วัคซีน BCG ป้องกันวัณโรคได้จริงหรือ การดูแลแผลหลังฉีดวัคซีน ทำอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัคซีน BCG คือวัคซีนที่ป้องกันวัณโรค แล้วถ้าหากเป็นวัณโรคขึ้นมาจะหายเป็นปกติได้หรือไม่ เราไปดูกันค่ะ ว่าวัคซีน BCG สามารถฉีดได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ และมีประสิทธิภาพในการป้องกันมากแค่ไหนกัน

 

ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคได้จริงหรือ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รู้จักกันในนามของ “เชื้อทีบี” เมื่อร่างกายได้รับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อส่วนใหญ่จะถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีเพียงส่วนน้อยที่จะหลบซ่อนอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ และอยู่ในภาวะสงบโดยไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอลง เชื้อที่ซ่อนตัวอยู่จะทำให้เกิดโรค

ซึ่งวัคซีนป้องกันวัณโรค BCG vaccine หรือ Bacillus Calmette Guerin vaccine เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค ที่เป็นการทำให้เชื้อโรคอ่อนแรงลง กลไกการทำงานของวัคซีนคือเชื้อที่ฤทธิ์อ่อนลงจะเข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สามารถรับมือกับเชื้อวัณโรคได้ โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้วัคซีน BCG เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับตั้งแต่แรกเกิด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฉีดวัคซีนเด็ก ต้องฉีดอะไรบ้างที่สำคัญต่อทารกแรกเกิด เพื่อภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด

 

วิดีโอจาก : Dr.Panthita Phuket Pediatrician

 

วัคซีน BCG ควรฉีดเมื่อไร

BCG จัดเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ต้องฉีดให้เด็กแรกเกิดทุกคน เมื่อฉีดแล้วภูมิคุ้มกันจะเกิดหลังจากฉีดไป ภายในสัปดาห์ที่ 2 หลังฉีดจะมีตุ่มนูนเกิดขึ้นและแตกออกเป็นแผลเล็กๆ อยู่ประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะหายไปเหลือแต่รอยแผลเป็นขนาดเล็ก ซึ่งวัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันวัณโรคได้ประมาณ 80% และยังช่วยลดความเสี่ยงโรควัณโรคที่เยื่อหุ้มสมองในเด็กได้ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การดูแลแผลหลังฉีดวัคซีน 

ทารกทุกคนขณะอยู่โรงพยาบาลจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ที่ต้นแขนซ้าย ประมาณ 4-6 สัปดาห์จะมีตุ่มหนองขึ้น มีวิธีดูแล ดังนี้

  • ห้ามบ่งหนอง ห้ามใส่ยา หรือโรยยาใด ๆ ลงในแผล
  • ให้รักษาความสะอาด โดยใช้สำลีที่สะอาด ชุบน้ำต้มสุกเช็ดรอบ ๆ แผล (ห้ามเช็ดแผล)
  • ตุ่มหนองจะแตกเอง จะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่ประมาณ 1 สัปดาห์และจะแห้งกลายเป็นแผลเป็นไปเอง
  • แต่ถ้าสังเกตว่าแผลนั้นเป็นหนองมาก หรือต่อมน้ำเหลืองข้างหูโตต้องรีบพาบุตรพบแพทย์โดยเร็ว

 

หากลูกเป็นจะสังเกตอาการจากอะไร 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการวัณโรคแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแฝง (Latent TB) และระยะแสดงอาการ (Active TB) โดยในระยะแรกจะสังเกตได้ยากเพราะอาการจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ อาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ไปจนถึงหลายปีกว่าจะแสดงอาการให้เห็น

 

  • ระยะแฝง (Latent TB)

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ โดยเชื้อจะซ่อนอยู่ภายในร่างกาย จนกว่าร่างกายจะอ่อนแอ จะก่อให้เกิดอาการที่ชัดเจนได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีการตรวจพบในช่วงระยะแฝง แพทย์จะรักษาโดยการควบคุมการแบ่งตัวของเชื้อ รวมถึงลดความเสี่ยงที่โรคจะเข้าสู่ระยะแสดงอาการ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ระยะแสดงอาการ (Active TB)

ระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนทำให้แสดงอาการต่าง ๆ ได้ชัดเจน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น มีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหนักลด หรือเบื่ออาหาร

 

 

วัณโรค เป็นแล้วหายได้ 

เป้าหมายสำคัญในการรักษาวัณโรค คือ การรักษาให้หายขาดเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อและเพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค แม้ว่าวัณโรคจะสามารถรักษาให้หายขาด แต่ก็มีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำได้ หากผู้ป่วยไม่มีวินัยในการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

  • การรักษาผู้ป่วยวัณโรค 2 เดือนแรก แพทย์จะให้รับประทานยา 4 ชนิด คือ Isoniazid, Rifampicin, Pyrazinamide และEthambutol หากผู้ป่วยดื้อยาอาจจำเป็นต้องใช้ยาอื่นร่วมด้วยเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมื่อรักษาครบ 2 เดือน แพทย์จะตรวจเสมหะหรือเอกซเรย์ปอดซ้ำ หากมีการตอบสนองที่ดีแพทย์จะลดยาให้เหลือเพียง 2 ชนิด และยังต้องให้การรักษาต่อไปอีก 4 เดือน

 

วิธีปฏิบัติตนเมื่อเป็นวัณโรค

  • กินยาตามชนิดและขนาดที่แพทย์สั่งให้อย่างสม่ำเสมอจนครบกำหนด
  • หลังกินยาไประยะหนึ่ง อาการไอและอาการทั่ว ๆ ไปจะดีขึ้น อย่าหยุดกินยาเด็ดขาด
  • สวมผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • เปลี่ยนผ้าปิดจมูกที่สวมบ่อย ๆ เพราะผ้าปิดจมูกเองก็เป็นพาหะได้เช่นกัน
  • บ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด
  • จัดบ้านให้อากาศถ่ายเทสะดวก ให้แสงแดดส่องถึง และหมั่นนำเครื่องนอนออกตากแดด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม ไข่ ผักและผลไม้
  • นอนกลางวันอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อนำโปรตีนจากอาหารเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
  • ไม่เที่ยวในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เพราะอาจนำเชื้อไปแพร่ให้ผู้อื่น หรือติดเชื้อโรคจากผู้อื่นเข้าสู่ร่างกายเพิ่มเติม
  • ในระยะ 2 เดือนแรกหลังจากเริ่มการรักษา (เรียกว่า “ระยะแพร่เชื้อโรค”) ผู้ป่วยควรจะนอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเท และนอนแยกห้องกับสมาชิกในครอบครัว รวมไปถึงการรับประทานอาหาร การใช้ถ้วยชามและเสื้อผ้าควรแยกล้าง หรือแยกซักต่างหาก และต้องนำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  • หลังจากแพทย์ลงความเห็นว่าพ้นจากระยะแพร่เชื้อโรคแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวได้ เหมือนเดิม เช่น การนอน การรับประทานอาหาร และซักผ้าร่วมกับสมาชิกผู้อื่น โดยในระยะนี้ผู้ป่วยต้องต้านทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือน (โรควัณโรคจะต้องใช้เวลาในการรักษาระยะสั้นที่สุด 6 เดือน ยาวที่สุด 1-2 ปี)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการเบื่ออาหาร ไม่อยากกินอะไร 

สาเหตุของการเบื่ออาหารในผู้ป่วยวัณโรคปอดเกิดจากผลของโรคและผลข้างเคียงจากการกินยาต่อมรับรสผิดปกติ มีเสมหะ ไอ เหนื่อย ไม่มีแรงเคี้ยวอาหาร ดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้อิ่มน้ำ ซึ่งหลักปฏิบัติในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยวัณโรคปอด สามารถทำได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • เนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่ เต้าหู้ เพราะร่างกายต้องการโปรตีน ในการฟื้นฟูเสริมสร้างภูมิต้านทาน
  • ข้าว แป้ง ข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง น้ำตาลควรเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ขัดสี เช่นข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เพราะมีวิตามินบีสูงช่วยลดอาการชาปลายมือปลายเท้า และเพิ่มความอยากอาหาร
  • ผักและผลไม้ต่าง ๆ ควรเลือกรับประทานให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ ตลอดจนเสริมสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  • น้ำมัน ไขมันจากพืชและสัตว์ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง สร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย ควรเลือกบริโภคน้ำมันที่มีกรดไขมันดี เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด
  • ถ้าผู้ป่วยทานอาหารได้น้อย หรือถ้าไม่หมดในมื้อหลัก ให้แบ่งอาหารเป็นมื้อ 5 – 6 มื้อต่อวัน
  • ควรทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนทานยา อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อให้ยารักษาวัณโรคออกฤทธิ์ได้ดี

 

อาหารที่ควรงด หรือหลีกเลี่ยง 

  • เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ กะทิ ของมัน ของทอด ทำให้ผู้ป่วยไอมากขึ้น
  • อาหารที่มีแก๊สสูง ผักผลไม้ ถั่ว น้ำอัดลม ทำให้ผู้ป่วยท้องอืด และทานอาหารที่มีประโยชน์ได้น้อย
  • อาหารสำเร็จรูป โจ๊ก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทำให้อิ่มแต่สารอาหารน้อย
  • หากมีอาการไอควรหลีกเลี่ยงน้ำเย็น
  • ถ้าผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนพร้อมกับรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และสามารถฟื้นฟูร่างกายจากโรคที่เป็นได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล

วัคซีนเด็ก ควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา

วัคซีนวัณโรค สำคัญต่อลูกอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

 

ที่มาข้อมูล : (thonburihospital),(paolohospital),(thaihealth)

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong