วิธีการเพิ่มไอคิวลูก กระตุ้นความคิดให้ลูกฉลาด

พ่อแม่จะช่วยเพิ่มไอคิวของลูกได้ยังไงบ้าง เรามีคำแนะนำ วิธีการเพิ่มไอคิวลูก ช่วยกระตุ้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เพราะไอคิวนั้นเพิ่มได้ เสริมได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการเพิ่มไอคิวลูก

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนล้วนแล้วแต่อยากให้ลูกฉลาด และมีพรสวรรค์ ซึ่งหากว่าลูกน้อยมีค่าไอคิว (Intelligence Quotient หรือ IQ) ซึ่งสามารถใช้ทำนายความสำเร็จหรือล้มเหลวในทางวิชาการและวิชาชีพได้ ย่อมเป็นความภาคภูมิใจ และความสุขของคุณพ่อคุณแม่ ที่ได้เห็นลูกตัวเองฉลาด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงยินดีทำทุกอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าลูกของตัวเองจะมีค่าไอคิวสูง ๆ ไม่ว่าจะจัดหาหนังสือสารพัดสิ่งอย่างมาให้ลูกได้อ่าน ส่งให้เข้าเรียนโรงเรียนดี ๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วคุณพ่อคุณแม่จะช่วยเพิ่มไอคิวของลูกได้ยังไงบ้างนะ? นี่เป็นคำถามที่เราอยากช่วยตอบเหลือเกินด้วยคำแนะนำต่อไปนี้ วิธีการเพิ่มไอคิวลูก จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย

8 วิธีการเพิ่มไอคิวลูก กระตุ้นความคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาให้เด็ก

1. อ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอน

การอ่านนิทานให้ลูกฟัง แม้ตอนลูกยังเล็กมาก จะเป็นการช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางด้านภาษา การแสดงสีหน้าและน้ำเสียงที่ลูกจะเลียนแบบคุณ อีกทั้งการอ่านนิทานให้ลูกฟังจะช่วยให้ลูกรักการอ่าน และช่วยให้ลูกเรียนภาษาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ใช้การแสดงสีหน้า และเข้าใจเรื่องการใช้เสียงได้เร็วขึ้น

2. รีบให้ลูกได้รู้จักดนตรีและจังหวะ

เป็นที่รู้กันว่า ดนตรีสามารถเพิ่มความสามารถทางการคิดให้กับคนเราได้ เนื่องจากดนตรีกระตุ้นปลายประสาทสมองได้ ดังนั้นจึงมีผู้แนะนำว่า คุณแม่ควรฟังเพลงตั้งแต่ช่วงตั้งท้องเพื่อช่วยกระตุ้นสมองของทารกในท้อง เช่นเดียวกัน เด็ก ๆ ที่ได้ฟังเพลงและจังหวะต่าง ๆ มีแนวโน้มที่ปลายประสาทสมองจะได้รับการพัฒนาเมื่อโตขึ้นด้วย

3. ให้ลูกได้รู้จักกับกีฬา เกม และกิจกรรมออกกำลังกายทั้งหลาย

กิจกรรมที่ต้องออกแรงทั้งหลาย เช่น กีฬาและกิจกรรมกลางแจ้ง จะช่วยให้ลูกได้รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายผ่านเลือดสดใหม่ที่ได้รับการสูบฉีดมาจากกิจกรรมเหล่านี้ เลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนจะช่วยให้เด็กคิดได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มสมาธิ และเพิ่มพลังสมองได้

4. เล่นหมากรุกหรือเกมที่ต้องใช้สมอง

หมากรุก เป็นเกมที่เรารู้กันดีว่าช่วยกระตุ้นให้สมองได้ใช้สมาธิ วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไข  ดังนั้นการเล่นหมากรุกกับลูกเป็นครั้งคราวสามารถช่วยเพิ่มพลังสมองของลูกได้ นอกจากนี้ กิจกรรมใช้สมองอย่างเช่น ปริศนาอักษรไขว้ ก็ช่วยบริหารสมองได้เช่นกัน หากสมองกระฉับกระเฉงตลอด ความสามารถของสมองในการประมวลข้อมูลต่าง ๆ ก็จะเพิ่มสูงขึ้น และจะทำให้ไอคิวสูงขึ้นได้

วิธีเพิ่มไอคิวลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ให้ลูกได้กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและบำรุงสมอง

งานวิจัยกล่าวว่า สมองของคนเราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลเพราะกรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก หรือ อีพีเอ ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่พบได้ในน้ำมันปลาและอาหารอื่น ๆ หากไม่มีกรดไขมันจำเป็นชนิดนี้สมองจะทำงานช้าลงและอาจไม่สามารถทำงานได้ดี การกินอาหารที่เหมาะสมที่มีผักและผลไม้มาก ๆ ก็สามารถช่วยให้สมองทำงานได้อย่างเหมาะสมเช่นเดียวกัน

6. ให้ลูกได้พักผ่อนและนอนหลับอย่างเพียงพอ

การได้นอนหลับอิ่ม ๆ สามารถช่วยพัฒนาการทำงานของสมอง และช่วยให้สมองลูกตื่นตัว ในขณะที่ลูกหลับ สมองจะฟื้นสภาพกลไกใดก็ตามที่ทำงานไม่ดีให้กลับมาอยู่ในระบบอีกครั้งหนึ่ง

7. ให้ลูกได้ลองทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน 

เมื่อลูกได้ลองและมีประสบการณ์กับสิ่งต่าง ๆ กิจกรรมใหม่ ๆ ลูกจะได้รับความรู้ซึ่งจะเพิ่มไอคิวของลูกได้ กุญแจสำคัญในการเพิ่มไอคิวของลูกคือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเร่งความเร็วการพัฒนาศักยภาพสมองของลูก

8. ให้ลูกได้มีโอกาสพบปะกับเด็กคนอื่น ๆ 

คุณควรให้ลูกได้เล่น และพูดคุยกับเด็กคนอื่น ๆ ในอายุรุ่นเดียวกันใกล้บ้านหรือที่โรงเรียน การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะทำให้ลูกได้พัฒนาความฉลาดในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เมื่อลูกเข้ากลุ่มกับเด็กคนอื่น ๆ ลูกก็จะได้เรียนรู้วิธีการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา กุญแจสำคัญในการเพิ่มไอคิวของลูกคือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเร่งความเร็วการพัฒนาศักยภาพสมองของลูกได้ คุณพ่อคุณแม่อยากลืมนำเคล็ดลับดี ๆ เหล่านี้ไปปรับใช้กันดูนะครับ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ของเล่นเด็ก สีสดแบบนี้ดีไหม เสริมพัฒนาการหรือเปล่า

4 วิธีเพิ่ม EQ ให้ลูก เพราะสมัยนี้ แค่ฉลาดอย่างเดียวไม่พอ

โรงเรียนทางเลือกคืออะไร สอนแบบไหน แล้วจะเหมาะกับลูกหรือเปล่า

วิธีเลือกกระเป๋าเป้ให้ลูก เมื่อลูกต้องแบกกระเป๋าหนักมากไปโรงเรียน

 

บทความโดย

P.Veerasedtakul