ลูกเป็นเหา ทำอย่างไรดี เวลาเด็ก ๆ ไปโรงเรียนชอบติดเหาจากเพื่อนมา มีวิธีการกำจัดเหาอย่างไร บ้านไหนมี ลูกเป็นเหา วันนี้เรานำ วิธีกำจัดเหาบนหัวลูกมาฝากค่ะ
เหา เป็นแมลงที่อยู่มาแต่ยุคโบราณ “สมัยพระเจ้าหาว” หลายคนอาจเคย เป็นเหา เมื่อสมัยเด็กๆ บางคนอาจเคยเป็นหลายครั้งด้วยซ้ำ เจ้าตัวเล็กของหมอก็หนี เหาไม่พ้น เมื่อลูกอายุ 2 ปี วันนั้นลูกนอนหนุนตักแม่อยู่ ขณะลูบผมลูกก็เห็นแมลง ตัวเล็กๆ เดินอยู่บนหัวจึงจับออก สักพักก็เห็นตัวอื่นๆ อีกหลายตัวคลานยั้วเยี้ยไปหมด “ตายละลูกเป็นเหา”
ต้องไปหาซื้อแชมพูมาสระ ต้องหาหวีมาสางไข่เหา ต้องนั่งหาเหา กันทั้งพ่อแม่ เมื่อลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล วันหนึ่งลูกกลับมาเล่าให้ฟังว่า “วันนี้คุณครู ให้นอนแยกจากเพื่อนๆ เพราะเป็นเหา” เอาอีกแล้วเรา ดูที่ศรีษะลูก ไม่เห็นไข่เหา วันรุ่งขึ้นไปพบครูจึงรู้ว่าเพื่อนสนิทของลูกเป็นเหา ครูจึงจับเด็กกลุ่มนี้ นอนแยกออกมาก่อนไม่ให้ติดคนอื่น
เมื่อ ลูกเป็นเหา วิธีกำจัดเหาบนหัวลูก
การกำจัดเหาสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
- กำจัดเหาด้วยยา
ผลิตภัณฑ์กำจัดเหานั้นหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบแชมพูหรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของสารที่มีฤทธิ์กำจัดเหา เช่น ไพรีทริน เพอร์เมทริน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจทำให้หนังศรีษะและบริเวณที่สัมผัสตัวยาเกิดอาการระคายเคือง ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการใช้เพื่อรักษาในเด็กทารกและเด็กเล็ก
หากอาการไม่ดีขึ้นหลังใช้ยา ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์อาจแนะนำยาสำหรับรับประทานร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อกำจัดเหาอย่างมีประสิทธิภาพ
- กำจัดเหาด้วยสมุนไพร
สมุนไพรบางชนิดอย่างเมล็ดน้อยหน่าอาจช่วยกำจัดเหาได้ โดยนำเมล็ดน้อยหน่า 1 ส่วนมาบดและผสมเข้ากับน้ำมันมะพร้าว 2 ส่วน นำเฉพาะส่วนของเหลวที่ได้มาชโลมให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมงแล้วจึงล้างออกพร้อมกับใช้หวีสางเหาหรือหวีที่มีซี่เล็กและถี่สางผมเพื่อเป็นการกำจัดตัวเหาและไข่เหา โดยทำซ้ำทุก 7-10 วันจนกว่าจะหาย นอกจากนี้ อาจใช้ส่วนผสมอื่น ๆ แทนเมล็ดน้อยหน่าได้ เช่น ใบยาสูบ ใบน้อยหน่า หรือใบสะเดา เป็นต้น
- การสางผม
การสางผม นิยมใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยทำให้ให้ผมเปียกและใช้สารหล่อลื่น เช่น ครีมนวดผม น้ำมันมะกอก สารส้ม ใช้หวีซี่ถี่ ๆ หรือหวีเสนียดสางผม ตรวจดูทุกครั้งที่สางว่ายังมีเหา หรือไข่เหาหรือไม่ สางจนเหาไม่มี ทำซ้ำทุก 3-4 วัน จนครบ 2 สัปดาห์ ต้องทำต่อถ้ายังพบตัวเหาอยู่
- ยาฆ่าแมลงทำพิเศษเพื่อฆ่าเหาบนศรีษะ
มีทั้งในรูปครีม เจล หรือโลชั่น ห้ามซื้อ ยาฆ่าแมลงตามท้องตลาดใส่เอง คนละชนิดกันใช้ไม่ได้นะคะ ทำตามคำแนะนำ เอกสารกำกับยา ส่วนมาก ต้องสระผมให้สะอาด แล้วใส่ยาหมักไว้ 10 นาที แล้วล้างออก ยาบางชนิดอาจต้องทิ้งไว้ทั้งคืน ควรจะรักษาซ้ำอีกในสัปดาห์ถัดไป เพื่อฆ่าเหา ที่อาจหลงเหลืออยู่ หรือเหาตัวอ่อนที่เพิ่งออกจากไข่
- ทำความสะอาดของใช้
ทำความสะอาดเสื้อผ้า หมวก ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และปลอกหมอน โดยซักด้วยน้ำร้อนและใช้ความร้อนทำให้แห้ง ส่วนหวีให้ล้างในน้ำร้อนอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส หรือเคลือบด้วยยาฆ่าเหานาน 15 นาที
- ยากินฆ่าเหา
ยากินฆ่าเหา ต้องสั่งโดยแพทย์ ใช้ในผู้ป่วยที่ดื้อต่อการรักษาวิธีอื่น
- หากรุนแรงควรโกนผม
โกนผมบริเวณดังกล่าวออก อาจพิจารณาใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง และดื้อ ต่อการรักษา ด้วยวิธีอื่น ๆ
ยารักษาโรคเหา มียาอะไรบ้าง
- เพอร์เมทริน (Permethrin)
เป็นยารักษาโรคเหาที่ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ต้องระมัดระวังผลข้างเคียง เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการคันหนังศีรษะ หรือหนังศีรษะเป็นรอยแดงได้ ยกเว้นผู้ที่มีอาการแพ้ดอกเก็กฮวย หรือแพ้หญ้าแร็กวีด (Ragweed)
- ไพรีทริน (Pyrethrins)
ยารักษาโรคเหาที่ผลิตจากไพรีทรินผสมกับสารเคมีต่าง ๆ ช่วยในการฆ่าเหา สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ยกเว้นผู้ที่มีอาการแพ้ดอกเก็กฮวย หรือแพ้หญ้าแร็กวีด (Ragweed) นอกจากนี้ ตัวยาอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น เกิดอาการคัน หรือมีรอยแดงบนหนังศีรษะ ยาชนิดนี้นอกจากใช้ภายนอกแล้วอาจอยู่ในรูปของยาสระผมด้วย
- มาลาไทออน (Malathion)
เป็นยากำจัดเหาที่ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในรูปของยาสระผม ใช้สระผมแล้วปล่อยทิ้งไว้ 8 – 12 ชั่วโมง จากนั้นล้างออก ทั้งนี้ ตัวยาดังกล่าวมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จึงควรหลีกเลี่ยง การใช้ไดร์เป่าผมขณะที่ใช้ยา และควรเก็บรักษาให้ห่างจากวัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
- คาบาริล (Carbaryl)
เป็นยาที่ใช้ในการกำจัดเหา โดยตัวยาจะเข้าไปทำลาย ระบบประสาทของเหาจนตายลงในที่สุด อีกทั้งยังทำลายไข่เหาได้ ซึ่งในปัจจุบัน ยาชนิดนี้มักผสมระดับความเข้มข้นต่ำอยู่ในรูปของยาสระผม และครีม ยาชนิดใช้ภายนอกนี้ควรใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจาก เป็นยาที่มีผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิวหนัง อาการแพ้ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน และควรเก็บให้ห่างจากวัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
ข้อห้ามในการใช้ยารักษาเหา
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
- ผู้ป่วยโรคหอบหืด ลมชัก หรือแพ้ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง มีปัญหาหนังศีรษะ หรือมีผิวที่ไวต่อสารต่าง ๆ
- สตรีมีครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
เหากระโดดใส่ได้หรือไม่
เหาไม่สามารถกระโดด หรือบินจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง แต่ติดต่อทางสัมผัส ใกล้ชิด เช่น เด็กที่เล่นใกล้ชิดกัน การใช้หมวก หวี หูฟัง ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือนอน เตียงเดียวกัน
ลดความเสี่ยงในการเป็นเหา
วิธีในการป้องกันเหาอาจทำได้ ดังนี้
- ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น หรือผู้ที่เป็นเหา โดยเฉพาะหมวก หวี และผ้าเช็ดตัว
- รักษาความสะอาด ของใช้ส่วนตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หมวก ผ้าปูที่นอน หรือผ้าห่ม
- สระผมเป็นประจำ หรืออย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ไม่อยู่ใกล้ หรือสัมผัสกับผู้อื่น หากทราบว่าผู้อื่น หรือตนเองเป็นเหา
นอกจากนี้ เหามักพบในเด็ก เป็นส่วนใหญ่ ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจบุตรหลาน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นเหา หากพบว่าบุตรหลาน มีอาการคล้ายเป็นเหา ควรรีบเข้ารับการรักษา เพื่อลดความเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างการอักเสบและการติดเชื้อ
ที่มา : (pobpad),(Mahidol),(pobpad)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
กำจัดเหาบนหัวเด็กแบบถอนรากถอนโคน ด้วยวิธีนี้สิ ชนะเลิศ!!
วิธีกําจัดเหา วิธีกําจัดไข่เหาออกจากเส้นผม สมุนไพรกําจัดเหาถอนรากถอนโคน! การป้องกันเหาขึ้นหัวลูก
เหา เรื่องเหา ๆ ที่พ่อแม่หนักใจ เหาคืออะไร เกิดจากอะไร และกำจัดได้อย่างไร