วิธีการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ แม่ท้องทำเองได้ไม่ต้องรอหมอ

วิธีการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ แม่ท้องทำเองได้ไม่ต้องรอหมอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตรวจความแข็งแรงลูกในท้อง แม่ท้องทำเองได้ไม่ต้องรอหมอ

วิธีการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ แม่ท้องทำเองได้ไม่ต้องรอหมอ

วิธีการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์

คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกน้อยในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ สามารถตรวจได้ด้วยตัวคุณแม่เองและตรวจโดยคุณหมอ ดังนี้

การตรวจครรภ์เพื่อดูความแข็งแรงของทารก : วิธีนี้แม่จ๋าก็ทำได้!!!

การนับลูกดิ้น คือ วิธีการที่คุณแม่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง โดยทั่วไปแล้วทารกน้อยในครรภ์จะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 16 – 20 สัปดาห์ แต่ถ้าใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง สามารถเห็นทารกเคลื่อนไหวได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของทารกที่ต่อเนื่องนานมากกว่า 20 วินาที วิธีการนับลูกดิ้น ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่

1. Sodovsky ให้นับวันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทุกวัน ถ้าน้อยกว่า 3 ครั้ง / ชั่วโมงให้นับต่ออีก 6 – 12 ชั่วโมง / วัน รวมจำนวนครั้งที่ดิ้นทั้งหมดคิดต่อ 12 ชั่วโมง ถ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ครั้ง ถือว่าทารกดิ้นน้อยลง อย่างไรก็ตามหากทารกดิ้นน้อยลงจริงควรต้องรีบพบคุณหมอทันทีเพื่อตรวจประเมินสุขภาพทารกในครรภ์โดยวิธีการอื่นเพิ่มเติม เช่น การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยผ่านคลื่นไฟฟ้า เป็นต้น (จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป)

2. The Cardiff “Count – to-ten charf” คือ การนับจำนวนการดิ้นตั้งแต่เวลา 9.00 น. จนครบ 10 ครั้ง ซึ่งไม่ควรใช้เวลาเกิน 12 ชั่วโมง (ถึง 21.00 น.)

การนับการดิ้นของทารกเป็นวิธีการเบื้องต้นในการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ที่สามารถทำได้ง่ายและสะดวก ได้ผลดี ไม่มีค่าใช้จ่าย ปลอดภัยและไม่มีข้อห้าม ควรมีการจดบันทึกการดิ้นของทารกอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอตั้งแต่ 28 – 32 สัปดาห์ และรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ คำถามที่พบบ่อย: ลูกดิ้นกี่ครั้งถึงปกติ? ถ้าลูกดิ้นน้อยลงทำยังไง?

การตรวจครรภ์เพื่อดูความแข็งแรงของทารก : คุณหมอ

1. การวัดความสูงยอดมดลูก

การตรวจวัดความสูงของยอดมดลูก เมื่อทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงเติบโตตามปกติ ส่งผลให้ยอดมดลูกมีขนาดสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระยะตั้งครรภ์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34 ถือว่าทารกมีการเจริญเติบโตเป็นไปในทิศทางที่ดีและปกติค่ะ

2. การตรวจการดิ้นของทารกในครรภ์

ซึ่งคุณแม่จะรับรู้การดิ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ขึ้นไป การที่เด็กดิ้นน้อยลงมักพบร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นประมาณ 12-48 ชั่วโมง การที่ทารกดิ้นน้อยลงจึงเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบคุณหมอ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ ขึ้นไป

3. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวด์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นการตรวจโครงสร้างและอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ ว่าเจริญเติบโตปกติหรือไม่ และใช้ค้นหาความพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ ลักษณะของรก และตำแหน่งที่รกเกาะและสายสะดือ
การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวด์

สามารถทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจผ่านทางช่องคลอด และการตรวจผ่านหน้าท้องคุณแม่ เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก มีทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ ซึ่งช่วยให้คุณหมอสามารถเห็นและตรวจทารกในครรภ์ได้ชัดเจนขึ้น

4. การนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจหาโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ

ในรายที่สงสัยว่ามีโรคทางพันธุกรรมชนิดต่าง ๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น วิธีการในการนำเซลล์ทารกในครรภ์มาตรวจ ได้แก่ การเจาะดูดน้ำคร่ำ การตัดเนื้อรก และการเจาะดูดเลือดทารกโดยตรง

บทความแนะนำ NIFTY TEST ช่วยหาอาการดาวน์ซินโดรมตั้งแต่ในท้องแม่

5. การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์

โดยอาศัยหลักการว่า ถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงไม่ขาดออกซิเจน เมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ขึ้นไป เมื่อทารกดิ้นจะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิปแอบดูทารกในครรภ์ดิ้นกันค่ะ

สิ่งที่มีผลกระทบโดยต่อตรงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์

1. โรคของแม่ คุณแม่ที่มีปัญหาสุขภาพหรือเป็นโรคต่าง ๆ ช่วงก่อนตั้งครรภ์หรือในช่วงตั้งครรภ์ เช่น

– โรคเบาหวาน อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด เสียชีวิตในครรภ์

– โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้ทารกเติบโตช้าในครรภ์

– โรคหัวใจ อาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนและเติบโตช้าในครรภ์

– การติดเชื้อหัดเยอรมันในการตั้งครรภ์ระยะแรก อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด เป็นต้อกระจก หูหนวก และเติบโตช้าในครรภ์

– โรคซิฟิลิส อาจทำให้ทารกบวมน้ำ และเสียชีวิตในครรภ์ เป็นต้น

การควบคุมหรือรักษาโรคที่แม่เป็นก่อนการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบถึงทารก

2. การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. จิตใจของแม่ แม่ที่มีความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า และคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากภาวะเครียดจะทำให้สารเคมีและฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียดหลั่งออกมามากขึ้น ทำให้เส้นเลือดที่ไปยังมดลูกและรกเกิดการหดตัว ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ไปยังทารกในครรภ์ลดน้อยลง ผลตามมาทำให้เกิดการแท้ง ทารกเติบโตช้าในครรภ์ ทารกติดเชื้อในครรภ์สูงขึ้น

4. พฤติกรรมของแม่ การดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และครบ 5 หมู่ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยงการรับประทานยา โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร การหลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิด

บทความแนะนำ 10 เคล็ดลับการดูแลสุขภาพแม่ตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตามหากในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่รู้สึกถึงอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าตัวน้อยในครรภ์ หรืออาการของคนท้องหายไป ต้องรีบปรึกษาคุณหมอนะคะ เพื่อจะได้แก้ไขหรือรักษาได้ทันท่วงที

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

เอกสารเผยแพร่ “ลูกในท้องคุณแม่สบายดีหรือ” ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

https://ranodhospital.go.th

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญของการตรวจครรภ์ช่วงสามเดือนแรก

ตรวจครรภ์ก่อนคลอดสำคัญไฉน

บทความโดย

Weerati