มาลัคไค หนูน้องเพศชายวัยเพียง 7 เดือน ต้องจากไปอย่างไม่วันกลับด้วยโรคกาฬหลังแอ่น ซึ่งกว่าจะรู้ว่าเป็นโรคนี้ก็สายไปเสียแล้ว
นิโคล ทอมสัน คุณแม่ของหนูน้อยมาลัคไค เล่าว่า ก่อนหน้านี้ลูกชายมีอาการไข้สูง และมีผื่นขึ้นที่ตัว จึงได้นำตัวลูกชายไปที่โรงพยาบาลมิดแลนด์ แต่แพทย์ของทางโรงพยาบาลกล่าวว่า ที่อาการเป็นเช่นนี้เป็นเพราะฟันกำลังจะขึ้น และเจ็บข้อศอกก็เป็นได้ ไม่มีอะไรน่าซีเรียส จึงให้ลูกกลับบ้านโดยไม่มีการตรวจอะไรต่อ
วันที่สอง อาการของ มาลัคไค หนักขึั้นและเริ่มอาเจียน นิโคล จึงเรียกรถพยาบาลมารับตัวลูกที่บ้านไปโรงพยาบาล ปริ้นท์เซส มาร์กาเรต โดยแพทย์ของทางโรงพยาบาลบอกว่า ลูกชายน่าจะติดเชื้อไวรัส แต่แพทย์ก็ยังคงไม่ให้ลูกชายแอทมิท และให้กลับบ้านด้วยยาลดไข้สูงเพียงอย่างเดียว
วันที่สาม อาการของ มาลัคไค ก็ทรุดลงอีก นิโคลจึงพาลูกกลับไปยังโรงพยาบาลปริ้นท์เซส มาร์กาเรต อีกรอบ ครั้งนี้แพทย์ตรวจ มารัคไค อย่างละเอียดและพบว่า มารัคไค เป็นโรคกาฬหลังแอ่น และหนำซ้ำเลือดของเขาก็เป็นพิษและติดเชื้อในลำคออีกด้วย
“ถ้าก่อนหน้านี้ แพทย์ยอมรักษาและตรวจให้ละเอียดตั้งแต่แรก ก็คงรักษาชีวิตของมาลัคไคได้ทัน เพราะตลอดสามวันที่ผ่านมา ฉันและสามี ไม่เคยนิ่งนอนใจ และรู้ดีว่า มีบางอย่างเกิดขึ้นกับลูกแต่กว่าจะรู้าว่าลูกชายของฉันเป็นอะไร ก็สายไปเสียแล้ว และสำหรับแพทย์ของโรงพยาบาลแรกที่ฉันไป คุณรู้ไหมว่า คุณหัวเราะเยาะกับคำถามต่าง ๆ ที่ฉันถามเกี่ยวกับลูกชาย คุณรู้เอาไว้เลยนะว่า ตอนนี้ลูกชายของฉันจากไปแล้ว และถ้าพวกคุณทำหน้าที่ของตัวเองและยอมตรวจลูกชายของฉันตั้งแต่แรก ลูกชายของฉันก็ยังคงมีชิวิตอยู่ และฉันจะเอาเรื่องพวกคุณให้ถึงที่สุด” นิโคลกล่าว
ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคนขอแสดงความเสียใจกับการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของหนูน้อยมาลัคไคด้วยนะคะ
คุณพ่อคุณแม่คะ โรคกาฬหลังแอ่นคืออะไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันค่ะ
โรคกาฬหลังแอ่น คือโรคติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยบางคนที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการที่รุนแรงและเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า Neisseria Meningitidis ซึ่งเชื้อดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้อีก
ในคนปกติร้อยละ20 สามารถตรวจพบเชื้อนี้ในคอ โดยที่ไม่มีอาการ แต่มีผู้ป่วยบางคนที่เชื้อนี้เข้ากระแสเลือด และทำให้เกิดโรค โดยมากจะเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และช่วงอายุ 15-24 ปี เป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงกับเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5-10 แม้ว่าจะให้การรักษาเต็มที่แล้วก็ตาม
การติดต่อไข้กาฬหลังแอ่น
การติดเชื้อจะเกิดเฉพาะจากคนสู่คน ไม่มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคหรือเป็นแหล่งรังโรค การติดต่อเกิดโดยการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย หรือของผู้ที่เป็นพาหะ หรือการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งเหล่านี้แล้วนำมาสัมผัสกับเยื่อบุจมูก ตา หรือปากของเรา ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย หรืออาศัยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นที่เกิดภาวะติด เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะมีโอกาสติดเชื้อจากผู้ป่วยมากกว่า 400 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไปๆที่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
การติดต่อจะผ่านทาง
- เยื่อเมือกในปาก จมูก เช่นการจูบปาก การเป่าปากและจมูก หรือใบหน้าใกล้ชิดกันเป็นเวลานาน
- เสมหะหรือน้ำลายผู้ป่วย
เชื้อนี้จะติดต่อทางน้ำลาย หรือเสมหะ โดยการสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน จูบปากกัน หรือการผายปอดช่วยชีวิต
ระยะฝักตัวของโรค
- ระยะฝักตัว (ระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการของโรค) ประมาณ3-4 วันโดยเฉลี่ย 1-10 วันระยะติดต่อ
- เชื้อนี้สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นตราบที่ยังพบเชื้อนี้อยู่ แต่หลังจากให้ยา 24 ชั่วโมงแล้วจะไม่ติดต่ออาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น
ที่มา: Perthnow และ Siamhealth
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ดูแลลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
แม่รู้ไหม โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เด็ก ๆ ก็เป็นได้