ลูกแรกเกิดถึง 1 ปี นอนกี่ชั่วโมง กินนมตอนไหน อึบ่อยไหม ฉี่น้อยหรือเปล่า ไม่รู้ไม่ได้!

แม่มือใหม่ไม่รู้ไม่ได้ ลูกแรกเกิดถึง 1 ปีนอนกี่ชั่วโมง กินนมตอนไหน ปัสสาวะ อุจจาระ กี่ครั้งต่อวัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกแรกเกิดถึง 1 ปี

รวมเรื่องลูกขวบปีแรก ลูกแรกเกิดถึง 1 ปี นอนกี่ชั่วโมง กินนมตอนไหน อึบ่อยไหม ฉี่น้อยหรือเปล่า ตารางชีวิตของลูกแรกเกิดถึง 1 ปี

 

ลูกแรกเกิดถึง 1 ปีนอนกี่ชั่วโมง

  • ลูก 3 เดือนแรก นอนกลางวันรวมแล้ว 8 ชั่วโมง นอนกลางคืนรวมแล้ว 9 ชั่วโมง โดยรวมการนอนของทารก 3 เดือนแรกอยู่ที่ประมาณ 16 – 18 ชั่วโมงต่อวัน แต่ช่วงวัยทารกแรกเกิดจะตื่นบ่อยหน่อย กินนมบ่อยหน่อยนะแม่
  • ลูก 3 – 6 เดือนแรก นอนกลางวันรวมแล้ว 6 ชั่วโมง นอนกลางคืนรวมแล้ว 10 ชั่วโมง โดยรวมการนอนของทารก 3 – 6 เดือนแรกอยู่ที่ 14 – 16 ชั่วโมงต่อวัน วัยนี้ทารกจะนอนหลับกลางคืนได้นานขึ้น แม่จึงไม่ผวาลูกร้องกลางดึกบ่อย ๆ
  • ลูก 6 – 9 เดือนแรก นอนกลางวันรวมแล้ว 5 ชั่วโมง นอนกลางคืนรวมแล้ว 10 ชั่วโมง โดยรวมการนอนของทารก 6 – 9 เดือนแรกอยู่ที่ 14 – 15 ชั่วโมงต่อวัน
  • ลูก 9 เดือนถึงขวบปีแรก นอนกลางวันรวมแล้ว 5 ชั่วโมง นอนกลางคืนรวมแล้ว 10 ชั่วโมง โดยรวมการนอนของทารก 9 เดือนถึงขวบปีแรกอยู่ที่ 14 ชั่วโมงต่อวัน

 

ลูกแรกเกิดถึง 1 ปีกินนมตอนไหน

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย แนะนำว่า แม่ให้นมสามารถให้ลูกดูดนมได้บ่อยตามความต้องการของลูก โดยมากลูกจะดูดนมประมาณ 8-12 ครั้งต่อวัน และในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ถ้าหากว่าลูกหลับนานกว่า 3 ชั่วโมงก็ควรปลุกลูกขึ้นมาดูดนมด้วยเหมือนกันเพราะลูกอาจได้รับนมไม่พอ ตัวคุณแม่เองก็อาจจะมีปัญหาเต้านมคัดและน้ำนมลดลงได้เช่นกัน

วิธีให้ลูกดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ควรให้ลูกดูดนมทั้ง 2 ข้าง โดยเริ่มดูดนมเต้าแรกจนเกลี้ยงเต้าก่อนแล้วจึงเปลี่ยนไปดูดเต้าที่สอง พอมื้อต่อไปก็ให้เริ่มดูดจากเต้าที่สองของมื้อที่แล้วเพื่อให้เต้านมได้รับการกระตุ้นทั้ง 2 ข้าง และลูกได้ทั้งน้ำนมส่วนหน้า ซึ่งมีน้ำและน้ำตาลแล็กโทสมากกว่า และ น้ำนมส่วนหลัง ซึ่งมีไขมันมากกว่า แต่ถ้าลูกอิ่มจากการดูดเต้านมข้างเดียว มื้อต่อไปก็ให้ดูดจากอีกเต้าหนึ่งสลับกันไปได้เลย
  • ระยะเวลาในการดูดนมแต่ละมื้อ ลูกจะเป็นคนกำหนดเอง เด็กบางคนอาจดูดเพียงข้างละ 10 นาที แต่บางคนอาจนานกว่านั้น แต่เมื่ออิ่มเขาจะปล่อยหัวนมแม่เอง จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดเวลา วิธีสังเกตง่าย ๆ เกี่ยวกับระยะเวลาดูดนมของลูก คือ ถ้าลูกดูดนานกว่า 1/2 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า 4 นาที อาจเป็นผลจากการดูดนมที่ไม่มีประสิทธิภาพได้ ซึ่งจะต้องแก้ไขวิธีการให้นมให้ถูกต้อง
  • ช่วงที่ลูกอายุ 1 – 2 เดือนแรก ยังจำเป็นต้องให้ดูดนมแม่ตอนกลางคืน เนื่องจากฮอร์โมนโปรแลกตินที่ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมมีมากในเวลากลางคืน การให้ลูกดูดนมมื้อดึกอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรก จะช่วยให้ฮอร์โมนโปรแลกตินในเลือดสูงตลอดเวลาและช่วยให้การสร้างน้ำนมเป็นไปด้วยดี ลูกจะได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอและยังช่วยป้องกันเต้านมคัดด้วย และเพื่อให้คุณแม่พักผ่อนขณะให้นมมื้อดึกได้ แนะนำให้ใช้ท่านอนให้นมลูก
  • เมื่อลูกโตขึ้น อายุ 4 – 5 เดือนไปแล้ว กระเพาะอาหารของลูกจะขยายใหญ่ขึ้น ดูดนมแม่ได้มากขึ้นและเว้นระยะห่างระหว่างมื้อนมได้นานขึ้น รวมทั้งนอนได้นานขึ้น (นอนติดต่อกัน 4 – 5 ชั่วโมงโดยไม่ตื่นมากินนมได้แล้ว) ช่วงวัยนี้จึงไม่จำเป็นต้องปลุกลูกมากินนมมื้อดึก

อ่านเพิ่มเติม แจกฟรี!! ตารางความถี่ให้นมลูก ตั้งแต่แรกเกิด – 12 เดือน

 

ลูกแรกเกิดถึง 1 ปี นอนกี่ชั่วโมง กินนมตอนไหน อึบ่อยไหม ฉี่น้อยหรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การขับถ่ายของลูกแรกเกิดถึง 1 ปี

การฉี่ของทารก 1 เดือนแรก และการอึของทารก 1 เดือนแรก

การขับถ่ายช่วงเดือนแรกของทารกแรกเกิดยังไม่เป็นระบบ ลูกจะปัสสาวะบ่อยประมาณ 10-15 ครั้งในหนึ่งวัน เกือบทุก 20 นาที ถ้าลูกปัสสาวะน้อยแม่ไม่ต้องตกใจ เพราะขนาดของกระเพาะปัสสาวะเจ้าตัวน้อยยังเล็กอยู่ แม่ไม่ต้องป้อนน้ำ ให้ลูกดื่มนมก็พอ

ทารกในวัย 1 เดือนแรก ลูกจะอุจจาระทุกครั้งหลังตื่น หรืออุจจาระหลังอิ่ม จำนวนครั้งของการอุจจาระอยู่ราว ๆ 10 ครั้งต่อวัน ช่วงวัยทารก 1 เดือนแรกจึงใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเฉลี่ยวันละ 10-15 ชิ้น

การฉี่ของทารก 3 เดือนแรก และการอึของทารก 3 เดือนแรก

ร่างกายของทารกที่เติบโตขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็เปลี่ยนแปลง ทารกในวัย 3 เดือนแรก ปัสสาวะประมาณ 10-12 ครั้งต่อวัน ปริมาณของปัสสาวะทารกก็เพิ่มขึ้นด้วย

ทารกในวัย 3 เดือนแรก จะอุจจาระประมาณ 8-10 ครั้ง สำหรับทารกกินนมแม่ และอาจน้อยลงสำหรับทารกกินนมผง ดังนั้น ถ้าลูกถ่ายบ่อยแต่ไม่มีอาการอื่น ๆ ถ่ายเหลว ก็ไม่ใช่ว่าท้องเสีย และบางครั้งทารกก็ไม่ถ่ายได้หลายวัน ไม่ใช่ว่าทารกท้องผูกแต่อย่างใด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การฉี่ของทารก 4 เดือนถึง 1 ปี และการอึของทารก 4 เดือนถึง 1 ปี

จำนวนการปัสสาวะของทารกหลัง 4 เดือนถึง 1 ปี จะไม่เกิน 10 ครั้งต่อวัน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณนมที่กิน และอาหารเสริมที่กิน (ทารกหลัง 6 เดือน) โดยเฉพาะทารก 6 เดือน ที่สังเกตได้ชัดว่า ลูกเริ่มเรียนรู้ถึงการขับถ่ายมากขึ้น จึงร้องงอแงเมื่อรู้สึกไม่สบายตัว

เมื่อทารก 6 เดือนแล้ว ลูกจะอุจจาระน้อยลง เฉลี่ยอยู่ที่ 2-5 ครั้งต่อวัน สีและลักษณะของอุจจาระก็เปลี่ยนไปตามอาหารเสริมที่ลูกกิน อุจจาระอาจจะแข็งขึ้น เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล อย่าลืมสังเกตอาการท้องผูกของลูกด้วยนะคะ ถ้าลูกท้องผูก ควรเสริมด้วยผักผลไม้

 

ลูกวัยทารกอาบน้ำบ่อยแค่ไหน

หลังจากพาลูกกลับบ้านการอาบน้ำให้ทารกสามารถอาบให้ลูกอย่างน้อย 2 ครั้ง จะอาบก่อนให้นมในมื้อสายหรือช่วงเย็นก่อนค่ำก็ได้ หลังจากอาบน้ำเสร็จก็เอาลูกเข้าเต้าดูดนม ซึ่งก็จะทำให้ลูกน้อยได้นอนหลับอีกครั้ง ทั้งนี้ ก่อนอาบน้ำให้ลูกควรเตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อย เช่น อ่างอาบน้ำที่มีแผ่นกันลื่น สบู่ แชมพู ฟองน้ำ ผ้าเช็ดตัว และใช้น้ำอุ่นทำอาบน้ำทารก วัดอุณหภูมิให้พอเหมาะไม่เย็นและร้อนจัดมากเกินไปโดยการใช้ข้อศอกจุ่มทดสอบดูว่าอุณหภูมิน้ำอุ่นสบายพอเหมาะหรือไม่ แต่หลังอายุ 1 เดือนไปแล้ว อาจใช้น้ำธรรมดาอาบให้ลูกในวันที่อากาศร้อน แต่ควรระวังไม่ให้ลมโกรกเวลาอาบน้ำ เพราะจะทำให้ทารกไม่สบายได้ หลังอาบน้ำเสร็จเช็ดตัวทุกส่วนลูกให้แห้งและเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี หากเป็นช่วงฤดูหนาวอากาศเย็นก็ใช้ชุดที่ค่อนข้างหนา

*ข้อควรระวัง* การอาบน้ำเด็กแรกเกิดที่สายสะดือยังไม่หลุด ไม่ควรนำลูกลงแช่ในอ่าง เพราะการจุ่มลูกลงอ่างอาบน้ำอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ ในช่วงนี้จึงควรใช้ฟองน้ำหรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นเช็ดตัวให้ลูก โดยเริ่มจากศีรษะไล่ลงไปตามทุกส่วนของร่างกาย เน้นส่วนที่ต้องทำความสะอาดมากเป็นพิเศษ เช่น ตามจุดข้อพับ โดยเฉพาะซอกขาหนีบ รักแร้ และทวารหนักเพื่อลดการระคายเคืองและแหล่งสะสมเชื้อโรคบนผิว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การทำความสะดือทารก ควรเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้งหลังอาบน้ำจนกว่าสายสะดือจะหลุดและโคนสะดือแห้ง หลีกเลี่ยงใช้แป้งทาหรือโรยสะดือ หรือส่วนของอวัยวะเพศและก้น เพราะแป้งจะเกาะตัวเกิดการอุดตันทำให้ผิวบอบบางอักเสบขึ้นได้

ส่วนการสระผมให้กับลูกน้อย ทำได้ระหว่างที่อาบน้ำไปด้วยเลย แต่ถ้าทารกบางคนผมบาง ทำความสะอาดศีรษะของลูกด้วยผ้านุ่ม ๆ โดยชุบน้ำให้ผ้าเปียกแล้วเช็ดไปบนศีรษะก็เพียงพอ แต่ถ้าลูกน้อยมีผมที่หนา คุณแม่สามารถใช้มือสระผมลูก โดยค่อย ๆ นวดศรีษะของลูกอย่างอ่อนโยน สำหรับทารกแค่สระผมวันละครั้งเดียวก็พอแล้ว

 

ตารางชีวิตลูกแรกเกิดถึง 1 ปี เป็นเรื่องแปลกใหม่ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องเตรียมตัว ทารกแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป พ่อแม่จึงต้องเรียนรู้ ลักษณะและนิสัยของลูกตัวเองให้ดี ที่สำคัญ พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ ดูแลทารกอย่างใกล้ชิด หากลูกมีความผิดปกติ ต้องรีบพบแพทย์นะคะ

 

รู้กันไปแล้วถึงวิธีดูแลลูกแรกเกิดถึง 1 ปี มาโหวตกันหน่อยว่า คุณแม่คิดว่า ตอนคลอดใหม่ๆ ลูกน้อยของเราหน้าเหมือนใคร กดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

 

 

ที่มา : https://thaibf.com/ และ https://www.sabuykid.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัคซีนที่ควรฉีดให้ลูก พาลูกไปฉีดวัคซีนให้ครบ วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนเสริม เริ่มฉีดตั้งแต่แรกเกิด

อารมณ์ของทารกแรกเกิด – 1 ปี พ่อแม่รู้ไหมลูกมีพัฒนาการด้านอารมณ์อย่างไร

10 วิธีดูแลทารกแรกเกิด พ่อแม่ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไรบ้าง

เด็กแรกเกิด ก็เป็นงี้แหละ 20 อาการปกติของทารกแรกเกิดที่ไม่น่ากังวล

 

บทความโดย

Tulya