วัคซีนโรคคางทูม : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคคางทูม เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัส หรือหายใจเอาละอองฝอย ของสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยเข้าไป ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งทุกวันนี้การฉีด วัคซีนโรคคางทูม นั้นจะสามารถป้องกันได้ทั้งโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ไปพร้อม ๆ กัน

วัคซีนโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน คืออะไร?

ในปัจจุบันมีวัคซีนรวมที่ประกอบไปด้วยเชื้อไวรัสมีชีวิตที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ที่ผลิตจากเชื้อไวรัส Mump, Measles และ Rubella มีข้อบ่งใช้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ อีกทั้งยังเป็นวัคซีนที่ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย จัดเป็นวัคซีนที่ต้องให้ในเด็กทุกคน

จากการศึกษาพบว่า หลังการให้วัคซีน 2 เข็มในเด็ก จะมีประสิทธิภาพในการป้องกัน โรคหัดจนถึงในเด็กวัยเรียนและผู้ใหญ่ สำหรับภูมิคุ้มกันต่อโรคคางทูม หลังได้รับเข็มที่ 2 จะมีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้ร้อยละ 66 – 95 และสำหรับโรคหัดเยอรมันนั้น หลังได้รับวัคซีนเพียง 1 เข็ม จะมีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต

 

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฮิบชนิดรุนแรง

โรคฮิบชนิดรุนแรงมักพบได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม ผู้ที่มีโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ โดยเชื้อฮิบอยู่ในระบบทางเดินหายใจของคนและแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางละอองอากาศ เมื่อผู้ที่มีเชื้อจามหรือไอ และมีการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

โรคหัด – โรคคางทูม – โรคหัดเยอรมัน สามโรคนี้อันตรายอย่างไรบ้าง?

  • โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัสหัด ทำให้มีไข้สูง ไอ ตาแดง ผื่น บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ
  • โรคคางทูม เกิดจากเชื้อไวรัสคางทูม ทำให้มีไข้ ต่อมน้ำลายอักเสบ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น อัณฑะอักเสบ รังไข่อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหัดเยอรมัน เกิดจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ทำให้มีไข้ ผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้ออาจทำให้ทารกตายในครรภ์ หรือพิการแต่กำเนิดได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน

ทำมาจากเชื้อไวรัสหัด คางทูม หัดเยอรมัน ที่ยังมีชีวิตแต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลง ไม่ทำให้เกิดโรคในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใครควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน?

เด็ก

  • แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม โดยเข็มแรกฉีดเมื่ออายุ 12 – 15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4 – 6 ปี (ตำราวัคซีนประเทศไทย 2562 แนะนำเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง)
  • หากมีการระบาดของโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน สามารถให้เข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน และให้ซ้ำเมื่ออายุ 12 เดือน และ 2 ปีครึ่งตามปกติ

ผู้ใหญ่

  • หากไม่เคย หรือไม่ทราบประวัติมาก่อน แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
  • ผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ และยังไม่เคยมีประวัติการได้รับวัคซีน แนะนำให้ฉีดวัคซีน 1 เข็ม และควรฉีดก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน
  • หากมีการระบาดของโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : อัพเดท 65 ประเทศที่รับวัคซีน Covid-19 ล่าสุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน คืออะไร?

  • อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ อย่างไรก็ตามอาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนพบได้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ที่รับวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน มักไม่มีปัญหาใด ๆ
  • ปฏิกิริยาที่อาจพบหลังฉีดวัคซีน ได้แก่ ปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน อาจพบไข้ต่ำ ๆ ปวดตามข้อ ผื่น ต่อมน้ำเหลืองโตได้ ตั้งแต่ 6 – 12 วัน หลังฉีดวัคซีน อาการดังกล่าวมักไม่รุนแรง จะหายเองภายใน 2 – 3 วัน ส่วนอาการปวดข้อ จะหายได้ใน 1 – 3 สัปดาห์ ปฏิกิริยารุนแรงพบได้น้อยมาก
  • หากมีอาการปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีนสามารถประคบเย็นได้ และหากมีไข้ต่ำ ๆ สามารถรับประทานยาลดไข้ได้ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

ใครไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน?

  • ผู้ที่เคยมีประวัติแพ้วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน และคางคูม
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันภายในระยะเวลา 1 เดือน ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งที่มีผลต่อไขกระดูก ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีระดับ CD4+ น้อยกว่า 200 cells/microL. หรือน้อยกว่าร้อยละ 15 เป็นต้น
  • ผู้ที่ได้รับการถ่ายเลือด หรือได้รับผลิตภัณฑ์จากเลือด (antibody – containing blood product) ภายในระยะเวลา 3 – 11 เดือน เนื่องจากอาจมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของโรคหัด หัดเยอรมัน และคางคูม
  • ผู้ที่เจ็บป่วยรุนแรง
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา neomycin แบบ anaphylaxis

 

ที่มา : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลพญาไท

บทความโดย

Arunsri Karnmana