แนะนำ 8 วิธีฝึกลูกกินข้าวเอง แบบง่าย ๆ บ้านไหนลูกไม่ยอมกินข้าวต้องลอง !!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับบ้านไหนที่อยากจะให้ลูกน้อยลองกินข้าวด้วยตัวเอง วันนี้ TAP มี 8 วิธีฝึกลูกกินข้าวเอง บ้านไหนลูกไม่ยอมกินข้าวเองต้องลอง ! ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ เพราะเด็ก ๆ เมื่อถึงวัยหนึ่งเข้าจะเริ่มแสดงพฤติกรรมบางอย่าง เป็นไปตามกระบวนการพัฒนาของร่างกาย ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าพวกเขาพร้อมที่จะเริ่มช่วยเหลือตนเองได้แล้ว การหัดให้ลูกได้เรียนรู้การทำอะไรบางอย่างด้วยตัวเอง พ่อแม่ควรเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวง่าย ๆ ก่อน อย่างเช่นการกินข้าวด้วยตนเอง และสำหรับวิธีฝึกลูกกินข้าวเอง นั้นก็ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากเลย มีวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ

 

8 วิธีฝึกลูกกินข้าวเอง

  1. แนะนำคุณพ่อคุณแม่ว่า ให้ลูกน้อยได้ลองจับช้อนของตัวเองดู แต่ก็อย่าปล่อยให้ลูกน้อยกินข้าวเองก่อนนะ คุณพ่อคุณแม่ควรจะมีช้อนอีกคันเพื่อตักอาหารให้ลูกน้อยทานด้วย
  2. ช้อนที่ใช้สำหรับเด็กควรเลือกดูว่ามีขนาดใหญ่เกินไปหรือเปล่า ลูกน้อยจับถนัดมือไหม มีด้านคมที่อาจทำให้ลูกเป็นแผลหรือไม่ถ้าให้ดี มีสีสันสดใสดึงดูดลูกน้อยแค่ไหน เพราะองค์ประกอบพวกนี้จะทำให้เด็กสนใจที่ลองใช้
  3. คุณแม่ลองสาธิตการใช้ และการกินให้ลูกดูก่อน จากนั้นให้ลูกน้อยได้ลองทำตามเพราะเด็กเขาเริ่มที่จะเลียนแบบแล้ว ระหว่างนั้นพ่อแม่ก็กินข้าวไปด้วย เพื่อให้เขาได้เรียนรู้การกินที่ถูกวิธี แต่ไม่ต้องรีบนะคะ ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปให้เขาจับให้ชินก่อนเดี๋ยวก็เป็นเองค่ะ
  4. ลองให้ลูกทำซ้ำ ๆ ตอนแรกคุณพ่อคุณแม่อาจจะลองจับมือลูก ให้ตักและดันช้อนให้เข้าปากเขาไปก่อน ทำวนสลับกับป้อนข้าวเองบ้าง จะได้ไม่เป็นการบังคับมากเกินไป
  5. แบ่งจานอาหารสำหรับให้ลูกตักเอง และจานสำหรับป้อนลูกไว้ เพื่อป้องกันชามกับข้าวลูกคว่ำไปซะก่อน เดี๋ยวลูกน้อยจะอดทานข้าวเอาได้ พอเขาเริ่มทานเองได้ คราวนี้เราก็ไม่ต้องแยกชามอาหารแล้วค่ะ
  6. เริ่มด้วยอาหารทานเล่น Finger Foods เป็นอาหารขนาดพอดีคำที่อ่อนนุ่มซึ่งทานง่ายสำหรับเด็กเล็กที่จะหยิบขึ้นมาทานและเคี้ยวง่ายเหมาะกับเหงือกหรือฟันของพวกเขา หากลูกของคุณแสดงความสนใจในการป้อนอาหารด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มด้วยอาหารทานเล่นที่คุณสามารถใส่ไว้ในมือลูกได้ เช่น ผลไม้เนื้อนุ่มชิ้นเล็ก ๆ หรือผักนิ่ม ๆ ปรุงสุก เช่น แครอทหั่นเป็นแท่ง มันฝรั่งหรือฟักทอง โดยมีเคล็ดลับยอดนิยม คือ ให้วางอาหารสองสามชิ้นไว้ใกล้มือลูกน้อย คุณสามารถเพิ่มได้อีกเมื่อลูกกินหมดแล้วหรือทำหล่น วิธีนี้จะไม่ทำให้อาหารหล่นลงบนพื้นหมดตั้งแต่ตอนเริ่มต้น
  7. ใช้ช้อน ทารกส่วนใหญ่จะใช้ช้อนไม่ได้จนกว่าจะอายุประมาณ 18 เดือนขึ้นไป แต่เป็นความคิดที่ดีที่จะให้ลูกของคุณใช้ช้อนตั้งแต่อายุยังน้อย โดยปกติแล้ว ทารกจะมีสัญญาณให้คุณพ่อคุณแม่ทราบเมื่อต้องการอยากลอง โดยเอื้อมหยิบช้อนตลอดเวลา เคล็ดลับยอดนิยมคือ ให้อาหารลูกด้วยช้อน 1 ช้อนในขณะที่เขาถืออีกช้อนหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก ให้ดูแลลูกของคุณเสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกนั่งและไม่เล่น เพราะอาหารบางชนิด เช่น ถั่วทั้งเมล็ดและอาหารแข็ง เช่น แครอทดิบสับ อาจทำให้เด็กเล็กสำลักได้ และเด็กที่กำลังหัดกินยังไม่ควรทานอาหารเหล่านี้
  8. วิธีจัดการกับความเลอะเทอะและการเล่นอาหาร เพราะการกินและเล่นกับอาหารเลอะเทอะเป็นเรื่องปกติในพัฒนาการของลูกน้อยเมื่อเขาเรียนรู้ที่จะกินอย่างอิสระ หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าทำให้เกิดความยุ่งเหยิง เครียด สามารถมีช่วยให้ง่ายขึ้น เช่น ใส่เอี๊ยม ผ้ากันเปื้อนให้ลูกน้อย, หั่นอาหารเป็นเส้นหรือขนาดเท่านิ้วเพื่อให้หยิบจับกินได้ง่ายขึ้น, ให้ลูกน้อยของคุณกินด้วยมือ, วางแผ่นพลาสติกหรือหนังสือพิมพ์ไว้ใต้เก้าอี้กินข้าวลูก
    นำเก้าอี้สูงออกไปข้างนอกถ้ามีพื้นที่ราบที่ปลอดภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เก้าอี้กินข้าว เลือกอย่างไร ? ให้สะดวก และปลอดภัยต่อลูกน้อย

 

วิธีฝึกลูกกินข้าวเอง พ่อแม่ควรฝึกลูกกินข้าวตอนกี่เดือน

คุณแม่สามารถให้ลูกเริ่มกินข้าวได้ตอนอายุ 6 เดือนขึ้นไป แต่คุณแม่ควรบดข้าวให้ละเอียดเพื่อให้ลูกได้ลองทานดูก่อน ถ้าหากลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือน อาจยังไม่แนะนำให้กินข้าว เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังไม่พร้อมสำหรับการย่อยอาหารในชนิดอื่นนอกจากนม และลูกจะสามารถกินข้าวหยาบ หรือเป็นเม็ดแบบผู้ใหญ่ได้ ในช่วงอายุ 1 ขวบขึ้นไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารเสริมมื้อแรกของแต่ละช่วงวัย

  • เด็ก 6 เดือนขึ้นไป นอกจากนมแม่แล้ว คุณแม่สามารถเริ่มให้กินอาหารเสริม 1 มื้อ เริ่มต้นด้วยข้าว 3 – 4 ช้อนโต๊ะ ไข่แดงครึ่งฟอง สลับ หมู ไก่ กับปลาน้ำจืด ตับบด ผักสุกบด ฟักทอง และเพิ่มปริมาณอาหารขึ้นไปเรื่อย ๆ
  • เด็ก 8 เดือนขึ้นไป ช่วงวัยนี้ต้องเพิ่มปริมาณมื้ออาหารเป็น 2 มื้อ ในช่วงเวลาไหนก็ได้ รวมถึงเพิ่มปริมาณอาหารขึ้นด้วย
  • อายุ 10 เดือน – 1 ปี เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วงอายุ 10 เดือน – 1 ปี จะเริ่มกินอาหาร 3 มื้อแทนนมแม่ นมแม่จะกลายเป็นอาหารเสริม คุณแม่สามารถให้นมลูกในช่วงระหว่างมื้ออาหาร เช่นก่อนมื้อเช้า หลังมื้อเที่ยง หรือก่อนนอน เป็นต้น
  • อายุ 1 ปี ขึ้นไป เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ปี จะสามารถกินอาหารได้เหมือนคนทั่วไป เน้นอาหารที่ไม่แข็งมาก เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ โจ๊ก ข้าวต้ม ราดหน้า เป็นต้น

แนะนำให้คุณแม่ทำอาหารเองมากกว่าซื้อตามท้องตลาด ด้วยเมนูง่าย ๆ ที่สามารถกินกับลูกน้อยได้ เช่น ต้มจืดตำลึงกระดูกหมูกับข้าวต้มหอมมะลิ ในช่วงแรกของการเริ่มฝึกลูกกินข้าวไม่แนะนำให้บดอาหารทุกอย่างเข้าด้วยกัน เพราะเด็กมักมีปัญหาไม่ยอมเคี้ยวข้าว หรือเคี้ยวข้าวไม่เป็น ใช้แค่ตะแกรงบดอาหารก็เพียงพอ

ให้ลูกกินข้าวเองดีอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. ช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึก ให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการหยิบจับช้อน  การตัก การเกร็ง เพื่อให้ลูกน้อยพัฒนาไปอีกขั้นของพัฒนาการ
  2. ฝึกประสาทสัมผัส โดยเฉพาะทางมือ และสายตา เพราะระหว่างที่ลูกน้อยหัดกินข้าวนั้น เขาจะใช้วิธีการสังเกตพร้อม ๆ กับการหยิบจับไปด้วย
  3. การพัฒนาด้านสติปัญญา เพราะลูกน้อยเวลาที่กินข้าวในแต่ละครั้ง เขาจะใช้ความคิด วิเคราะห์ว่าต้องจับยังไง ตักขนาดไหน ทำยังไงให้เข้าปาก ต้องตักขนาดเท่าไหนทั้งหมดนี้จะช่วยให้ลูกน้อยฝึกการคิดมากขึ้น
  4. แก้ปัญหาลูกไม่ยอมทานข้าว พ่อแม่บางบ้านพยายามหาวิธีให้ลูกกินข้าวสารพัด ทำอย่างไรลูกก็ไม่ยอมกินข้าวเองสักที ซึ่งจะเป็นอีกวิธีที่ทำให้ลูกสนุกกับการทานข้าว เขาก็จะไม่เบื่ออาหาร และทานได้เยอะขึ้น

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ จบไปแล้วกับ 8 วิธีฝึกลูกกินข้าวเอง ที่เรานำมาฝากกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมนำเทคนิคดี ๆ เหล่านี้ ไปทดลองใช้กับลูกน้อยดูนะคะ  แต่ก็อย่าเครียดถ้าลูกเรายังทำไม่ได้ ให้เวลาเจ้าตัวเล็กได้ลองฝึกดูหน่อยนะคะ เดี๋ยวลูกก็ทำได้เองในที่สุดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 ช้อนทารก ยี่ห้อไหนดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แนะนำช้อนป้อนข้าวทารก

อาหารเช้าน่ารัก ๆ พิชิตใจลูกน้อยกินข้าวยาก รับรองลูกติดใจ

สูตรอาหารทารก 6 เดือน ถึงวัยที่ต้องให้ลูกรักกินข้าวเป็นหลัก คุณแม่ต้องรู้อะไรบ้าง

ที่มา : raisingchildren

บทความโดย

Khunsiri