เมื่อลูกเล็บขบ เรามาหาวิธีทำให้จบแบบลูกน้อยไม่เจ็บกันอยางไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเล็บขบทำอย่างไรดี เป็นปัญญาหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่ดูแล้วอาจจะแปลกประหลาดสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเผชิญ เพราะปัญหา ลูกเล็บขบ เล็บขบหนอง สร้างความเจ็บปวดให้แก่ลูกของคุณ และอาจนำไปสู่การติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ดังนั้นเราไม่ควรมองข้ามปัญหาเหล่านี้ไป วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับปัญหาเล็บขบในเด็กกัน เราไปดูกันเลยว่าสาเหตุเกิดจากอะไร และแก้ปัญหาได้อย่างไร

 

ลูกเล็บขบ เกิดจากอะไร ?

เล็บขบ (Ingrown Toenail) คือ ภาวะที่เล็บงอก หรือทิ่มเข้าไปที่บริเวณผิวหนังปลายเล็บ ซึ่งจะพบว่า เกิดได้บ่อยกับนิ้วเท้า โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้า มีผลทำให้เกิดความเจ็บปวด บวม แดง หรือบางครั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้

เล็บขบ เกิดขึ้นได้กับทุกเล็บ ทั้งเล็บมือ และเล็บเท้าสาเหตุที่เกิดอาการเล็บขบ คือการตัดเล็บที่ผิดวิธี โดยตัดเล็บสั้นโค้งเข้าไปในเนื้อขอบเล็บ เมื่อเล็บงอกใหม่ ก็งอกเข้าไปในเนื้อข้างเล็บ ส่วนเล็บขบที่นิ้วเท้าที่มักเกิดกับหัวนิ้วโป้งเท้า เกิดจากการกดบีบของเนื้อด้านข้างเล็บ ทำให้เล็บกดลงไปบนเนื้อข้างเล็บโดยมีอาการต่าง ๆ เช่นเกิดความเจ็บปวด และอาการกดเจ็บที่นิ้วเท้า มีรอยแดงบริเวณรอบ ๆ นิ้วเท้า มีอาการบวมของนิ้วเท้ารอบ ๆ เล็บเท้า ฯ

 

 

วิธีการดูแลเล็บขบทำอย่างไร?

วิธีการดูแลเล็บขบ ให้กับเจ้าตัวเล็กไม่ยากเลย หากลูกมีอาการปวด และอักเสบบริเวณนิ้วหัวแม่โป้ง (หรือนิ้วอื่น ๆ ) ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นบริเวณเล็บมือ หรือเล็บเท้าให้คุณพ่อคุณแม่ใช้น้ำอุ่น ๆ มาแช่ที่เท้า หรือมือของลูกน้อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อบรรเทา อาการปวด หลังจากแช่น้ำ เล็บที่เปียกน้ำจะนิ่ม และทำให้ตัดเล็บได้ง่ายขึ้น ค่อย ๆ ตัดเล็บให้ลูก โดยพยายามเล็มเล็บด้านข้าง ที่เข้าไปฝังในเนื้อออก และตัดเล็บให้เป็นแนวตรง ให้มากที่สุด ใส่แอลกอฮอล์ที่แผล และทายา เพื่อป้องกันอาการเล็บขบ ที่อาจเกิดขึ้นได้อีก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาบน้ำเด็กทารก เทคนิคอาบน้ำเด็กให้สะอาดและปลอดภัย อาบอย่างไรไม่ให้ลูกป่วย

 

การตัดเล็บ และรักษาความสะอาดเล็บ ของลูกนั้นเป็นเรื่องที่เราจะมองข้ามไม่ได้เลย เพราะหากเชื้อโรคจากสิ่งของ ที่ลูกหยิบจับเข้าไปในเล็บ โดยไม่ได้ทำความสะอาดให้ดีนั้น ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการหยิบจับของเข้าปาก เช่น ท้องร่วง ท้องเสีย เป็นต้น และยังต้องระวังภาวะแทรกซ้อนของเล็บขบ เพราะหากปล่อยให้เป็นเล็บขบที่มีการติดเชื้อ โดยที่ไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระดูกนิ้วเท้าได้ การติดเชื้อที่เล็บเท้า สามารถทำให้เป็นแผลอักเสบพุพองที่เท้า และขาดเลือดหมุนเวียนบริเวณที่ติดเชื้อ

 

รวมไปถึงอาจเกิดการตายของเนื้อเยื่อ บริเวณที่มีการติดเชื้อ ดังนั้นกรรไกรที่ใช้ตัดเล็บ ให้เจ้าตัวเล็กควรใช้กรรไกรปลายทู่ ควรเป็นกรรไกรสำหรับเด็ก โดยตัดเล็บให้ลูกขณะหลับ ซึ่งเป็นตอนที่ลูกจะดุกดิกขยับมือ ได้น้อยกว่าตอนตื่น ที่สำคัญระวังอย่าไปตัดเล็บจนชิดกับเนื้อมากเกินไปนะ เพราะอาจจะตัดเข้าเนื้อลูกได้ ทำให้ลูกเจ็บแบบไม่จบ ยิ่งกว่าเล็บขบอีกนะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ การดูแลเล็บแล้ว ควรเลือก รองเท้า ให้ลูกที่สวมใส่สบาย ไม่รัดนิ้วเท้าเพื่อป้องกันอาการเล็บขบ ไม่ให้เกิดขึ้นกับนิ้วเท้าลูก หมั่นตรวจดูเท้า และนิ้วเท้าของลูกน้อยเป็นประจำ หากมีแผลติดเชื้อ บวม แดง มีหนอง ควรพาลูกไปหาคุณหมอเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ เพราะถ้าแผลติดเชื้อแล้วจะหายยาก

 

 

เล็บลูกยาว จะเป็นอะไรไหมนะ?

โดยปกติลูกน้อยจะใช้มือจับส่วนต่าง ๆ ตามร่างกาย แม้เล็บจิ๋ว ๆ ของเขาจะอ่อนนิ้ม ดูไม่มีพิษภัยอะไร แต่ก็แข็งพอที่จะสามารถข่วนหน้าตัวเองให้เกิดแผลได้ เรียกได้ว่าหมดสวยหมดหล่อไปได้หลายวันเลยทีเดียว และยังไม่พอเล็บยาวก็เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้เช่นกัน และที่สำคัญถ้าหากลูกชอบเอานิ้วเข้าปากแล้วละก็ ทำให้เชื้อโรคนั้นเข้าสู่ร่างกายเข้าเต็มเลยล่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ควรตัดเล็บลูกบ่อยแค่ไหน?

เมื่อเล็บของลูกยาวมากขึ้นจนสามารถข่วนหน้าตัวเองได้แล้ว นั้นก็ถึงเวลาที่จะต้องตัดแต่งเล็บแล้วล่ะ การตัดเล็บนั้นนอกจากจะช่วยป้องกันให้ลูกไม่ข่วนหน้าตัวเอง และตามร่างกายแล้วยังช่วยในเรื่องเล็บขบอีกด้วย ซึ่งความถี่ในการตัดเล็บนั้น ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเล็บของลูกน้อยยาวเร็วแค่ไหน เด็กแต่ละคนเล็บจะยาวแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรหมั่นสังเกต และตัดให้เขาทุก ๆ สัปดาห์ดีกว่า

 

ควรตัดเล็บแบบไหนให้ลูก? เล็บขบที่นิ้วมือ

การตัดเล็บให้ลูกน้อยไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยนะ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพราะต้องใช้ความระมัดระวังค่อนข้างสูง เกิดตัดแล้วเผลอโดนเนื้ออ่อนเข้านิดเดียว รับรองเลยว่าลูกน้อยเจ็บจี๊ด ๆ แน่นอน และร้องลั่นบ้านเป็นแน่ ๆ ซึ่งการตัดเล็บให้เบบี๋ในวัยเพียงไม่กี่เดือนนั้น ควรตัดในแนวตรง ไม่ใช้โค้งมน และไม่จำเป็นต้องแคะเล็บเพราะยังไม่มีสิ่งสกปรกอยู่ในเล็บ การแคะเล็บที่ไม่ถูกต้องนั้น จะเสี่ยงต่อการรับสิ่งสกปรกได้ โดยให้เขาคืบคลาน หรือเดินได้ก่อนจึงค่อยทำการแคะเล็บให้กับเจ้าตัวน้อย

 

 

เล็บติดเชื้อในเด็ก เล็บขบหนอง เล็บขบที่นิ้วมือ ควรทำอย่างไร?

การเจ็บป่วยไม่สบายตัวหรืออาการแปลก ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูก มักเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้คุณพ่อคุณแม่ไม่น้อยเลย ถึงแม้บางครั้งอาจเป็นเพียงเล็กน้อยสามารถหายได้เองก็ตาม ดังนั้นวันนี้เรามาพูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาเล็บติดเชื้อของลูกน้อยกันดีกว่า สาเหตุของการติดเชื้อ ความรุนแรง และวิธีในการรักษาอย่างไร?

 

การติดเชื้อของเล็บมือเกิดที่เล็บ หรือขอบของเล็บ ส่วนใหญ่แล้วติดเชื้อที่เล็บมืออาจไม่มีความรุนแรงมากแต่ก็ทำให้ปวดได้ไม่น้อยเลยล่ะ ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากเชื้อรา และอาจเกิดจากแบคทีเรีย หรือไวรัสได้ เชื้อโรคเหล่านี้เข้าไปในผิวหนัง หรือรอยแตกแยกของเล็บ พบได้บ่อย ๆ ในเด็กที่มีพฤติกรรมชอบกัดเล็บ และแคะเล็บหรือในเด็กที่มีปัญหาเล็บขบ ทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อเกิดการติดเชื้อที่เล็บเท้า หรือเล็บมือ สิ่งที่เกิดขึ้นคือการบวมแดงของบริเวณที่มีการติดเชื้อ หรือมีหนองด้วย และมักจะสร้างความเจ็บปวดให้แก่ลูกมาก ๆ ด้วย และในบางรายมีอาการอักเสบรุนแรง และติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากพบว่าลูกของคุณมีไข้ขึ้น บริเวณเล็บเท้า หรือเล็บมือมีอาการบวมแดงร้อน หรือขยายใหญ่ขึ้นรวมถึงมีหนองด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปหาหมอโดยด่วน เพื่อทำการรักษาต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : เชื้อราในปากทารก ฝ้าสีขาวในช่องปากลูก เป็นเชื้อรารักษาอย่างไรดี?

 

การรักษาเล็บขบ

  • การรักษาสำหรับการติดเชื้อในเล็บมือ และเล็บเท้าขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ ในกรณีที่มีการติดเชื้อไม่รุนแรงไม่มีหนอง โดยการรักษาความสะอาดร่วมด้วยการใช้ยาทาบริเวณเล็บที่ได้รับผลกระทบ เมื่อมีหนองรอบเล็บอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือต้องประคบร้อนเพื่อระบายหนองออก ทั้งนี้หากอาการไม่ดีขึ้นมีอาการบวมแดงขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรรีบพบหมอทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นได้

 

  • การป้องกันการติดเชื้อในเล็บสามารถทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเล็บติดเชื้อ และนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงได้ โดยเริ่มจากการดูแลรักษาความสะอาดของเล็บมือ และเล็บเท้าของเด็ก ๆ เป็นประจำ ควรล้างทำความสะอาดเล็บมือ และเล็บเท้าด้วยน้ำสบู่ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการกัดเล็บ และไม่ควรตัดเล็บสั้นจนเกินไป เพราะจะทำให้สิ่งสกปรกทั้งหลายเข้าสู่ผิวหนังของลูกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

  • สุขภาพของลูก ๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เรื่องเล็กที่เกิดขึ้นกับลูกคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะประมาทเพราะอาจทำให้เป็นปัญหาร้ายแรงมาทีหลัง และคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นดูแลความสะอาด และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยอยู่เสมอ เพราะเขาไม่สามารถอธิบายได้ว่ามีความเจ็บปวดตรงไหน หรือเกิดอาการผิดปกติขึ้นกับตัวเขา

 

การกัดเล็บดูดนิ้ว ระวังติดเชื้อจากแผลเป็นหนอง!

เด็กเล็ก ๆ ที่ชอบกัดเล็บหรือดูดนิ้วเป็นเวลานาน ๆ พฤติกรรมดังกล่าวดูแล้วอาจจะธรรมดา แต่หากนิ้วนั้นเกิดเป็นแผลขึ้นมา ก็มีโอกาสติดเชื้อโรคได้เหมือนกัน หรือแผลอาจจะอักเสบหรือเป็นหนองขึ้นได้

 

การกัดเล็บดูดนิ้วทำให้หนูน้อยติดเชื้อได้

เด็กที่มีอาการแผลเป็นหนองที่ขอบเล็บ ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมดูดนิ้ว กัดเล็บ ซึ่งจะอยู่ในช่วง 1 – 3 ปี โดยได้รับเชื้อโรคจากการมีบาดแผลบริเวณรอบโคนเล็บ เช่นการดูดนิ้วนาน ๆ จนนิ้วเปื่อย หรือการกัดเล็บจนโดนเนื้อด้านในเล็บ

 

นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมอื่น ๆ ที่พบได้ เช่นชอบถูไถโคนเล็บจนเนื้อขอบเล็บย่นไปด้านหลัง ซึ่งจะเป็นทางเข้าของเชื้อโรคได้ มักเกิดในเด็กวัยตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปจนถึงวัยเรียนชั้นประถมศึกษา หรือแม้แต่การเล่นซุกซนโดยเอามือแช่ในน้ำนาน ๆ จนทำให้นิ้วเปื่อยเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ขอบเล็บได้เช่นกัน

 

เมื่อเด็กได้รับเชื้อโรคจะมีการอักเสบบริเวณรอบโคนเล็บสังเกตได้จากอาการบวมแดง ร้อน และเจ็บบริเวณรอบโคนเล็บและขอบเล็บ ถ้าหากมีการอักเสบมากจะทำให้เกิดหนองขึ้นมาได้ในกลุ่มที่มีอาการระยะเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อรา จะทำให้เล็บเปลี่ยนสี แต่อาการนี้จะไม่ค่อยพบในเด็ก

 

4 วิธีการป้องกันเด็กกัดเล็บ ดูดนิ้ว

  1. ไม่ให้ลูกกัดเล็บหรือดูดนิ้ว สามารถทำได้โดยการดึงดูดความสนใจให้ลูกเอามือออกจากปากด้วยตัวของเด็กเอง เช่นชวนลูกทำกิจกรรมที่ต้องใช้มืออย่างการปั้น หรือวาดรูป
  2. ขณะที่ลูกกัดเล็บ หรือดูดนิ้ว ไม่ควรดุหรือตีมือลูกเพราะจะทำให้ลูกยิ่งทำพฤติกรรมดังกล่าว บางครั้งการที่ลูกกัดเล็บหรือดูดนิ้ว อาจเกิดจากความเครียด และอาการวิตกกังวลได้ คุณพ่อคุณแม่ควรคุยกับลูก เพื่อให้ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ และช่วยกันแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ลูกเครียดก่อน
  3. หลีกเลี่ยงการทำอันตรายต่อเล็บ เช่นควรตัดเล็บหลังจากอาบน้ำ เพราะเล็บจะนุ่มกว่าปกติ ถ้าเป็นนิ้วมือให้ตัดโค้งไปตามรูปเล็บ แต่ถ้าเป็นนิ้วเท้าให้ตัดเป็นทางตรงเพื่อไม่ให้เล็บขบ และลดการเกิดแผลบริเวณจมูกเล็บได้
  4. ไม่ขูดสารเคลือบเล็บ เพราะเล็บของคนเรามีสารเคลือบอยู่บริเวณโคนเล็บ มีลักษณะเป็นเนื้อสีขาว ๆ หากมีการขูดออก จะเป็นทางเข้าของเชื้อโรคได้

 

การเจ็บป่วยของลูก ถึงแม้บางครั้งอาจเป็นเพียงเล็กน้อย แต่นั้นก็สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ไม่น้อยเลย  เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่เพียงตัดเล็บให้ถูกวิธี และดูแลป้องกันเล็บลูกน้อยให้สะอาด เพียงเท่านี้ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องลูกเล็บขบมากวนใจอีกต่อไปแล้วค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 กรรไกรตัดเล็บทารก ยี่ห้อไหนดี ตัดเล็บลูกได้อย่างปลอดภัย

ทำไมลูกชอบกัดเล็บ ดูดนิ้ว ดึงผม นิสัยแบบนี้แก้หายไหม

ลูกกินน้อย ลูกเลือกกิน ลูกไม่ยอมกินข้าว ลูกเบื่อข้าว พ่อแม่ต้องแก้ยังไง

ที่มา : pobpad

บทความโดย

Napatsakorn .R