วิธีป้องกันลูกจากสารพิษ เมื่อห้ามลูกวัยซนไม่ได้ พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีดูแลลูก!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะการป้องกันอุบัติภัยภายในบ้านของเด็กวัยเตาะแตะ เป็นเรื่องที่พ่อแม่พึงต้องระวังอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันลูกจากอุบัติเหตุ ป้องกันลูกจากสารพิษ หรือ ป้องกันลูกจากการหกล้ม ล้วนแต่เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะบ้านนับเป็นสถานที่แรกของการเรียนรู้ การที่ลูกได้รับสัมผัสที่แฝงไปด้วยความรัก และการดูแลที่ปลอดภัย ที่มาพร้อมความสะดวกสบาย เป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดีเหมาะสมวัยของลูก

 

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องมีการป้องกันพร้อมกับสอนเรื่องความปลอดภัยในบ้านให้กับลูกของคุณ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุบัติเหตุด้านต่าง ๆ ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น เมื่อลูกเผลอหยิบหรือเผลอทานสารเคมี หรือสารพิษเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการ

 

 

อันตรายจากสารเคมีหรือสารพิษ

สารเคมีที่เป็นพิษกับร่างกาย สามารถพบได้มากมายในชีวิตปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ยาฆ่าแมลง และอื่น ๆ ที่ในบางครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ อาจจะเผอเรอลืมวางทิ้งไว้ในที่ ๆ ลูกหลานอาจจะเอื้อมถึง หรืออาจจะวางไว้ดีแล้ว แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก ๆ ก็อาจจะเข้าไปเปิดและหยิบรื้อได้ในที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เชื่อว่าคงไม่มีครอบครัวไหนที่อยากจะพบเจอเหตุการณ์ที่น่ากลัวเหล่านั้นเป็นแน่ และเพื่อเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ครอบครัว วันนี้เราขอนำเสนอวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อลูกหลานเกิดรับประทานสารพิษหรือสารเคมีเข้าไป จะมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้น ไปอ่านบทความพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

อาการจากสารเคมีหรือสารพิษเป็นอย่างไร?

อาการในเบื้องต้น คือ มีผื่นแดงขึ้นตามตัวหรือที่ปาก ปวดศีรษะ มึนงง หนาวสั่น มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน หายใจลำบาก หายใจตื้นและถี่ มีอาการเจ็บหน้าอก และใจสั่นเป็นต้น แต่บางรายที่ได้รับสารพิษในปริมาณที่มากหรือรุนแรง ก็จะมีอาการชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็ง ปัสสาวะและอุจจาระราดโดยไม่รู้ตัว และหมดสติไปในที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำอย่างไรเมื่อลูกหยิบสารเคมีหรือสารพิษเข้าปาก!

ข้อควรสังเกต

หากพบเห็นว่าลูกหลานมีอาการตามที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกคนสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กก่อนว่า ในบริเวณนั้นมีอะไรผิดปกติแปลกไปจากเดิมหรือไม่ รวมไปถึงสังเกตคราบที่ติดอยู่บริเวณเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหรือร่างกายให้ดี ว่ามีรอยหรือคราบอะไรหรือไม่ นอกจากนั้นควรสังเกตกลิ่นของสารพิษ เพราะบางครั้งเราอาจจะได้กลิ่นลมหายใจของผู้ป่วยได้ ทั้งนี้ การสังเกตเบื้องต้นจะช่วยให้เราได้ทราบว่า พวกเขาได้รับสารเคมีหรือสารพิษตัวไหนเข้าไป หากพบว่ามีภาชนะที่บรรจุสารพิษหรือสารเคมีตกอยู่ในบริเวณนั้น ให้รีบหยิบและนำไปให้แพทย์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ควรทราบก่อนว่า สารเคมีหรือสารพิษที่ลูกหลานทานเข้าไปนั้น เป็นสารพิษประเภทใด เพราะการปฐมพยาบาลและการรักษานั้นแตกต่างกันไปตามประเภทของสารพิษ ก่อนที่จะทำให้ลูกหลานอาเจียนออกมา ควรมั่นใจก่อนว่า สารเคมีหรือสารพิษที่พวกเขาได้รับไปนั้น ไม่ได้มีฤทธิ์เป็นกรด มิเช่นนั้น กรดจะทำให้อวัยวะของพวกเขาบอบช้ำและบาดเจ็บมากกว่าเดิม หากมั่นใจแล้วว่า สารเคมีหรือสารพิษที่ว่านั้นไม่ได้มีฤทธิ์เป็นกรด ควรรีบทำให้ลูกหลานอาเจียนออกมาด้วยการล้วงคอ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ หรือให้กลืนไข่ขาวลงไป

 

ป้องกันลูกจากสารพิษ

  • ควรเก็บน้ำยาเคมีภัณฑ์ที่ใช้ภายในบ้านในบริเวณที่ปลอดภัยและพ้นจากมือของเด็ก
  • จัดข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความเป็นระเบียบ เราจะได้รู้ได้ทันทีว่า มีขวดไหนหายไป
  • หลังจากใช้งานแล้ว ให้รีบเก็บเข้าที่ทันที อย่าคิดว่า เดี๋ยวค่อยเก็บ เพราะบางทีเราอาจจะลืมได้
  • อย่าเทสารพิษในขวดหรือภาชนะอื่น โดยเฉพาะในขวดน้ำอัดลม เพราะเด็กอาจจะเห็นแล้วกระหายและรีบเทเข้าปาก
  • อย่าวางสารพิษไว้ใกล้อาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น บนโต๊ะอาหาร ในตู้กับข้าว เพราะเมื่อดูไม่เป็นอันตรายเด็กอาจจะหยิบเข้าปากในขณะที่เผลอได้
  • หากบังเอิญเด็กได้สัมผัสหรือทานสารพิษเข้าไปควรรีบนำส่งโรงพยาบาล ทั้งนี้หากต้องการทราบวิธีการดูแลหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถโทรสอบถามได้ที่ศูนย์พิษวิทยา เช่น ของโรงพยาบาลรามาธิบดี โทร 1376 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • หากสงสัยว่าเด็กได้ทานสารพิษเข้าไปไม่ควรรีบล้วงคอหรือทำให้อาเจียนโดยมิได้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน เนื่องจากสารพิษบางอย่างหากทำเช่นนั้นอาจเป็นอันตรายมากกว่าเดิมได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้านปกป้องลูกวัยซน

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเตาะแตะอันเป็นช่วงหัดเดินและรักการสำรวจโลกของลูก จะต้องระมัดระวังการเกิดอุบัติภัยต่าง ๆ ในบ้านเป็นพิเศษ เนื่องจากลูกเริ่มเดินได้เองจึงสามารถเคลื่อนที่ไปหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้โดยบางครั้งผู้ใหญ่ไม่ทราบจนอาจเกิดอันตรายจากการสัมผัสสารพิษ สำลักสิ่งแปลกปลอม หรือพลัดตกหกล้มได้ง่าย เรามาดูกันนะคะว่าคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในบ้านได้อย่างไร

 

 

1.วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้านการสำลักสิ่งแปลกปลอม

เด็กวัยเตาะแตะสามารถเดินไปหยิบสิ่งของต่าง ๆ ได้เองและชอบหยิบของเข้าปาก หากนำสิ่งของชิ้นเล็กเช่นเหรียญบาท ลูกปัด เมล็ดถั่ว เข้าปากแล้ว จะทำให้เกิดอันตรายจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมและเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ จนขาดอากาศหายใจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การป้องกันทำได้โดย

  • สอนเด็กไม่ให้นำสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารเข้าปากโดยเด็ดขาด
  • ไม่ให้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปีเล่นของเล่นชิ้นเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3.17 cm และความยาวน้อยกว่า 5.71 cm
  • ไม่ให้เด็กเล่นของเล่นที่มีโอกาสแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้
  • ผู้ดูแลเด็กทุกคนควรได้เรียนรู้และฝึกฝนการช่วยชีวิตเด็กที่สำลักสิ่งแปลกปลอมและเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ

 

2.วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้านการพลัดตกหกล้ม

เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังเดินได้ไม่คล่อง และไม่มีความระมัดระวัง จึงอาจเกิดอันตรายจากการพลัดตกหกล้มในบ้านได้บ่อย เช่น ตกบันได พลัดตกจากการปีนเครื่องใช้ในบ้าน เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง

การป้องกันทำได้โดย

  • ไม่ให้เด็กเดินขึ้นลงบันไดโดยลำพัง
  • ทำประตูกั้นที่เด็กเปิดไม่ได้ ไว้ที่ทางขึ้น ลงบันได
  • ติดตั้งบันไดที่ซี่ราวบันไดไม่ห่างเกินไปจนเด็กรอดออกมาได้
  • เฝ้าดูเด็กไม่ให้เดินไปในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายและไม่ให้เด็กปีนป่ายสิ่งของเครื่องใช้

 

 

รู้กันไปแล้วถึงวิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแลเด็กทุกคนควรช่วยกันสอดส่องเฝ้าระวังเด็กไม่ให้คลาดสายตาแม้แต่เพียงระยะเวลาไม่กี่นาที เพราะอุบัติภัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดกับเด็กวัยเตาะแตะนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของตัวเด็ก ร่วมกับความประมาทของผู้เลี้ยงดูค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

หยุดเปรียบเทียบลูก ถ้าไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กดื้อต่อต้าน-ขี้อิจฉา

โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น กับ 5 อาการที่เกิดบ่อยของลูกวัยซน

ที่มา : 1