ลูทีนในนมแม่เกราะป้องกันดวงตาของทารก

คำว่าลูทีนในนมแม่ อาจจไม่คุ้นหูสำหรับคนไทยเท่าใดนัก จะได้ยินคำว่า ลูทีนในนมผสมมากกว่า แต่แท้ที่จริงแล้ววงการแพทย์ในต่างประเทศให้ความสำคัญเกี่ยวกับสารลูทีนนี้อย่างมาก ที่สำคัญสารนี้ไม่สามารถสร้างเองได้จากร่างกาย ในวัยทารกต้องได้รับผ่านน้ำนมแม่ เพราะในน้ำนมแม่มีลูทีนเป็นส่วนประกอบที่ช่วยปกป้องดวงตาของทารก มาทำความรู้จักลูทีนในนมแม่กันค่ะ ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูทีนในนมแม่เกราะป้องกันดวงตาของทารก

ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส

ตามปกติแล้วพัฒนาการของทารก ส่วนใหญ่มักจะพูดถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา ทำอย่างไรให้ลูกคลาน เดิน วิ่ง หรือกระตุ้นสมองให้พร้อมสู่การเรียนรู้ แต่ในวันนี้จะชวนคุณพ่อคุณแม่มาพูดคุย (ผ่านบทความ) เกี่ยวกับการปกป้องสายตาและจอประสาทตาของทารกกันค่ะ

คำว่า "ลูทีน" ในนมแม่อาจจะไม่คุ้นหูเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับการได้ยินคำว่าลูทีนจากนมผสมที่โฆษณาทั่วไป จนดูเหมือนกับว่าทารกจะได้รับสารลูทีนเพราะมาจากนมผสมเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วจุดเริ่มต้นของลูทีนสำหรับทารกเพื่อปกป้องสายตานั้นบอกได้เลยว่า มาจาก "นมแม่" ค่ะ มาทำความรู้จักลูทีน เกราะป้องกันดวงตาทารกกันดีกว่าค่ะ

รู้จัก & เข้าใจ "ลูทีน"

ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส

ลูทีน (Lutein) เป็นสารอาหารในกลุ่มที่เรียกว่า แซนโทฟิลส์ (Xanthophylls) มีลักษณะเป็นสารสีเหลือง อยู่ในจำพวกแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) มีประโยชน์ต่อดวงตาของคนเรา ซึ่งในต่างประเทศนั้น เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการจักษุแพทย์ นักโภชนาการและนักวิจัยทั่วโลก ในฐานะของสารอาหารที่ช่วยชะลออาการจอประสาทตาเสื่อม และประโยชน์ของลูทีนที่มีต่อการปกป้องจอประสาทตาในทารกและเด็กเล็ก

สำหรับในประเทศไทยยังมีการพูดถึงสารลูทีนในนมแม่กันน้อยมาก แต่ความจริงแล้วลูทีนกลับมีความสำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสารอื่นใดในนมแม่เลย เพราะเป็นส่วนสำคัญในการปกป้องจอประสาทตาของทารก

จักษุแพทย์เผย : ความสำคัญของลูทีนต่อดวงตา

ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. จอประสาทตาของคนเราตั้งแต่แรกเกิดมีร่องเล็ก ๆ อยู่จุดหนึ่งที่มี เซลล์รับภาพในจอประสาทตา ซึ่งเป็นจุดที่แสงตกประทบ และทำให้คนเราสามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนในแต่ละวัน

2. บริเวณเซลล์รับภาพนี้มีสารสีเหลืองหรือลูทีนอยู่หนาแน่นมากที่สุด โดยจะพบได้ตรงชั้นเนื้อเยื่อที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท ถือเป็นจุดที่สำคัญมากต่อการมองเห็น หากบริเวณดังกล่าวเสื่อม หรือเสียไป อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดได้

3. สารลูทีนในเซลล์รับภาพในจอประสาทตา ทำหน้าที่สำคัญ คือ คอยกรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา และเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา ทั้ง แสงแดดจากดวงอาทิตย์ แสงจากโทรทัศน์ แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากหลอดไฟ เป็นต้น

4. ลูทีน ยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนตี้ออกซิแดนซ์ (antioxidant) ในดวงตาของคนเราอีกด้วย เพราะในดวงตาของเราจะมีสารอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นตัวทำลายเซลล์รับภาพและทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูทีนพบได้ในนมแม่

ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส

รศ. นพ.สรายุทธ สุภาพพรรณชาติ กรรมการชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย กล่าวถึง คุณค่าของสารลูทีนในนมแม่ไว้ว่า

1. ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์สารลูทีนขึ้นมาใช้ได้เอง ต้องอาศัยจากการรับประทานอาหารเข้าไปเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ลูทีนสารอาหารเพื่อปกป้องจอประสาทตา พบมากใน "นมแม่" เด็กแรกเกิดที่ได้ดื่มนมแม่นั้นจะได้รับลูทีนผ่านทางน้ำนมโดยตรง ซึ่งจะส่งผลเรื่องพัฒนาการทางสายตาที่สมบูรณ์ของลูกน้อยได้ในระยะยาว

3. ลูทีนจะทำหน้าที่กรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตาและเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา กล่าวได้ว่า เพียงให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่ก็สามารถลดความเสี่ยงในโรคจอประสาทตาเสื่อมได้แล้ว

4. ลูทีนถือเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในการปกป้องจอประสาทตา โดยลูทีนจะทำงานร่วมกันกับกรดไขมัน DHA และ AA ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านการมองเห็นของเด็ก โดย DHA และ AA จะทำหน้าที่เหมือนเป็นหลอดไฟ ส่วนลูทีนจะทำหน้าที่เหมือนเป็นสารเคลือบหลอดไฟไม่ให้เสื่อมเร็ว

ความน่าสนใจของลูทีนอีกอย่างหนึ่ง คือ นอกจากลูทีนจะพบมากในดวงตาของคนเราแล้ว ยังพบได้ในสมองในส่วนที่เกี่ยวกับการมองเห็นถึง 66% จึงเชื่อว่าลูทีนมีส่วนช่วยในการรับภาพและส่งต่อไปยังสมองได้ดีขึ้นอีกด้วย

พัฒนาการทางสายตาและวิธีกระตุ้นพัฒนาการทางสายตา

ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส

การพัฒนาสายตาและการมองเห็นเริ่มต้นตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ สำหรับทารกแรกเกิดจนถึง 1 เดือน การมองเห็นยังไม่ชัดเจนเท่าไรนัก แต่จะค่อย ๆ เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถมองเห็นสิ่งรอบตัวได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นในช่วงอายุ 6 เดือน ดังนั้น จึงเป็นโอกาสทองของคุณพ่อคุณแม่ที่จะส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารก นอกจากการที่ทารกได้รับสารลูทีนจากน้ำนมแม่แล้ว มีวิธีการกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารกสามารถทำได้ ดังนี้

วัยแรกเกิด

พัฒนาการทางสายตา : มองเห็นได้ในระยะ 8 - 12 นิ้วฟุต แต่ยังไม่ชัดเจน ยังไม่สามารถทนต่อแสงจ้ามาก ๆ ได้

วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : จ้องมอง สบตาลูก พูดคุยหยอกล้อเพื่อกระตุ้นการมองเห็น คุณแม่ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้มีแสงสว่างพอเหมาะ ไม่จ้ามากจนเกินไปนะคะ

2 สัปดาห์

ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทางสายตา : ชอบมองภาพที่มีสีต่างกันชัดเจน และชอบมองใบหน้าของคุณแม่

วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : แขวนโมบายส์ที่มีสีสันสดใสหรือลวดลายตัดกันให้ลูกมองหรือมองหน้าและพูดคุยกับลูก ในระยะห่าง 8 - 12 นิ้วฟุต

2 เดือน

ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส

พัฒนาการทางสายตา : สามารถมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ มองหน้าแม่ได้อย่างมีความหมายมากขึ้น เมื่อมองเห็นคนยิ้มในระยะใกล้ ๆ ทารกจะสามารถเลียนแบบและยิ้มตอบได้

วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : หยิบจับของเล่นที่มีสีสันสดใสและหลากหลาย แล้วเคลื่อนที่ไป - มา อย่างช้า ๆ เพื่อให้ลูกมองตาม รวมทั้งยิ้มและพูดคุยกับลูกเสมอ ๆ นะคะ

4 เดือน

พัฒนาการทางสายตา : มองตามได้ไกลมากขึ้นเช่น ทารกน้อยสามารถมองตามแม่ เมื่อแม่เดินจากมุมห้องหนึ่งไปอีกมุมหนึ่งได้ทันที รู้จักเลียนแบบสีหน้า และสามารถแยกสีต่าง ๆ ได้

วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : เลือกของเล่นที่มีสีแตกต่างกัน หรือจะเป็นของเล่นที่เคลื่อนไหวได้ ให้ลูกหัดมองตามและเอื้อมมือคว้าจับ ขณะเดียวกันก็พูดหยอกล้อและทำสีหน้าท่าทางต่าง ๆ เล่นกับลูก

6 เดือน

พัฒนาการทางสายตา : ทารกสามารถมองเห็นในลักษณะ 3 มิติ ได้ชัดเจนแล้วค่ะ สามารถกะระยะเพื่อการคว้าจับสิ่งของได้ถูกทิศและแม่นยำ

วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : เลือกของเล่นที่มีสีสันสดใส มีรูปทรง และพื้นผิวสัมผัสที่หลากหลายหรือเขย่าแล้วเกิดเสียง ชี้ชวนให้ดูภาพในหนังสือนิทานง่าย ๆ

พัฒนาการทางด้านสายตาและการมองเห็นของทารกจะทำงานเป็นปกติในช่วง 6 เดือนแรก นั่นแสดงว่า 6 เดือนหลังพัฒนาการของทารกน้อยก็จะดำเนินไปตามปกติแล้ว ช่วงนี้แม่อาจจะเปลี่ยนวิธีการกระตุ้นการมองเห็นมาเป็นกระตุ้นการเคลื่อนไหว เพราะในช่วงนี้หนูจะอยากคว่ำ คืบคลาน ปีนป่าย จับยึด กลอกตามองโลกกว้าง สำรวจสิ่งรอบตัว ซึ่งเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางสายตาของหนูไปโดยไปโดยอัตโนมัติค่ะ

ได้ทราบถึงประโยชน์ของลูทีนในนมแม่แล้วนะคะ นมแม่ยังคงเป็นอาหารมหัศจรรย์สำหรับทารกจริง ๆ ค่ะ คุณแม่อย่าพลาดโอกาสสำคัญในการให้ลูกได้ทานนมแม่นะคะ เพราะนมแม่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ และยังเป็นเกราะปกป้องดวงตาให้ลูกอีกด้วย

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ คัมภีร์การดูแลทารกและเด็กเล็ก ผศ. ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์ ผู้แปล

https://www.toy2home.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณแม่แชร์ประสบการณ์ เมื่อดวงตาลูกเปลี่ยนไปเพราะมะเร็ง

สลดใจ! เด็กวัยขวบเศษต้องสูญเสียดวงตาขวา เพราะโดรน