วัคซีนโรคเอชพีวี : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การป้องกันโรค ด้วยการฉีด วัคซีนโรคเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก มีความสำคัญมากกับทุก ๆ คนในปัจจุบัน เพราะมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากในหญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ข้อมูลระบาดวิทยาปี 2560 พบว่า หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 8,184 คนต่อปี และมีอัตราเสียชีวิตเกิน 50% นับว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุข

หลักการสำคัญของการฉีด วัคซีนโรคเอชพีวี คือ ควรฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไปจนถึงอายุ 26 ปี นอกจากป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กผู้หญิงแล้ว วัคซีนยังป้องกันโรคหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้อีกด้วย

 

วัคซีน HPV คืออะไร ?

วัคซีน HPV หรือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) อันเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรัง และเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้

สายพันธุ์ HPV มีอะไรบ้าง ?

ไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมีมากกว่า 40 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 โดยวัคซีนที่ป้องกัน 2 สายพันธุ์นี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% มีชื่อว่า Cervarix

ส่วนวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเช่นเดียวกัน และยังป้องกันโรคหูดที่อวัยวะเพศอีก 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 6 และ 11 ได้ถึง 95% มีชื่อว่า Gardasil ซึ่งการจะเลือกฉีดวัคซีนชนิดใดนั้น ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฉีดวัคซีน HPV แบบไหนดีที่สุด

  • ประสิทธิภาพวัคซีนสูง หากฉีดในวัยที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
  • ฉีดในวัยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี จากงานวิจัยพบว่า ร่างกายของเด็กผู้หญิงสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้ได้ดีในช่วง 9 – 15 ปี ซึ่งสามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง แต่ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการฉีด 3 ครั้ง
  • ผู้หญิงอายุ 9 – 26 ปี ควรฉีดวัคซีน HPV โดยเน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11 – 12ปี
  • เด็กผู้ชายอายุ 9 – 26 ปี สามารถฉีดวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก เน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11 – 12 ปี

ฉีดวัคซีน HPV ฉีดอย่างไร ?

การฉีดวัคซีน HPV ต้องฉีดให้ครบถ้วนทั้งหมด 3 ครั้ง

  • ครั้งที่ 1 : ฉีดในวันที่กำหนดเลือก
  • ครั้งที่ 2 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 1 – 2 เดือน
  • ครั้งที่ 3 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน

***ในเด็กผู้หญิง หากฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี สามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง ห่างกัน 6 – 12 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อดีของวัคซีน HPV

  • ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันไวรัส HPV
  • ผลข้างเคียงน้อยมาก อาจมีอาการปวด บวม คัน ไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่หายได้เอง
  • สามารถฉีดร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • ป้องกันไวรัส HPV ได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย

ความเสี่ยง และผลข้างเคียงในการฉีดวัคซีน

วัคซีนเอชพีวีมีความปลอดภัย และใช้กันอย่างแพร่หลาย มากกว่าร้อยประเทศทั่วโลก เช่นเดียวกับวัคซีนประเภทอื่น ๆ ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น มักไม่รุนแรง และอาการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำ ให้ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ได้รับวัคซีนเอชพีวี

  • ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน และแพ้ยีสต์
  • เด็กกำลังเป็นไข้ หรือมีอาการป่วยอยู่
  • หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือน
  • หากตั้งครรภ์ก่อนได้รับวัคซีนครบ ควรฉีดวัคซีนเข็มต่อไปหลังคลอด

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวด บวม ผิวหนังมีรอยแดง
  • รู้สึกคัน มีรอยช้ำ มีก้อนนูนบริเวณที่ฉีดยา
  • ปวดศีรษะ มีไข้
  • คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ
  • เป็นลม

ผู้ที่ห้ามฉีดวัคซีน HPV

  • ผู้ที่ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ต่อสารประกอบในวัคซีน

ไวรัส HPV ไม่เพียงแต่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ยังรวมไปถึงมะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด และหูดอวัยวะเพศด้วย ดังนั้นการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีน HPV ให้ครบถ้วนตั้งแต่อายุยังน้อย ย่อมช่วยให้ห่างไกลโรคได้เป็นอย่างดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วัคซีนโรคคางทูม : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

เผยวัคซีน mRNA-1273 ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีในเด็ก

ที่มา : 1 , 2

บทความโดย

Arunsri Karnmana