วิธีออมเงินให้ลูก เพื่อการศึกษา 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีออมเงินให้ลูก พร้อมรับมือทางการเงินให้กับลูก เพื่อให้ลูกได้มีเงินในการศึกษาในอนาคต พ่อแม่ควรเลือก วิธีออมเงินให้ลูก แบบไหนดี  เราไปดูกันเลยค่ะ

 

วิธีออมเงินเพื่อส่งลูกเรียน 

วิธีออมเงินให้ลูก

วางแผนและตั้งเป้าหมายก่อนออมเงินให้ลูก

การเริ่มต้นออมเงินให้ลูก พ่อแม่จะต้องตั้งเป้าหมายก่อนว่า ภายในกี่ปีจะต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ และเงินก้อนนี้เอาไว้ใช้จ่ายสำหรับเรื่องอะไร เช่น ตั้งเป้าเอาไว้ว่าภายใน 5 ปี จะออมเงินให้ลูกไว้สำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉินในหลักแสนบาท นั่นแปลว่า เราจะต้องออมเงินให้ได้อย่างน้อยเดือนละ 2,000 บาท พอครบ 1 ปี ก็จะมีเงินเก็บ 24,000 บาท และภายใน 5 ปี จะมีเงินเก็บ 120,000 บาท ตามที่ได้ตั้งเป้าเอาไว้ ถึงแม้จะเป็นเพียงหลักแสนต้น ๆ ถ้าบ้านไหนมีกำลังมากกว่านี้จะขยับให้สูงขึ้นแล้วแบ่งไว้ใช้จ่ายในเรื่องอื่นก็ได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การออมโดยฝากออมทรัพย์

เป็นการออมเพื่อรักษาสภาพคล่องไว้ใช้จ่ายจิปาถะต่าง ๆ เช่น ค่าขนม ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเรียนพิเศษ เป็นต้น ถ้าเราไม่อยากให้รายจ่ายตรงนี้เป็นภาระมากเกินไป ควรสร้างวินัยให้ลูกรู้จักการประหยัดเงินเริ่มตั้งแต่ลูกเข้าโรงเรียนประถม รู้คุณค่าของเงินและจัดสรรเงินเองได้ ถ้าจะขอเพิ่มมากกว่านี้ก็ต้องมีเหตุผลที่เพียงพอ จากปกติที่ให้ค่าขนมรายวัน เปลี่ยนมาให้รายสัปดาห์ หรือ จากปกติที่ให้ค่าขนมรายสัปดาห์ เปลี่ยนมาให้รายเดือน

 

  • จดบัญชีว่าใช้ไปกับอะไร 

ถ้าใช้เงินหมดก่อนครบกำหนด 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ก็ต้องมาคุยกันว่าใช้ไปกับอะไร ทำไมเงินถึงไม่พอใช้ แล้วตรวจสอบจากบัญชีที่จดว่าจ่ายไปกับอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ใจแข็งเพื่อฝึกลูก 

การที่ใจแข็งจะทำให้ลูกมีระเบียบวินัยในการออมมากขึ้น ฝึกให้รู้จักเผชิญกับความผิดหวัง เพราะขอเงินแล้วไม่ได้ จะได้รู้วิธีแก้ปัญหาในอนาคต

 

  • อย่าบ่นหรือต่อว่า ว่าลูกใช้เงินไม่เป็น

อย่าบ่นหรือต่อว่า เพราะผู้ปกครองต้องเป็นตัวอย่างให้แก่ลูกเอง หัดให้เขาเจอกับปัญหาในขณะที่เราช่วยบอกวิธีที่ถูกต้องให้น่าจะดีกว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เมื่อลูกโตขึ้น ลองหัดให้ทำงานหาเงินเอง 

เพราะจะทำให้เด็กรู้จักการใช้เงินมากขึ้น รู้ว่ากว่าที่พ่อแม่จะได้เงินมาแต่ละบาทนั้นแลกมาด้วยความยากลำบาก

เมื่อให้ลูกรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองแล้ว ค่าใช้จ่ายของลูกจะนับเป็นค่าใช้จ่ายประจำและชัดเจนของพ่อแม่ พ่อแม่เองจึงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายรายเดือนและสามารถแบ่งไปเพื่อเก็บออมได้อย่างสม่ำเสมอ

 

การออมโดยฝากประจำ 

วิธีออมเงินให้ลูก

เงินฝากประจำเป็นทางเลือกที่พ่อแม่มือใหม่หลายคนเลือกที่จะออมเงินให้ลูก เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและมีความเสี่ยงต่ำ แถมยังช่วยบังคับให้เรามีวินัย เนื่องจากต้องฝากเงินในจำนวนที่เท่ากันเป็นประจำทุกเดือน แนะนำให้ฝากเงินประจำแบบปลอดภาษีดีกว่า เพราะนอกจากจะปลอดภาษีดอกเบี้ยแล้ว ยังให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าฝากประจำอีกด้วย

 

3 ข้อควรรู้ก่อนฝากประจำแบบปลอดภาษี 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เราสามารถมีบัญชีฝากประจำแบบปลอดภาษีได้แค่คนละ 1 บัญชีต่อทุกธนาคาร

หมายความว่า ถ้าเราเปิดบัญชีฝากประจำ 24 เดือน กับธนาคาร A แล้ว จะไม่สามารถเปิดกับธนาคาร B ได้ จนกว่าจะครบกำหนดฝาก หรือทำการปิดบัญชีนั้นก่อนครบกำหนด

 

  • ควรเลือกสาขาหรือวิธีฝากเงินที่สะดวกต่อเรา อย่าเลือกเพียงแค่ดอกเบี้ยสูง

เพราะหลายธนาคารมีข้อกำหนดว่าต้องไปฝากเงินที่สาขาเท่านั้น หรือบางแห่งก็สามารถโอนได้ ข้อนี้ต้องศึกษาให้ดี ๆ ก่อน ถ้าเลือกเพียงเพราะดอกเบี้ยสูงแต่เราไม่สะดวกเดินทาง อยู่ไกลจากบ้านมาก ทั้งค่ารถ ค่าเสียเวลา ก็อาจจะได้ไม่คุ้ม

 

  • ฝากประจำแบบปลอดภาษีเป็นการฝากระยะยาว แนะนำต้องเป็นเงินเย็น

เราอยากให้มั่นใจว่าเงินที่ฝากเข้าบัญชีนี้เป็นเงินเย็นที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ตลอดจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาฝาก เพราะถ้าถอนเงินออกมาก่อน เราเองนี่แหละที่จะไม่ได้รับดอกผลตามที่กำหนดไว้

 

การออมเงินโดยใช้ LTF

วิธีออมเงินให้ลูก

เราใช้ประโยชน์จากข้อกำหนดของ LTF ที่ขายได้เมื่อครบ 5 ปี ทำให้สร้างวินัยการออมเพื่อเป้าหมายระยะปานกลางได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างภาพข้างล่างนี้จะเป็นการจัดระบบการออมเงินเพื่อเป้าหมายทุนการศึกษาของลูก แต่อย่าซื้อเกินสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี คือ 15% ของรายได้พึ่งประเมินแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

 

  • วิธีนี้เราจะได้รับประโยชน์จากกการออม 2 ต่อ คือ
    • ต่อที่ 1 ได้ลดหย่อนภาษี ตามฐานภาษีของเรา
    • ต่อที่ 2 มีเงินเพื่อการศึกษาลูก ในปีที่ครบกำหนดขาย

 

  • ซื้อ LTF ครั้งที่ 1

ขณะที่ลูกอายุ 1 ขวบ เมื่อครบ 5 ปีจึงขายกองทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาขณะที่ลูกอายุ 5 ขวบ

 

  • ซื้อ LTF ครั้งที่ 2

ขณะที่ลูกอายุ 2 ขวบ เมื่อครบ 5 ปีจึงขายกองทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาขณะที่ลูกอายุ 6 ขวบ

 

  • ซื้อและขาย LTF ลักษณะแบบนี้ไปเรื่อย ๆ

 

การออมโดยใช้ประกันชีวิตสะสมทรัพย์

วิธีออมเงินให้ลูก

การใช้วิธีสะสมเงินโดยใช้ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ที่เป็นการออมภาคบังคับเข้ามาช่วยน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยระหว่างการทำประกันถ้าเราจำเป็นต้องการใช้เงินจริง ๆ ก็สามารถกู้ประกันชีวิตของตนเองได้

 

  • วิธีนี้เราจะได้รับประโยชน์จากการออม 3 ต่อ คือ
    • ได้ลดหย่อนภาษี ซึ่งลดหย่อนได้ต่อปีไม่เกิน 100,00 บาท
    • มีเงินเพื่อการศึกษาลูก ถ้าจ่ายครบตามที่กำหนด
    • ได้รับการคุ้มครองชีวิต ถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝัน (อาจจะเสียชีวิตก่อนวันอันควร) จะมีเงินสดส่วนนี้เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูกใช้เป็นค่าเล่าเรียนจนจบการศึกษา

 

  • ตัวอย่าง การออมเงินโดยใช้ประกันชีวิตสะสมทรัพย์

สมมติตอนนี้เด็กหญิงอภินิหารเงินออมอายุ 3 ขวบซึ่งพ่อกับแม่ต้องการเก็บเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาในระดับมัธยมและอุดมศึกษาให้ลูก โดยมีเป้าหมายการออม ดังนี้

    • เงินออมเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูก
    • จำนวนเงินทุนการศึกษา 1 ล้านบาท
    • ต้องการใช้ระยะเวลาเก็บเงิน 10 ปี

จากเป้าหมายข้างต้นทำให้เลือกประกันชีวิตสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาการเก็บเงิน 10 ปี  ซึ่งทำเฉพาะสัญญาหลัก (เน้นที่เป้าหมายเพื่อการศึกษาแต่ไม่เน้นผลตอบแทน) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • บริษัทฯจ่ายเงินปันผล 9 ครั้ง (แล้วแต่บริษัทจะอนุมัติ)
  • เป้าหมายในการเก็บเงิน 1 ล้านบาท (ตามศัพท์ประกันจะเรียกว่า “ทุนประกัน”)
  • เก็บสะสมเงินปีละ 98,630 บาท (ตามศัพท์ประกันจะเรียกว่า “จ่ายเบี้ยประกัน” การคำนวณจะใช้อายุของผู้ปกครองที่จ่ายเงินประกันเข้าโปรแกรมคำนวณเบี้ยประกันจะได้ตัวเลขตามนี้ ถ้าผู้ปกครองอายุมากขึ้นก็จะจ่ายเบี้ยประกันมากขึ้นเช่นกัน)
  • ได้รับการคุ้มครองชีวิตในกรณีที่จากไปก่อนครบกำหนด (โดยได้รับเงินตามทุนประกันที่ทำไว้)

หมายเหตุ การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์มีให้เลือกมากมาย ควรเลือกให้ตรงกับระยะเวลาที่ต้องการใช้เงินและความสามารถในการออมของเราให้มากที่สุด ซึ่งหัวข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างจริงเพื่อประกอบบทความเท่านั้น

 

ซื้อหุ้นกู้

การซื้อหุ้นกู้ในชื่อลูก โดยให้แม่เป็นตัวแทนในการทำนิติกรรม เป็นตัวเลือกการออมเงินให้ลูกที่มั่นคงและปลอดภัยอยู่พอสมควร เพราะเมื่อซื้อหุ้นกู้ เราจะมีฐานะเป็น ‘เจ้าหนี้’ หมายความว่า เราได้ให้เงินกู้กับบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้น ๆ ไป โดยลูกหนี้อย่างบริษัทผู้ออกหุ้นจะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่ได้ตกลงกันไว้ตลอดช่วงอายุของหุ้นกู้ (โดยทั่วไปแล้ว การจ่ายดอกเบี้ยจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง หรือทุก ๆ 6 เดือน) และจะชำระเงินต้นคืนเมื่อถึงวันครบกำหนดอายุของหุ้นกู้ (อายุของหุ้นกู้ มักกำหนดเป็นจำนวนปี ตั้งแต่ 3 ปี, 5 ปี, 7 ปี, 10 ปี) ข้อดีก็คือ ทำให้เรามีแหล่งรายได้ประจำโดยที่เงินต้นของการลงทุนยังคงอยู่ครบ

 

ที่มา : (aommoney),(cottonbaby)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

เลือกโรงเรียนประถมให้ลูก หลักสูตรแบบไหนดี?

วิธีเก็บเงินแบบแม่ญี่ปุ่น เก็บเงินอย่างไรให้เหลือเยอะๆ เคล็ดลับแม่บ้านญี่ปุ่น

ซื้อประกันให้ลูก ที่ไหนดี? ตัวอย่างแผนประกันสุขภาพเด็กปี 2562

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong