้ออีกด้วย

 

  • หากเจอใครยกของหนักต้องรีบเข้าไปช่วย

ยิ่งถ้าเป็นคุณตาคุณยายที่อายุมากแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนเขาเรื่องนี้เลยนะคะ หากเจอคนถือของพลุงพลังมากมายแทบถือไม่ไหว ก็ควรวิ่งไปช่วยเขา หากช่วยได้ เพราะการมีน้ำใจไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร คุณพ่อคุณแม่อาจจะสอนทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างเสียก่อน ให้ลูกรู้ว่าทำไปแล้วเขาจะเป็นยังไง แล้วเราจะรู้สึกยังไง พอเขาเริ่มคิดได้และโตขึ้นมา สิ่งนี้ก็จะถูกปลูกฝังเขาไปเอง

 

  • สอนให้ลูกเข้าใจความแตกต่าง

คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องฝึกให้เขาทำความเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของแต่ละคน โดยเริ่มจากการทำกิจกรรมร่วมกันในบ้าน เช่น การฝึกให้ลูกแสดงความคิดเห็นเรื่องต่าง ๆ หรือให้เขาช่วยแก้ไขปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะการฝึกแบบนี้จะทำให้เขามีทักษะการคิดแก้ปัญหาที่ดี แถมยังทำให้เขารู้จักการยอมรับฟังความคิดเห็น และมองถึงข้อแตกต่างของแต่ละคนที่คิดแตกต่างกันได้อีกด้วย เมื่อโตขึ้นเขาก็จะเริ่มเข้าใจโลกได้มากขึ้น กลายเป็นเด็กที่อ่อนน้อมถ่อมตนขึ้นมาได้เองค่ะ

 

  • สอนให้ลูกเข้าใจตัวเอง

ในที่นี้หมายถึงทั้งด้าน อารมณ์ ความคิด ที่ลูกต้องรับรู้และเข้าใจอารมณ์พื้นฐานของตนเองเสียก่อน รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยวิธีง่าย ๆ เช่น จำลองปัญหาขึ้นมา ลองให้เขาแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และหาคำตอบด้วยตนเอง ถึงจะทำได้ไม่สำเร็จ ก็อยากให้คุณพ่อคุณแม่ชมเชยและให้กำลังใจเขา ซึ่งจะช่วยให้ลูกเกิดความพยายามมากขึ้น และจะจดจำว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ เพื่อนำไปปรับใช้ในอนาคตต่อไปในสังคมอย่างมีความสุข

 

  • สอนให้ลูกพูดจา ครับ/ค่ะ อย่างมีหางเสียง

หากเด็ก ๆ ตัวเล็กน่ารัก พูดจามีคำลงหางเสียงทำให้ไปไหนผู้ใหญ่ก็เอ็นดู แล้วอีกอย่างเขาก็อาจจะชมพ่อ ๆ แม่ ๆ อย่างเราว่าสอนลูกได้น่ารักมากเลยอีกด้วยนะคะ

 

ที่มา : (1),(2)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

พฤติกรรมพื้นฐาน : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

7 วัน 7 กิจกรรม – 60 นาที เรียนรู้ เล่น เลอะ เปิดโลกใบใหม่กว้างกว่าในตำรา

การทักทายผู้ใหญ่ : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong