4 ข้อควรรู้เมื่อสงสัยว่าแพ้อาหาร และวิธีทดสอบที่ถูกต้อง

จากข่าวเรื่องคุณครูสั่งเด็กกราบขอขมาหน้าเสาธงเหตุเกิดเพราะเข้าใจผิดว่าแพ้เต้าหู้ไข่ สาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการแพ้อาหาร หมอขออธิบายความรู้เกี่ยวกับการแพ้อาหาร สรุปเป็นหัวข้อ ในแบบของหมอภูมิแพ้ ดังนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4 ข้อควรรู้เมื่อสงสัยว่า แพ้อาหาร และ วิธีทดสอบการแพ้อาหาร ที่ถูกต้อง

1. “การแพ้อาหาร”แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับ “อาหารเป็นพิษ”

แพ้อาหาร เป็นปฏิกริยาของร่างกายเมื่อได้รับประทานอาหารที่แพ้ ผ่านกลไกภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดอาการในระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่

  • ระบบผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ หรือผื่นแดงทั่วตัว ริมฝีปากบวม
  • ระบบทางเดินหายใจ เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
  • ระบบทางเดินอาหาร เช่น ถ่ายเป็นมูก เลือด ท้องเสีย ปวดมวนท้อง
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำ

โดยอาการอาจเกิดขึ้นเพียงระบบเดียวหรือหลายระบบ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาหารเป็นพิษ เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหาร หรือดื่มน้ำ ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิบางชนิด หรือพิษของเชื้อโรค หรือ สารพิษอื่นๆ ที่ไม่ใช่เชื้อโรค เช่น โลหะหนัก

ข้อแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของ 2 โรคนี้คือ อาหารเป็นพิษเป็นเรื่องที่เกิดจากการปนเปื้อนของอาหาร จึงมักพบผู้ป่วยจำนวนมากมีอาการหลังจากทานอาหารร่วมกัน มากกว่าเกิดขึ้นกับคนใดคนหนึ่ง ยกเว้น มีคนทานอาหารนั้นเพียงคนเดียว ส่วนแพ้อาหารเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล เกิดขึ้นกับเพียงคนใดคนหนึ่งที่ทานอาหารนั้นจากปฏิกริยาของร่างกายผู้ป่วยเอง และไม่ได้เป็นความผิดของผู้ใดนะคะ

2. การแพ้อาหาร อาจเกิดขึ้นเมื่อไรกับใครก็ได้ โดยจำเป็นไม่ต้องมีประวัติเคยแพ้มาก่อน

การแพ้อาหาร เป็นสิ่งที่คาดเดาล่วงหน้าไม่ได้ว่าจะเกิดในการทานอาหารครั้งใด หากผู้ป่วยไม่ได้มีประวัติแพ้อาหารนั้นๆ มาก่อน อาจจะเป็นเพราะว่า ไม่เคยรับประทานอาหารนั้นๆ โดยตรงในปริมาณที่มากพอจะเกิดอาการมาก่อน หรือเคยทานอาหารนั้นแต่ไม่ได้มีอาการแพ้อย่างชัดเจนก็เป็นได้ค่ะ

ดังนั้นการพูดว่า หากไม่เคยมีประวัติแพ้อาหารมาก่อนในอดีตเลย ครั้งนี้ก็ไม่น่าจะมีอาการผิดปกติหรือเจ็บป่วยเพราะแพ้อาหาร ก็ไม่ถูกต้องค่ะ

3. สาเหตุของอาการผื่นแพ้มีได้หลายอย่าง อาหารเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อย

อาการผื่นแพ้ ทั้งแบบ บวมแดงนูน เป็นลมพิษ หรือ เป็นผื่นคันเม็ดเล็กๆ ทั่วตัว เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อย เช่น อาหาร ยา แมลงสัตว์กัดต่อย สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ละอองเกสรต่างๆ หรือแม้แต่การติดเชื้อโรคบางชนิด หรือในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดจากปฏิกริยาในร่างกายตนเอง โดยไม่ได้มีปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกเลยก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การจะทราบว่าอาการแพ้เกิดจากสาเหตุใดนั้น ต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อจะได้ทำการสอบถามประวัติอาการต่างๆ อย่างละเอียด ชนิดของอาหาร ปริมาณ อาการที่เกิดขึ้น และตรวจร่างกายเพื่อหาอาการแสดงของระบบต่างๆ และทำการทดสอบภูมิแพ้ เช่น การทดสอบทางผิวหนัง (skin test) หรือการตรวจเลือดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยชนิดของอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ หรือหากประวัติอาการชัดเจนมากแต่ทดสอบภูมิแพ้แล้วได้ผลเป็นลบ คุณหมออาจจะนัดหมายให้เตรียมตัวมาทำทดสอบปฏิกิริยาการแพ้อาหารโดยการทานอาหารนั้นทีละน้อย เพื่อช่วยยืนยันและวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยมีการแพ้อาหารที่ต้องสงสัยจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นการทดสอบขั้นสุดท้าย พิจารณาทำในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดปฏิกริยารุนแรงจากการทดสอบได้นะคะ

4. การทดสอบเพื่อยืนยันการแพ้ ต้องกระทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การทดสอบการแพ้อาหารด้วยการลองทานอาหารนั้นทีละน้อย (oral challenge test) ต้องกระทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธีทดสอบการแพ้อาหารที่มีมาตรฐาน และทำทดสอบในสถานพยาบาลที่มียาและเครื่องมือช่วยชีวิตเตรียมพร้อม เพื่อจะได้แก้ไขอาการและรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงทีหากมีอาการแพ้เกิดขึ้น โดยวิธีทดสอบการแพ้อาหารจะเริ่มให้ทานอาหารที่สงสัยในปริมาณที่น้อยมาก  และค่อยๆ เพิ่มปริมาณอีกเท่าตัวทุก 15-30 นาที จนกระทั่งถึงปริมาณอาหารมาตรฐานสากลที่ไม่แพ้ ระหว่างการทดสอบ จะมีการบันทึกสัญญาณชีพเป็นระยะๆ  รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ    ในกรณีที่มีการแพ้รุนแรงเกิดขึ้น ก็จะได้รับการฉีดยารักษาเพื่อระงับการแพ้ทันที

เพื่อความปลอดภัยของผู้รับการทดสอบ จึงไม่ควรทดลองทานอาหารที่สงสัยว่าแพ้ โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

วิธีสังเกตเมื่อลูกมีอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง

5 ข้อควรรู้ ก่อนพาลูกไปทำ Skin Test

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา