กระตุ้นให้ลูกดิ้น กระตุ้นลูกน้อยในครรภ์ ให้ขยับตัวดุ๊กดิ๊ก ทำอย่างไรได้บ้าง

การดิ้นของลูกสำคัญอย่างไร ลูกดิ้นบ่อย หรือลูกดิ้นน้อย ผิดปกติไหม วิธีทำให้ลูกดิ้น กระตุ้นลูกน้อยในครรภ์ ให้ขยับตัวดุ๊กดิ๊ก ทำได้อย่างไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การดิ้นของลูกสำคัญอย่างไร ลูกดิ้นบ่อย หรือลูกดิ้นน้อย ผิดปกติไหม วิธี กระตุ้นให้ลูกดิ้น ให้ขยับตัวดุ๊กดิ๊ก ทำได้อย่างไรบ้าง

 

วิธีทำให้ลูกดิ้น กระตุ้นลูกน้อยในครรภ์

เวลาที่คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง ก็มักทำให้เกิดความกังวล กลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับลูกในท้อง หรือบางครั้งเวลาที่มีคนมาเยี่ยม จากที่เคยดิ้นบ่อย ๆ เจ้าตัวน้อยในท้องก็กลับดิ้นน้อยลงเสียอย่างนั้น หากวันไหนที่ลูกดิ้นน้อยลง เรามี วิธีทำให้ลูกดิ้น แบบง่าย ๆ มาฝาก

 

การดิ้นของลูกสำคัญอย่างไร

การดิ้นของลูกในครรภ์ เป็นการตรวจสุขภาพของลูกในครรภ์อย่างหนึ่ง และสามารถบอกได้ว่า ทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ คุณแม่ทุกคนจึงต้องนับลูกดิ้นให้ถูกต้องเพื่อคอยตรวจสอบสุขภาพของลูกน้อยที่กำลังเจิญเติบโตอยู่ในท้อง คุณแม่จะสังเกตพบการดิ้นของลูกเมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16-18 สัปดาห์ โดยในช่วงแรกนั้น อาจจะรับรู้ถึงการดิ้นของลูกได้ไม่ชัดนัก แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น คุณแม่ก็จะรู้สึกว่าลูกดิ้นได้ชัดเจนขึ้น

 

วิธีกระตุ้นให้ทารกดิ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีทำให้ลูกดิ้น

  1. ขยับตัว เปลี่ยนท่าทางหรือท่านอน ลองการนอนหงาย หรือนอนคว่ำสักครู่ จะช่วยกระตุ้นให้ลูกดิ้น
  2. กินของหวาน ๆ แล้วรอสัก 2 – 3 นาที
  3. นวดเบา ๆ หรือลูบท้องเบา ๆวิธีนี้นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้ลูกดิ้นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของลูกในครรภ์อีกด้วย
  4. ดื่มน้ำเย็น ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกตื่น
  5. ใช้ไฟฉายส่องที่หน้าท้องเพื่อกระตุ้นให้ลูกดิ้น การใช้ไฟฉายส่องยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารกในครรภ์ได้ด้วย

 

ลูกดิ้นบ่อย หรือลูกดิ้นน้อย ผิดปกติไหม

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการดิ้นของทารกในครรภ์ไว้ว่า ในกรณีที่ทารกดิ้นมากกว่าปกติ บ่อยขึ้น แรงขึ้น ทางการแพทย์ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ในทางตรงกันข้าม หากลูกดิ้นน้อยลง หรือลูกไม่ดิ้นเลย แบบนี้ถือเป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องต้องกังวล ซึ่งการที่ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น อาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่

 

  • ลูกในท้องเปลี่ยนท่า อาจเปลี่ยนเป็นท่าก้นเป็นส่วนนำ ซึ่งจะทำให้คุณแม่รับรู้ถึงการดิ้นของลูกได้มากขึ้น
  • ลูกในท้องขาดออกซิเจน โดยมักจะพบได้ในคุณแม่ที่ครรภ์เสี่ยงสูง ที่มีโรคทางอายุรกรรมหรือสูติศาสตร์ เช่น เบาหวาน ทารกเติบโตช้าในครรภ์
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ลูกในครรภ์จะมีพื้นที่ให้ขยับตัวได้น้อยลง จึงส่งผลให้ความแรงของการดิ้นลดลง เราจึงเน้นจำนวนครั้งเป็นสำคัญ ไม่เน้นความแรงของการดิ้น

 

หากลูกในท้องดิ้นลดลง จนไม่ถึง 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือนับการดิ้นของลูกในระยะเวลา 1 ชั่วโมงหลังกินข้าวเช้า กลางวัน และเย็นแล้วไม่ถึง 10 ครั้ง ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกไม่ดิ้น อันตรายมากน้อยแค่ไหน ?

การที่ทารก นั่นก็คือ ทารกยังแข็งแรงปกติ ซึ่งในช่วงต่าง ๆ ของอายุครรภ์ สัปดาห์ที่ 16 – 20 เป็นต้นไป แต่หากลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเป็นระยะเวลานาน ติดต่อกันหลายวัน อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น คุณแม่มีความเครียด อาจเกิดจากการทำงาน หรือเรื่องส่วนตัว ทำให้ออกซิเจนส่งไปยังทารกไม่เพียงพอ ปล่อยทิ้งไว้นาน ทารกอาจสียชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธี นับลูกดิ้น แจกทริค นับอย่างไรถึงจะถูกต้อง และปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

 

หากลูกไม่ดิ้น คุณแม่สามารถกระตุ้นได้อย่างไร

ปกติแล้วคุณหมอจะให้คุณแม่ สังเกตลูกน้อยตลอดวัน ตั้งแต่เริ่มตื่นนอน หลังกินข้าวเสร็จ หรือกินน้ำเยอะ ๆ รพหว่างนอน หรือขณะที่คุณแม่พลิกตัวไปมา ซึ่งหากลูกดิ้นน้อยลง ให้คุณแม่เริ่มจากกินอาหารรสหวาน แล้วรอสัก 2 – 3 นาที ดูว่าลูกมีอาการมากน้อยแค่ไหน คุณแม่อาจจะเปิดเพลง ดื่มน้ำเย็นจัด ๆ หรือลองกดท้องเบา ๆ เปลี่ยนท่านอน เพราะบางครั้งการที่ลูกไม่ดิ้น อาจเป็นเพราะลูกนอนหลับอยู่ หากลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ภายใน 2 ชั่วโมง ลองทำอีกครั้ง และหากไม่ดิ้น คุณแม่เริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกจากช่องคลอด แนะนำให้รีบไปพบแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องห้ามกินน้ำเย็น จริงหรือไม่ ?

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาหารคนท้อง 7 อย่าง ที่ควรกินตอนตั้งครรภ์

ท้องแข็งแบบต่างๆ แยกอย่างไร แบบไหนลูกโก่งตัว แบบไหนมดลูกบีบ แบบไหนใกล้คลอด

วิธีนับลูกดิ้น นับอย่างไร ถึงจะรู้ว่าลูกปลอดภัย ไม่เสียชีวิตในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul