วิธีบรรเทาความเจ็บปวดขณะคลอด

การคลอดลูก เป็นช่วงเวลามหัศจรรย์ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดของผู้เป็นแม่ ความเจ็บปวดที่ว่าเกิดจากอะไรและจะบรรเทาลงได้อย่างไรบ้าง มาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความนี้เรียบเรียงจากงานของ Amila Weerasinghe และ Channa Gunasekara จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัย Sri Jayewardenepura ในประเทศศรีลังกา ที่เขียนให้ความรู้เรื่องอาการปวดท้องคลอดและวิธีบรรเทาความเจ็บปวดขณะคลอดที่ใช้ในปัจจุบัน

ความเจ็บปวดขณะคลอดเกิดขึ้นได้อย่างไร

ความเจ็บปวดขณะคลอดแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

  1. อาการปวดท้องในระยะเตรียมคลอด เกิดจากมดลูกบีบตัว ทำให้ขาดเลือดหล่อเลี้ยงในมดลูก
  2. ความรู้สึกเจ็บในช่วงคลอดลูก เกิดจากเนื้อเยื่อฝีเย็บขยายตัวเพื่อเปิดทางให้ทารกแทรกตัวออกมา

สาเหตุความเจ็บปวด

คุณแม่จะรู้สึกไม่สบายตัวเนื่องจากภายในร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ได้แก่

–  ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis)

–  ฮอร์โมน catecholamine

–  อัตราการเต้นหัวใจสูง

–  ความดันเลือดสูง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

–  เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจและมดลูกลดลง

วิธีบรรเทาความเจ็บปวดขณะคลอด

ปัจจุบันนี้ วิทยาการทางการแพทย์พัฒนาไปมาก อัตราเสี่ยงจากการคลอดไม่ได้สูงมากเหมือนในอดีต และยังมีวิธีช่วยคุณแม่บรรเทาความเจ็บปวดหลายวิธี

  • แบบไม่พึ่งยา

คุณแม่ที่อยากคลอดโดยวิธีธรรมชาติแท้ ๆ ควรเตรียมพร้อมร่างกายและจิตใจเพื่อเผชิญกับความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้น เช่น ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการคลอด ฝึกผ่อนลมหายใจเข้าออกเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด คิดถึงเรื่องดี ๆ ให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย หรือจะนวดผ่อนคลายก็ได้

  • แบบพึ่งยา

–  ฉีดยาแก้ปวด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฉีดยาแก้ปวด pethidine ทุก 4-6 ชั่วโมง และยาแก้อาเจียน promethazine

อาการข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม หายใจช้าลง

(ถ้าฉีดมอร์ฟีนจะมีอาการข้างเคียงมากขึ้น)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

–  ดมยา

ยาชาที่ใช้ คือ แก๊สไนตรัสออกไซด์ผสมออกซิเจน ในรูป entonox

ข้อดี : ใช้เวลาเตรียมการน้อย (1-2 นาที) ออกฤทธิ์เร็ว (2-8 นาที) เริ่มให้ดมยาเมื่อมดลูกเริ่มบีบตัวแล้ว

ข้อเสีย :  ไม่เหมาะกับการยืดเวลาคลอด เพราะภาวะหายใจเร็วจะทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดน้อย อาจส่งผลให้ทารกขาดออกซิเจนได้

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบ แบบไหนดีกว่ากัน

 

–  บล็อกหลัง แบบ epidural anaesthesia

เป็นการฉีดยาชาเข้าไปช่องเหนือไขสันหลัง ทำให้ค่อย ๆ รู้สึกชาบริเวณร่างกายช่วงล่าง

ข้อควรระวัง : ห้ามใช้กับผู้มีปัญหาเลือดจับตัวเป็นลิ่ม มีภาวะติดเชื้อ ร่างกายเสียน้ำหรือเลือดมาก

อาการข้างเคียง : ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

–  บล็อกหลัง แบบ spinal anaesthesia

เป็นการฉีดยาชาเข้าไปในช่องไขสันหลัง ทำให้รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว

ข้อจำกัด : ควรใช้ช่วงใกล้คลอดแล้ว เพราะยาชามีฤทธิ์ไม่นานนัก และฉีดซ้ำไม่ได้

สิ่งที่แม่มักบ่นเกี่ยวกับการบล็อกหลัง

 

แม้จะลำบากขนาดไหน แม่ก็ยินดีอดทนเพื่อลูกได้เสมอ จริงไหมคะ ดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนค่ะ

ที่มา : slideshare.net

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไขข้อข้องใจ 6 เรื่องที่คนท้องกังวลเกี่ยวกับการคลอด

ผลวิจัยชี้ กินอาหารรองท้องก่อนเข้าห้องคลอดช่วยเพิ่มพลังเบ่งลูก