วัคซีนโรคคอตีบ โรคร้ายแรง แต่ป้องกันได้ 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

วัคซีนโรคคอตีบ โรคร้ายแรง แต่ป้องกันได้ 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัคซีนโรคคอตีบ ทำไมทุกคนถึงควรฉีด โรคคอตีบรุนแรงมากน้อยแค่ไหน เราไปดูกันเลยค่ะว่า วัคซีนโรคคอตีบ สามารถป้องกันได้มากน้อยแค่ไหน และใครบ้างที่เสี่ยงติดเชื้อ

 

โรคคอตีบ 

โรคคอตีบเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถสร้างพิษ ( exotoxin ) และทำให้เกิดการอักเสบ และมีเนื้อตายเป็นแผ่นหนาในคอหอยหรือหลอดลม ทำให้เกิดการตีบตันของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากทางเดินหายใจอุดตันหรือหัวใจล้มเหลว สารพิษที่เชื้อโรคคอตีบปล่อยออกมายังสามารถทำเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ หรือหัวใจล้มเหลวได้

 

วัคซีนโรคคอตีบ ฉีดเมื่อไหร่ ต้องฉีดกระตุ้นด้วยหรือไม่

วัคซีนโรคคอตีบ

โดยเข็มแรกฉีดเมื่ออายุได้ 2 เดือน, เข็มที่ 2 ฉีดเมื่ออายุ 4 เดือน, เข็มที่ 3 ฉีดเมื่ออายุ 6 เดือน, เข็มที่ 4 ฉีดเมื่ออายุ 18 เดือน, และเข็มที่ 5 ฉีดเมื่ออายุ 4-6 ปี ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (Td) หรือคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (Tdap) เมื่ออายุ 11-12 ปี และต่อไปฉีดกระตุ้นวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (Td) ทุก 10 ปี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

เด็กที่ได้รับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน อาจมีไข้ และร้องกวนได้บางรายอาจมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดวัคซีน อาการมักจะเริ่มราว 3-4 ชั่วโมงหลังการฉีด และมีอาการนานไม่เกิน 2 วัน ซึ่งวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (Tdap) ที่ฉีดในเด็กโตและผู้ใหญ่ และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (Td) อาจมีปฏิกิริยาเฉพาะที่ ซึ่งมักไม่รุนแรง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของคอตีบ

เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคคอตีบ คือ Corynebacterium Diphtheriae โดยเชื้อตัวนี้มักพบว่ามีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเชื้อขึ้นบริเวณเยื่อบุที่คอ และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ผ่านทาง 3 ทาง ได้แก่

  • ทางอากาศ 

เมื่อผู้ป่วยคอตีบไอหรือจาม จะปล่อยแพร่ละอองที่ปนเปื้อนเชื้ออยู่ ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้เคียงอาจสูดเอาเชื้อนี้เข้าไป โดยโรคคอตีบจะแพร่กระจายและติดต่อได้ดีในทางอากาศ โดยเฉพาะในที่ที่มีคนจำนวนมาก

  • ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนเชื้อ 

ผู้ป่วยคอตีบบางรายพบว่าได้รับเชื้อจากการจับหรือสัมผัสกับกระดาษทิชชู่ที่ใช้แล้วของผู้ที่ติดเชื้อ รวมถึงดื่มน้ำจากแก้วของผู้ที่มีเชื้อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ของใช้ภายในบ้านที่ปนเปื้อนเชื้อ 

เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย โดยอาจได้รับการแพร่เชื้อจากของใช้ที่ใช้ร่วมกันภายในบ้าน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือของเล่นเด็ก

นอกจากนั้น การสัมผัสกับแผลของผู้ที่ติดเชื้อคอตีบ ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ได้เช่นกัน ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคคอตีบ ได้แก่ เด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ และผู้ที่ใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องพบผู้คนจำนวนมาก ๆ หรือขาดสุขอนามัยที่ดี รวมไปถึงผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคคอตีบ

 

อาการของโรคคอตีบ อาการเป็นอย่างไร 

วัคซีนโรคคอตีบ

  • ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ตํ่า ๆ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอ  กลืนลําบาก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลียมาก
  • บางรายจะพบอาการต่อมนํ้าเหลืองบริเวณลําคอโต และพบแผ่นเยื่อสีเทาหรือเหลืองปนเทา ดูคล้ายเศษผ้าสกปรกยึดติดแน่นกับเนื้อเยื่อปกติอยู่บริเวณต่อมทอนซิล คอหอย ลิ้นไก่ และเพดานปาก

แผ่นเยื่อนี้เกิดจากการเจริญเติบโตของกลุ่มเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีการสร้างสารพิษออกมาทําให้เนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบตายลงและซ้อนทับกัน โดยจะพบเกิดได้ตั้งแต่ในโพรงจมูกลงไปจนถึง ลําคอ แต่พบได้บ่อยที่สุด ในบริเวณต่อมทอนซิลและคอหอย ซึ่งแผ่นเยื่อนี้จะเขี่ยออกได้ยาก ถ้าฝืนเขี่ยออก จะทําให้มีเลือดออกได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคอบวมมาก คล้าย ๆ คอวัว เรียกว่า“อาการคอวัว” (Bull neck) ซึ่งบางรายอาจกดทับหลอดเลือดดําที่คอ ทําให้ใบหน้ามีสีคลํ้าจากการมีเลือดคั่ง กรณีดังกล่าวผู้ป่วยจะมี อาการหายใจเสียงดัง วี๊ด หายใจลําบาก เหนื่อยหอบ ซึ่งเป็นอาการแสดงของทางเดินหายใจอุดตัน ซึ่งหากไม่ ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้

 

ภาวะแทรกซ้อนโรคคอตีบ 

  • ภาวะทางเดินหายใจตีบตัน

มักเกิดในช่วงวันที่ 2-3 ของโรคในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หากผู้ ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

มักเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 10-14 ของการเจ็บป่วย แต่อาจพบได้ใน 6 สัปดาห์ ทําให้มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจบีบตัวผิดปกติ เกิดภาวะหัวใจวาย และอาจทําให้เสียชีวิตอย่าง ฉับพลันได้

 

  • ภาวะเส้นประสาทอักเสบ

ทําให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลูกตา กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนเป็น อัมพาต ผู้ป่วยอาจมีอาการกลืนลําบาก พูดเสียงขึ้นจมูก ขย้อนนํ้าและอาหารออกทางจมูก อาจมีอาการตาเหล่ มองเห็นภาพซ้อน บางรายอาจมีการอ่อนแรงของกระบังลมร่วมด้วย ทําให้หายใจลําบาก และอาจทําให้เสียชีวิตได้

 

  • ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

เช่น ภาวะไตวาย ไตทํางานผิดปกติ มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ

 

โรคคอตีบ มีวิธีการรักษาอย่างไร 

เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคคอตีบ แพทย์จะรับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล และให้อยู่ในห้องแยกโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ และยาต้านพิษ เชื้อคอตีบ ตามข้อบ่งชี้ แพทย์จะเฝ้าระวัง เรื่องภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องระบบหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิตเนื่องจากโรค คอตีบอาจจะทําให้เกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รวมถึงสํารวจและซักประวัติผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เพื่อวินิจฉัย และให้การรักษาผู้ที่มีเชื้ออยู่ และให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่ผู้สัมผัส

 

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคคอตีบ 

  • ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนหรือฉีดวัคซีนไม่ครบ
  • ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้น
  • ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย ที่เป็นโรคคอตีบ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคตํ่าหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่แออัด และขาดสุขอนามัย และผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ที่มีการระบาดของโรค

 

วิธีการป้องกันโรคคอตีบ

วัคซีนโรคคอตีบ

  • โรคคอตีบ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนในทุกกลุ่มอายุให้ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน ถึงแม้ผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคคอตีบแล้วก็ต้องได้รับวัคซีนต่อไปให้ครบตามเกณฑ์ เพื่อเป็นการป้องกันโรค ควรได้รับวัคซีน ดังนี้
    • กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ควรได้รับวัคซีนครบตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข
    • กลุ่มเด็กนักเรียนเมื่อเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบบาดทะยัก ( dT ) เข็มกระตุ้นทุกคน
    • กลุ่มผู้ใหญ่ ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคตีบ บาดทะยัก ( dT ) และควรได้รับการฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี
    • สามารถขอรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบบาดทะยัก ( dT ) ได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง
  • หลีกเลี่ยง การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโรคคอตีบ หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่มีผู้คนอยู่กันแออัด
  • ถ้ามีผู้ป่วยในบ้าน ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก และต้องมีการทำลายน้ำมูก น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยอย่างถูกสุขลักษณะ
  • หากเป็นหวัด หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ให้สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
  • ควรมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะ เช่น เวลาไอหรือจามใช้ผ้าเช็ดหน้า กระดาษชำระหรือใช้ต้นแขนปิดปาก ปิดจมูก และควรล้างมือบ่อย ๆ
  • ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์

 

ที่มา : (www.pobpad.com),(www.thaihealth.or.th),(www.rama.mahidol.ac.th)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

ลูกลืมฉีดวัคซีนทำไงดี? จะต้องทำยังไงดี เลื่อนนัดได้ไหม จะมีผลอะไรรึเปล่า?

ต่อมอดีนอยด์โต-ทอนซิลโต ปิดระบบทางเดินหายใจ จนลูกต้องผ่าตัดด่วน

ผลการศึกษา เตือนเด็กติดหวานจัดเสี่ยงหัวใจวาย

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong