วิธีเช็คพัฒนาการลูกวัย 6-9 เดือน ลูกพัฒนาการช้ามีลักษณะอย่างไร เช็คเลย!

วิธีเช็คพัฒนาการลูกวัย 6-9 เดือน ลูกของคุณมีพัฒนาการช้าหรือไม่ พ่อแม่สามารถสังเกตดูพัฒนาการของลูกน้อยได้ตามลักษณะอาการดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเช็คพัฒนาการลูกวัย 6-9 เดือน พัฒนาการทารกที่พ่อแม่ควรรู้

วิธีเช็คพัฒนาการลูกวัย 6-9 เดือน พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของคุณมีพัฒนาการช้าหรือไม่นั้น พ่อแม่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมของทารก ดูว่าลูกมีพัฒนาการในแต่ละวัน ในแต่ละช่วงวัยอย่างไรบ้าง มีอาการที่เข้าข่ายของเด็กที่มีพัฒนาการช้าหรือเปล่า ไม่ร้อง ไม่เล่น ไม่สนใจรอบข้าง สิ่งเหล่านี้จะบอกได้ว่าลูกเรามีพัฒนาการที่ปกติหรือไม่ค่ะ

พัฒนาการช้า มีลักษณะเป็นอย่างไร

เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า คือเด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าลำดับขั้นพัฒนาการตามปกติของช่วงอายุเด็ก การที่ ลูกพัฒนาการช้า อาจเกิดขึ้นในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน เช่น

  • ทักษะด้านการเคลื่อนไหว : กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ เช่น การเดิน และการขีดเขียน
  • ด้านการสื่อสารและภาษา : ทั้งการรับ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเข้าใจ และการแสดงออก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพูด
  • การช่วยเหลือตนเอง : เช่น การเข้าห้องน้ำหรือแต่งตัว
  • ด้านสังคม : เช่น การสบตา และเล่นกับคนอื่น

สาเหตุที่ทำให้ลูกมีพัฒนาการช้า

การที่เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้าเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ได้แก่

  • พันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อและแม่
  • สุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ของแม่ขณะตั้งครรภ์
  • ภาวะการคลอดที่ไม่ราบรื่น
  • สุขภาพของเด็กหลังคลอดและปัจจัยแทรกซ้อนช่วงหลังคลอด
  • การเลี้ยงดูและภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม

วิธีเช็คพัฒนาการลูกวัย 6-9 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยวัย 6 เดือน พัฒนาการช้าหรือไม่ดูได้จาก

  • ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ : พ่อแม่ควรสังเกตเวลาที่เล่นกับลูกดูเวลาลูกเรามีอารมณ์ร่วมไหม เล่นแล้วลูกยิ้มหรือหัวเราะตอบหรือไม่ เช่น ถ้าเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก แล้วลูกไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะเลย อาจเป็นสัญญาณถึงพัฒนาการอารมณ์ล่าช้าได้
  • ไม่โต้ตอบพ่อแม่ : เสียงของพ่อแม่ เป็นเสียงที่ดีที่สุดให้การกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสาร เมื่อย่างเข้า 6 เดือน ลูกจะสามารถแยกแยะเสียงที่คุ้นเลย ถ้าพ่อแม่ลองคุยกับลูกแล้วลูกไม่มีการอ้อแอ้ตอบ หรือเห็นว่าลูกไม่มีการเล่นน้ำลาย าจเป็นสัญญาณถึงพัฒนาการอารมณ์ล่าช้าได้
  • ไม่หยิบข้าวของ : พัฒนาการอีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ช่วงนี้ลูกจะพยายามใช้แขนเอื้อมไปหยิบนู่นหยิบนี่ แต่ถ้าลูกไม่คว้าของ อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าได้
  • ไม่ยอมพลิกคว่ำ : อีกพัฒนาการหนึ่งของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สำคัญคือการพลิกคว่ำ ช่วงนี้ลูกจะเริ่มสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น และจะพยายามไปหาสิ่งที่สนใจ ลูกจะพลิกคว่ำไปมาและพยายามจะคืบไปข้างหน้าหรือข้างหลัง ถ้าลูกยังไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าได้
  • กำมือตลอดเวลา : เมื่อเด็กเกิดมาในหนึ่งเดือนแรก จะกำมือตลอดเวลา และจะเริ่มคลายบ้างช่วง 3-4 เดือน แต่ถ้าลูกอายุ 6 เดือนยังกำมือแน่นตลอดเวลาอยู่ อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการล่าช้าได้

วิธีเช็คพัฒนาการลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยวัย 9 เดือน พัฒนาการช้าหรือไม่ดูได้จาก

  • ไม่ชี้สิ่งรอบข้าง : ช่วงนี้เจ้าตัวน้อยจะสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว และมักจะชี้นิ้วไปในสิ่งที่สนใจ หรือสงสัย แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยไม่ชี้นิ้ว อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการล่าช้า ควรพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
  • ไม่ยอมพูด : เด็ก 9 เดือนจะสามารถพูดพูดได้ 1-2 พยางค์ซ้ำๆ อย่างเช่น ปามา มาม๊า หม่ำหม่ำ ได้ แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยไม่พูด ไม่ส่งเสียง ควรพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
  • ไม่ยอมถือของสลับมือไปมา : เด็ก 9 เดือนจะสามารถใช้มือเล่นได้อย่างอิสระ เปลี่ยนไปมา แต่ถ้าเจ้าตัวน้อย เล่นของเล่นมือเดียว อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กล่าช้าได้
  • ลุกนั่งเองไม่ได้ : เด็ก 9 เดือนจะสามารถนั่งเองได้อย่างมั่นคง แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยยังใช้มือยันพื้นช่วยประครองตัวเองอยู่ อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้า ควรพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตลูกแล้วพบว่าน้องมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

ที่มา: ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคพัฒนาการล่าช้า สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

อารมณ์ของทารกแรกเกิด – 1 ปี พ่อแม่รู้ไหมลูกมีพัฒนาการด้านอารมณ์อย่างไร

วิธีแก้ลูกติดแท็บเล็ต ไม่ให้ลูกสมาธิสั้น ป้องกันพัฒนาการล่าช้า

การนอนของทารก ตารางการนอนของทารกแรกเกิด – 1 ปี ลูกต้องนอนกี่ชั่วโมงต่อวัน

บทความโดย

Khunsiri