วิธีเลือกประกันสุขภาพ เลือกแบบไหนดีไม่อยากกังวลใจเรื่องค่าใช้จ่ายในอนาคต เรามาดูกันค่ะ ว่า วิธีเลือกประกันสุขภาพ ให้ครอบครัวนั้นเลือกอย่างไร
วิธีคิดก่อนเลือกซื้อประกัน
- ยอมรับก่อนว่าทุกคนมีโอกาสป่วยได้หมด ไม่ว่าตอนนี้จะแข็งแรงหรือไม่
- ซื้อประกันสุขภาพไว้ ไม่ใช่การแช่งตัวเอง แต่เป็นการโอนความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาออกไปจากตัวเรา
- ลองดูประวัติครอบครัว มีโรคร้ายแรง หรือโรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรมอะไรมั้ย
- ลองดูสวัสดิการที่มีในมือ ทั้งที่นายจ้างมีให้ ประกันสังคมหรืออย่างอื่นที่รัฐบาลให้ว่าเพียงพอมั้ย ถ้าเราเกิดโชคร้ายต้องเจ็บป่วย
- คนที่เป็นฟรีแลนซ์หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ยิ่งต้องเช็คให้หนักว่าเรามีอะไรคุ้มครองอยู่บ้าง
- ดูจากวิถีการดำเนินชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ ว่าเรามีโอกาสป่วยด้วยโรคอะไรบ้าง
- ดูว่าสวัสดิการที่มี เราพึงพอใจ รู้สึกปลอดภัยกับการรักษาที่จะได้รับมั้ยถ้าเกิดป่วย
- ถ้าอยากซื้อประกันสุขภาพเพิ่ม เรามีงบประมาณในการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพเท่าไร
- มองหาประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ ทั้งเรื่องโรคที่เราเสี่ยงและงบของเรา
เลือกซื้อประกันสุขภาพดูจากอะไร
- ค่ารักษาพยาบาลแบบแยกจ่ายหรือเหมาจ่าย
ปกติแล้วประกันสุขภาพจะมีทั้งแบบแยกจ่ายและเหมาจ่าย แยกจ่ายจะจำกัดวงเงินคุ้มครองค่ารักษาแต่ละรายการไว้แน่นอน ถ้าเกินวงเงินผู้เอาประกันจะต้องจ่ายเอง คนจึงนิยมประกันสุขภาพเหมาจ่ายมากกว่าเพราะความคุ้มครองสูงกว่า อุ่นใจมากกว่า เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความสบายใจในการหาหมอเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยและคุ้มกับค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปอย่างแท้จริง ถ้าให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น นายเอ ทำประกันสุขภาพได้หมดจากแมนูไลฟ์ โดยเลือกแบบ Basic Plan ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองแบบเหมาจ่ายอยู่ที่ 250,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นค่าห้อง ค่ายา หรือค่ารักษาพยาบาลก็จะอยู่ในวงเงินนี้ ไม่ต้องแยกเป็นหมวดหมู่ให้จำยุ่งยาก
- เบี้ยประกันและการปรับแต่งความคุ้มครอง
เบี้ยประกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรต้องพิจารณาให้ดี ๆ ว่าเบี้ยประกันแบบไหนที่เราจ่ายไหวหรือพอเหมาะกับรายได้ เพราะคุณคือคนที่รู้ดีที่สุดว่าคุณต้องการอะไร ดังนั้นหากมีประกันสุขภาพที่ปรับแต่งเลือกความคุ้มครองเองได้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ของประกันสุขภาพได้หมด ไม่ใช่เพียงแต่รับความคุ้มครองแบบเหมาจ่ายเพียงอย่างเดียว ลูกค้าสามารถเลือกแบบแผนที่ตอบโจทย์กับตัวเองมากที่สุด ทั้งความคุ้มครองและผลประโยชน์ของประกันชีวิต ค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในต่อคืน
- มองหาประกันที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง
ประกันสุขภาพที่ดีและคุ้มค่าควรจะต้องครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ไม่เว้นแม้กระทั่งหลังจากที่เราออกจากโรงพยาบาลไปแล้วเพราะหลังจากนั้นก็อาจจะต้องมาตามนัดหรือรับยารักษาโรคต่อเนื่องเพิ่มเติม ซึ่งถ้าประกันไม่ครอบคลุมเราก็อาจจะต้องจ่ายเอง อย่างเช่น ถ้าเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งหมด ก็จะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลแบบต่อเนื่องได้อีก 60 วัน เพียงแค่รักษากับคุณหมอท่านเดิม และโรงพยาบาลเดิม
- ช่องทางที่ซื้อง่าย ไม่ต้องเกรงใจใคร
สำหรับคนที่ชอบวางแผนและไม่อยากอึดอัดใจ เพราะถูกยัดเยียดให้ซื้อประกันที่ไม่ต้องการและไม่ทันได้อ่านรายละเอียดทั้งหมด ทางเลือกในการซื้อประกันผ่านออนไลน์ ไม่ต้องผ่านตัวแทน ดูจะเป็นช่องทางที่เหมาะสมและสะดวกใจที่สุด เพราะคุณสามารถดูรายละเอียดความคุ้มครอง ผลประโยชน์ต่าง ๆ เพิ่มเติมได้เองทางออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องเกรงใจตัวแทนหรือญาติมิตร
รูปแบบหรือจุดเด่นระดับความคุ้มครอง
- ผู้ป่วยใน
สำหรับการเจ็บป่วยที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล การเลือกซื้อประกันสุขภาพชนิดนี้ ต้องพิจารณาจากอัตราค่าห้องของโรงพยาบาล ที่คาดว่าหากเจ็บป่วยจะต้องรักษาตัว โดยยิ่งเลือกค่าห้องสูง ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตาม
เหมาะกับใคร : เหมาะกับคนที่ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล หรือ มีสวัสดิการแต่อาจไม่เพียงพอกับความต้องการ
- ผู้ป่วยนอก
สำหรับการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น เป็นหวัด ปวดศีรษะ วงเงินในการรักษาควรพิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ เมื่อไปรักษาในสถานพยาบาลที่ใช้ประจำ
เหมาะกับใคร : เหมาะกับผู้ที่ไม่มีสวัสดิการ หรือเป็นผู้ที่เจ็บป่วยบ่อย
- โรคร้ายแรง
สำหรับความเจ็บป่วยที่ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลสูง ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยโรคมะเร็ง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองแตก หรืออุดตัน
เหมาะกับใคร : เหมาะกับคนสุขภาพโดยรวมไม่ค่อยดี หรือคนที่เริ่มมีอายุแตะเลข 3 ปลาย ๆ หรือ 40 ขึ้น
- อุบัติเหตุ
เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาล ทุพพลภาพ และสูญเสียอวัยวะอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ อย่างฉับพลันจากปัจจัยภายนอกร่างกาย และทำให้เกิดผลที่ผู้เอาประกันมิได้เจตนา หรือ มุ่งหวัง คุ้มครองเฉพาะกรณีเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่คุ้มครองกรณีเป็นโรค
เหมาะกับใคร : เหมาะกับคนที่ทำงานซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น งานที่ต้องเดินทางไกล
- ชดเชยรายได้ (ประกันภัยที่ดูแลระยะยาว)
เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้ทำประกันภัยไม่สามารถทำภารกิจที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตได้ อย่างน้อย 3 ใน 6 อย่างต่อไปนี้ คือ การเปลี่ยนท่าระหว่างนอน และนั่ง การเดิน การแต่งกาย การอาบน้ำ การทานอาหาร ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือมีคำวินิจฉัยจากแพทย์ โดยประกันจะจ่ายเป็นค่าชดเชยทดแทนแบบรายเดือน หรือตามทุนประกันภัยที่ซื้อไว้ และจ่ายต่อเนื่องสูงสุด 24-36 เดือน สำหรับวงเงินชดเชยรายได้
เหมาะกับใคร : เหมาะกับผู้ที่มีครอบครัวต้องเลี้ยงดู หรือมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ
ลูกน้อยมีประกันสุขภาพดีอย่างไร
- ได้ความสบายใจ
ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นหลัก ๆ ที่หลาย ๆ คนมักคิดซื้อประกันสุขภาพให้ลูกเพราะเรื่องนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลว่า ถ้าเกิดลูกป่วยแล้วเราต้องจ่ายค่ารักษาแพง ๆ จะเตรียมเงินจากไหน บางเคสอาจจะถึงขั้นหลายแสนบาทได้ ซึ่งถ้าเรารู้ว่าเราต้องจ่ายค่าเบี้ยปีละเท่านี้ ก็น่าจะเตรียมง่ายกว่า การที่จะต้องมาจ่ายเงินก้อนใหญ่ ๆ ตอนต้องเข้าโรงพยาบาล
- มีโอกาสหายเร็วขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่าพอเรามีประกันสุขภาพให้ลูกแล้ว ก็ไม่ต้องคิดมากเลยว่า ถ้าป่วยจะไปโรงพยาบาลดี หรือ รอให้ดีขึ้นดี ซึ่งบางคนรอให้ดีขึ้นบ้าง หรือไปซื้อยาเองบ้าง ก็กลายเป็นว่ารักษาไม่ถูกจุด แล้วกว่าจะพามาโรงพยาบาลก็อาการหนักแล้ว แบบนี้ก็ทำให้รักษายากขึ้น แถมค่ารักษาก็สูงขึ้นอย่างแน่นอนอีกด้วย แบบนี้อาจจะเรียกง่ายๆว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
- ได้คุ้มครองทุกโรค
ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญมาก ๆ เพราะ การทำประกันสุขภาพตั้งแต่อายุน้อย ๆ ข้อดีก็คือ เราจะไม่มีประวัติการเจ็บป่วยอะไรมาก่อน ดังนั้นเมื่อกรมธรรม์อนุมัติจึงคุ้มครองทุกโรค แต่ใครที่มักมาทำประกันสุขภาพเมื่ออายุมาก ๆ ส่วนใหญ่จะเจอปัญหา เพราะมีประวัติสุขภาพมาก่อนทำประกัน เช่นความดันสูง เบาหวาน หรือเคยเป็นเนื้องอก เป็นต้น ดังนั้นบริษัทประกันก็จะรับประกันยากขึ้น หรืออาจจะต้องถูกเพิ่มเบี้ยหรือถูกยกเว้นการคุ้มครองโรคที่เคยเป็นมาก่อนก็ได้
ทั้งครอบครัวมีประกันสุขภาพดีอย่างไร
- ช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาล
ซึ่งปัจจุบันราคาสูง โดยจะจ่ายตามวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ที่เราเลือก ซึ่งหลัก ๆ จะประกอบไปด้วยค่ารักษาผู้ป่วยหากต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล และจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยนอก แต่ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดของกรมธรรม์แต่ละบริษัท
- ช่วยลดภาระครอบครัว
หากผู้ทำประกันเจ็บป่วย หรือนอนโรงพยาบาล จะช่วยลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย และไม่ทำให้ครอบครัวขาดสภาพคล่องทางการเงิน
- สามารถเพิ่มเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองการประกันที่มีอยู่
หรือเสริมกับ สวัสดิการพื้นฐานของบริษัทที่ทำงานหากเขามีให้แล้วเราก็เลือกทำเพิ่มได้เช่นกัน
โรคที่ต้องเฝ้าระวังตั้งแต่แรกเกิด
- ภาวะติดเชื้อในเด็กแรกเกิด
เนื่องจากเด็กแรกเกิดนั้นยังมีภูมิต้านทานไม่มากพอจึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ โดยมากแล้วปัจจัยที่จะทำให้เด็กติดเชื้อส่วนใหญ่เชื้อจะมาจากแม่โดยเฉพาะแม่ที่มาภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนาน ๆ เพราะเชื้อจากช่องคลอดจะเข้าไปในถุงน้ำคร่ำก่อให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อและเข้าสู่ร่างกายของลูกได้ดังนั้นถ้าแม่มีน้ำเดินก่อนคลอด หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอด โดยเฉพาะถ้ายิ่งแตกก่อนที่จะคลอดนานเท่าไหร่โอกาสติดเชื้อก็ยิ่งมากขึ้น เพราะตัวถุงน้ำคร่ำจะเหมือนกับตัวป้องกันเชื้อโรค ถ้าถุงน้ำคร่ำยิ่งแตกนานก็ยิ่งจะทำให้เข้าเชื้อเข้าไปได้ง่าย ดังนั้นหากคุณแม่ตั้งครรภ์หากปวดท้องหรือมีน้ำเดินก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ให้รีบมาพบแพทย์เลยทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะติดเชื้อในลูกที่เกิดมา
เมื่อเด็กทารกที่คลอดออกมาแล้ว อาจมีการแสดงของการอาการติดเชื้อได้หลายอย่างเช่น กินนมน้อย ซึม หายใจผิดปกติ ตัวซีดหรือบางรายอาจมีอาการชักเกร็ง ดังนั้นหากพ่อแม่เห็นว่าทารกมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพาทารกมาพบแพทย์อย่างรวดเร็ว
- โรคทางเดินหายใจ
เช่นจมูก ปอด เนื่องจากเด็กแรกเกิดที่เพิ่งออกมาจากครรภ์มารดาเป็นช่วงที่เปลี่ยนผ่านจากการอาศัยการดำรงชีวิตด้วยแม่มาเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นการทำงานของปอด หรือระบบหายใจอาจจะไม่เต็มที่นัก เรื่องของทางเดินหายใจจึงเป็นสิ่งที่แพทย์ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
สำหรับเด็กคลอดปกติและอายุครรภ์ครบปัญหาเรื่องการหายใจจะไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไหร่ แต่หากเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรืออายุครรภ์ไม่ถึง 36 สัปดาห์ก็จะต้องเฝ้าระวังเรื่องการทำงานของปอดเป็นพิเศษ
- ภาวะตัวเหลือง
ภาวะตัวเหลืองในเด็กทารกเกิดจาก สารเคมีที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin)เป็นสารสีเหลืองเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดงมีอยู่ในเลือดสูงตับของทารกแรกเกิดที่ยังทำงานไม่สมบูรณ์นั้นไม่สามารถกำจัดไปได้หมด จึงส่งผลให้เด็กเกิดอาการตัวเหลืองซึ่งโดยมากมักจะเกิดกับเด็กทารกในช่วง2 -3 วันแรกของการคลอด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเด็กจะตัวเหลืองไม่เกิน 10 วัน แต่หากเด็กที่ตัวเหลืองมาก ๆ หรือ ตัวเหลืองในวันแรกที่คลอดออกมาและเหลืองขึ้นอย่างรวดเร็ว แพทย์จะเจาะเลือดและติดตามผล ซึ่งในบางรายหากตัวเหลืองมาก ๆ แพทย์จะใช้วิธีการส่องไฟเพื่อรักษาอาการตัวเหลือง
ที่มา : (manulife),(aommoney),(paolohospital)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด วิธีสังเกต และแยกระหว่างปัสสาวะรั่วกับถุงน้ำคร่ำแตก
โรคมะเร็งในเด็ก เป็นได้ตั้งแต่เกิด แม่ท้องต้องดูแลตัวเองให้ดี ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วยเป็นมะเร็ง
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน