เรื่องน้ำหนักตัวนั้น น้ำหนักคนท้อง เป็นเรื่องที่คุณแม่หลายท่านเกิดความสงสัยและคิดกันไปเองว่า น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นนั้น จะทำให้ลูกที่อยู่ในครรภ์แข็งแรง คุณแม่บางท่านมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ถึง 20 – 30 กิโลกรัม หรือบางท่านมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นกว่า 2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ในขณะที่คุณแม่บางท่านก็มีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ และมีน้ำหนักตัวลดลง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้างความกังวลให้กับแม่ท้องอย่างมาก เรามาดูกันว่า น้ำหนักตัวคนท้อง แต่ละเดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโลกรัมถึงจะดี
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร?
การที่น้ำหนักคุณแม่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ป็นสัญญาณว่าทารกกำลังเติบโตและได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของลูกโดยตรง ทั้งยังช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอหลังคลอด หากคุณแม่มีน้ำหนักน้อยเกินไป อาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบ ลูกตัวเล็กกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยบ่อย หรือมีพัฒนาการล่าช้าได้
ที่สำคัญ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากทารกในครรภ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอื่น ๆ ของร่างกายคุณแม่ด้วย โดยเฉลี่ยแล้ว น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ดังนี้
-
ทารกในครรภ์: ประมาณ 3,200 กรัม
-
รก: ประมาณ 670 กรัม
-
มดลูก: ประมาณ 1,120 กรัม
-
น้ำคร่ำ: ประมาณ 896 กรัม
Loading...You got lucky! We have no ad to show to you! -
ปริมาณเลือดและสารน้ำที่เพิ่มขึ้น: ประมาณ 1,344 กรัม
-
เต้านม: ประมาณ 448 กรัม
-
น้ำนอกเซลล์ (น้ำที่สะสมในเนื้อเยื่อ): ประมาณ 3,200 กรัม
-
ไขมันสะสม (เพื่อใช้เป็นพลังงานหลังคลอด): ประมาณ 3,500 กรัม
Loading...You got lucky! We have no ad to show to you!
วิธีคำนวณ น้ำหนักตัวคนท้อง ช่วงไหนขึ้นเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสม
ว่ากันว่าคุณแม่ทุกท่านควรมีน้ำหนักขึ้นประมาณ 10 กิโลกรัม แต่จริงๆแล้วน้ำหนักของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้น จะขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยคำนวณจาก น้ำหนัก(เป็นกิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง(เป็นเมตร)ยกกำลังสอง
หลังจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางที่ 1 ด้านล่าง เช่น คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ระหว่าง 18.5-24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5-16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
น้ำหนักตัวคนท้อง แต่ละไตรมาส ควรเพิ่มเท่าไหร่?
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์
(ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์) |
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด | น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงในไตรมาสแรก | น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม |
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์(<18.5) | 12.5-18กิโลกรัม | 2.3 กิโลกรัม | 0.5 กิโลกรัม |
น้ำหนักปกติ (18.5-24.9) | 11.5-16 กิโลกรัม | 1.6 กิโลกรัม | 0.4 กิโลกรัม |
น้ำหนักตัวเกิน (25-29.9) | 7-11.5 กิโลกรัม | 0.9 กิโลกรัม | 0.3 กิโลกรัม |
อ้วน (≥30) | 5-9 กิโลกรัม | – | 0.2กิโลกรัม |
คำแนะนำเรื่องโภชนาการสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ตามค่า BMI
-
หากคุณแม่มี BMI ต่ำกว่า 18.5
ควรเน้นรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผัก ผลไม้ และข้าว เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทารก และเพิ่มน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ควรรับประทานมากกว่าช่วงก่อนตั้งครรภ์ -
หากคุณแม่มี BMI ตั้งแต่ 25.0 ขึ้นไป
แนะนำให้ควบคุมน้ำหนักโดยลดการรับประทานอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว เผือก มัน พืชหัว น้ำตาล หรือก๋วยเตี๋ยว และหันมาเน้นโปรตีนคุณภาพดีร่วมกับผักหลากหลายชนิด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และปัญหาระหว่างคลอด
น้ำหนักตัวไม่ขึ้นเลยในสามเดือนแรกมีอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่?
อาหารที่แม่ท้องได้รับในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นั้น ไม่สำคัญเท่าในช่วงกลางและช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ แม่ท้องส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเมื่อตั้งครรภ์ได้ 4-8 สัปดาห์ และอาการจะหายไปเมื่อ 14-16 สัปดาห์ หลังจากนั้นคุณแม่ก็จะรับประทานอาหารได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ท้องยังไม่ควรวิตกกังวลไป หากน้ำหนักตัวยังไม่เพิ่มในช่วง 3 เดือนแรก
หรือหากคุณแม่ท้องมีน้ำหนักตัวลดลง ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และรับประทานให้บ่อยครั้งขึ้น แต่ถ้า 4 เดือนไปแล้ว น้ำหนักตัวคนท้อง ไม่เพิ่มขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ จะดีที่สุด
น้ำหนักตัวคนท้อง เพิ่มขึ้นมากเกินไป อันตรายอย่างไร?
คุณแม่ที่มี น้ำหนักตัวคนท้อง เพิ่มขึ้นมากเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดนั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อทั้งคุณแม่ และลูกในท้อง โดยปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นนั้นได้แก่
- โรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- ครรภเป็นพิษ
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการผ่าคลอด
- ลูกมีโอกาสเสี่ยงเกิดการคลอดติดไหล่
- เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
- โรคอ้วน
อาหารประเภทไหนที่ควรควบคุมตอนท้อง?
คำตอบก็คืออาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน โดยหากว่าคุณแม่ชอบทานอาหารทอด หรืออาหารที่มีกะทิแล้วละก็ อาหารประเภทนี้ถ้าหากคุณแม่รับประทานมากเกินไป อาจไปสะสมที่ตัวคุณแม่จนทำให้อ้วน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้
การจัดการเกี่ยวกับ น้ำหนักตัวคนท้อง เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก หากคุณแม่มีความเชื่อ มีทัศนคติที่ดี และมีแรงจูงใจ แต่นอกเหนือจากนั้นแล้ว หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์นะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
5 วิธีสื่อสารกับลูกในท้อง แม่จ๋ามีอะไรจะบอกหนูไหม
ลูกดิ้นตอนเช้า หมายความว่าอะไร เป็นเพราะลูกหิวหรือเปล่า
ท้องแข็งถี่ อันตรายไหม ห้ามทำอะไร เมื่อมีอาการท้องแข็ง
ขอบคุณที่มา ผศ.ดร.ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง , thaihealth.or.th , โรงพยาบาลนครธน