วิธีตวงยาน้ำ และอุปกรณ์ตวงยาน้ำ ตวงยาลดไข้ของลูก แก้อาการลูกเป็นไข้ ตวงยาน้ำอย่างไรให้พอดี

ลูกเป็นไข้ ตวงยาน้ำอย่างไร อุปกรณ์ตวงยาน้ำมีอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีตวงยาน้ำ และอุปกรณ์ตวงยาน้ำ

เพจ Napat Family : บ้านแห่งความรู้สำหรับครอบครัว แนะนำ วิธีตวงยาน้ำ เพื่อเป็นความรู้ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองว่า

 

ลูกมีไข้ตวงยาอย่างไรดี

วันนี้ครูองุ่นจำลองการตวงยาลดไข้ของลูกมาให้นะคะ ครูองุ่นเป็นพยาบาลนะคะ ไม่ใช่เภสัชค่ะ แต่จากประสบการณ์ทำงานบนหอผู้ป่วยเด็ก พบว่า ผู้ปกครองเด็กๆ มักยังเข้าใจผิด เรื่องการป้อนยาลูก โดยเฉพาะยาลดไข้ ทำให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงสูง ที่จะได้รับยาผิดขนาด

บางคนได้น้อยไป บางคนได้มากไป ถึงขั้น ได้รับยาเกินขนาด ที่มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Drug Overdose

ไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม ถือว่า ไม่ดีทั้งคู่นะคะ ครูองุ่น ก็เลย สรุปง่ายๆ เกี่ยวกับ ปริมาณยา และการตวงยาคร่าว ๆ มาให้ นะคะ

 

ผลกระทบของการกินยาพาราเซตามอลเกินขนาด

ยาพาราเซตามอล เป็นยาลดไข้ที่ดีที่สุดที่มีการใช้ในปัจจุบัน แต่ที่ต้องเตือนเพราะมีปัญหาเป็นพิษต่อตับได้และทุกวันนี้ก็เห็นว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทุกปีนะคะ

สาเหตุก็คงเป็นเพราะใช้กันมาก และทุกคนก็คงคิดว่า คงไม่เป็นไร ก็แค่ยาพาราเซตามอล (อันที่จริงไม่ใช่นะคะ ยาทุกอย่าง มีทั้งคุณและโทษ ต้องใช้ให้พอเหมาะ และถูกต้อง นะคะ)

และล่าสุดมีรายงานว่าเกิดปัญหาในเด็กจำนวนมากทั้งเจตนา และอุบัติเหตุกินเกินขนาด กว่า 1 พันคนต่อปี อายุน้อยสุด 1 ขวบ เพราะพ่อแม่ให้ยาลดไข้พาราฯ เกินขนาด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีตวงยาน้ำและอุปกรณ์ตวงยาน้ำ

อาการ

การกินยาพาราเซตามอลเกิน จะไม่เห็นอาการในเร็ววันนะคะ จะเห็นก็ต่อเมื่อระยะอันตราย เป็นตับอักเสบ ตับแข็ง และก่อให้เกิดมะเร็งตับแล้วค่ะ (คนก็เลยชะล่าใจค่ะ คิดว่า ไม่เห็นเป็นอะไรเลยทำไปเรื่อยๆ)

ฟังแล้วทุกคนเศร้าใจไหมคะ ครูองุ่นสงสารเด็ก ๆ ค่ะ ไม่อยากให้เด็ก ๆ สะสมยาเกินขนาดนะคะ เลยขอแชร์ความรู้เบื้องต้น เรื่องการใช้ยาพาราเซตามอลนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อทุกคนรู้ถึงความสำคัญของการตวงยาแล้วว่าสำคัญมากขนาดไหน

เรามาเรียนรู้วิธีการตวงยาง่าย ๆ เพื่อให้ลูกปลอดภัย ไม่ได้รับผลเสียจากยา เกินความจำเป็น ดีกว่านะคะ

หน่วยตวงสำหรับยาน้ำที่พบบ่อยๆ คือ

  • 1 ช้อนชา (มาตรฐาน) เท่ากับ 5 ซีซี หรือ 5 มิลลิลิตร
  • 1 ช้อนโต๊ะ (มาตรฐาน)เท่ากับ 15 ซีซี หรือ 15 มิลลิลิตร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตัวอย่างวิธีการตวงยา

1 ช้อนชา = 5 ซีซี (ตวงยาให้เต็มขอบบนของช้อน)

3/4 ช้อนชา = 3.75 ซีซี (ตวงยาเลยขีดกลางของช้อนชาแต่ไม่เต็มช้อน)

1/2 ช้อนชา= 2.5 ซีซี (ตวงยาแค่ขีดกลางขอช้อน)

1/3 ช้อนชา = 1.7 ซีซี (ตวงยาต่ำกว่าขีดกลางของช้อนชาเล็กน้อย)

1/4 ช้อนชา = 1.25 ซีซี (ตวงยาต่ำกว่าขีดกลางของช้อนชาครึ่งหนึ่ง)

หลอดดูดยา = อุปกรณ์สำหรับตวงยาที่มีปริมาณน้อย ๆ

กระบอกฉีดยาพลาสติกที่ไม่มีเข็ม ก็ใช้ได้นะคะ (ใช้ง่ายดีมากๆค่ะ และตวงได้ค่อนข้างแม่นยำนะคะ)

ส่วนตัวครูองุ่นชอบใช้ กระบอกฉีดยาพลาสติกค่ะ มีขีดบอกใช้ง่ายด้วยค่ะ

ถ้าจะใช้ช้อนตวง ครูองุ่นจะเลือกช้อนชา ที่ได้มากับกล่องยานั้นๆนะคะ (จะได้มาตฐานนะคะ)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งที่ต้องระวัง

ระวังอย่าให้ยาลูกผิดเกินขนาดนะคะ อย่าสับสนระหว่าง ช้อนชา กับ ช้อนโต๊ะ เพราะปริมาณต่างกันมาก ๆ ค่ะ

1 ช้อนโต๊ะ = ตั้ง 15 ซีซี หรือ 15 มิลลิลิตร เลยทีเดีย (ในขณะที่ 1 ช้อนชา มีแค่ 5 ซีซี มากกว่าถึง 3 เท่าเลย)

พ่อแม่อย่าสับสนนะคะ ย้ำค่ะ คนละอันกัน

 

เมื่อไหร่ต้องไปหาหมอ?

1)ถ้าเช็ดตัวลูกเอาไม่อยู่ กินยาก็จะเกินกำหนดปลอดภัยแล้ว แถมไม่ดีขึ้นเลย

(แค่ไข้เกิน 2 วัน ก็ควรไปหาหมอเร่งด่วนนะคะ)

2)มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน ผื่นขึ้น ปวดท้อง ปวดหัว

3)ลูกซึมลง ไม่กินข้าว กินนม

อุปกรณ์ตวงยาน้ำ

หลังจากที่ทราบวิธีตวงยาน้ำแล้ว มาดูอุปกรณ์ตวงยาน้ำกันบ้างนะคะ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตวงยาน้ำ

  1. ช้อนชา เราควรใช้ช้อนชาที่ได้จากสถานพยาบาล ซึ่งเป็นช้อนชาที่ได้มาตรฐาน และไม่ควรนำช้อนชาที่ใช้ในครัวเรือนมาตวงยาเพราะจะทำให้ได้ปริมาตรที่ไม่ตรงตามความจริง เนื่องจากมียาบางตัวที่ต้องตวงให้ได้ปริมาณที่แน่นอน ถ้าไม่อย่างนั้นจะทำให้ได้รับยาเกินขนาดและเป็นอันตรายได้ หรือถ้าได้รับยาน้อยกว่าที่ควรจะได้รับจะทำให้การรักษาไม่ได้ผล ซึ่ง 1 ช้อนชา มีปริมาตรเท่ากับ 5 มิลลิลิตร หรือ 5 ซีซี ตวงยาให้เต็มขอบบนของช้อนชาพอดี ครึ่งช้อนชา มีปริมาณเท่ากับ 2.5 มิลลิลิตร หรือ 2.5 ซีซีตวงยาแค่ขีดกลางของช้อนชาพอดี
  2. ช้อนโต๊ะ ช้อนโต๊ะมาตรฐานมีปริมาตรเท่ากับ 15 ซีซี หรือ 15 มิลลิลิตร และไม่ควรนำช้อนโต๊ะสำหรับรับประทานอาหารมาตวงยาเนื่องจากปริมาตรที่ได้อาจจะไม่ตรงตามมาตรฐานและเกิดความผิดพลาดในเรื่องของปริมาณตัวยาที่ผู้ป่วยควรได้รับถ้าไม่มีช้อนโต๊ะมาตรฐานให้ใช้ถ้วยตวงตวงถึงขีด 15 มิลลิลิตร
  3. ถ้วยตวงยา จะมีขีดปริมาตรบอกที่ข้างถ้วยซึ่งชนิดของถ้วยตวงยาจะมีทั้งแบบที่มีขีดบอกเป็นหน่วยมิลลิลิตร หรือบางชนิดจะบอกเป็นหน่วยช้อนชาและช้อนโต๊ะด้วยดังรูป
  4. กระบอกฉีดยาพลาสติกที่ไม่มีเข็ม ( Syringe ) เป็นอุปกรณ์สำหรับตวงยาที่ใช้ป้อนยาเด็กได้ง่าย และตวงได้ค่อนข้างแม่นยำ มี 3ขนาดคือ 3 มิลลิลิตร 5 มิลลิลิตร และ 10 มิลลิลิตร
  5. หลอดหยด เป็นอุปกรณ์สำหรับตวงยาที่มีปริมาณน้อยๆส่วนใหญ่จะมีขีดปริมาตรบอกที่หลอดไม่เกิน 1 มิลลิลิตร

นอกจากจะต้องศึกษาเรื่องวิธีตวงยาน้ำ และอุปกรณ์ตวงยาน้ำแล้ว พ่อแม่ยังต้องใส่ใจปริมาณยา หากได้รับมากเกินไป ร่างกายของลูกก็จะแย่ หากได้รับน้อยเกินไป ลูกก็จะไม่หายขาดนะคะ

 

 

ที่มา : Napat Family : บ้านแห่งความรู้สำหรับครอบครัว และ https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แพ็คเกจวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ราคาฉีดวัคซีนโรงพยาบาลชั้นนำ กรุงเทพฯ

ลูกกินยาปฏิชีวนะ โดยที่แม่ซื้อให้กินเอง อันตราย! ทารก เด็กเล็ก ป่วยต้องหาหมอ อย่าซื้อยาปฏิชีวนะให้ลูกกินเอง

แชร์ประสบการณ์ลูกแพ้ยาลดไข้จนปากบวม

ตารางอาหารทารกขวบปีแรก ลูกน้อยในแต่ละวัยควรกินอะไร เท่าไหร่ ถึงจะพอดี?

 

บทความโดย

Tulya