ลมพิษเกิดจากอะไร ติดต่อกันได้ไหม ลูกเป็นผื่นลมพิษบ่อยทำอย่างไรดี?

ลมพิษ เกิดจากอะไร ทำไมลูกเป็นผื่นลมพิษบ่อย จากสถิติทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ 1 ใน 10 คน จะเคยเป็นผื่นลมพิษอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่หลายคนอาจมีประสบการณ์ลูกเป็นผื่นลมพิษบ่อย ๆ และไม่รู้ว่าอาการลมพิษเกิดจากอะไร สามารถติดกันได้ไหม อันตรายหรือเปล่า เป็นกี่วันจึงจะหาย วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณแม่ทุกคนมาไขคำตอบว่า ลมพิษเกิดจากอะไร พร้อมบอกวิธีแก้ลมพิษเบื้องต้นกันค่ะ

 

ลมพิษ เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ ลมพิษ กี่วันหาย

ผื่นลมพิษ คือผื่นที่เกิดจากปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ โดยการหลั่งสารเคมีที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีของเหลวรั่วซึมออกมานอกหลอดเลือด และเกิดการบวมน้ำของชั้นผิวหนัง ทำให้เห็นผิวหนังเป็นวง นูนแดง และมีอาการคัน ผื่นมักจะอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แล้วก็หายไปโดยไม่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ และไม่เป็นโรคติดต่อ

 

ผื่นลมพิษแบ่งได้เป็นกี่ชนิด?

ผื่นลมพิษ สามารถแบ่งตามระยะเวลาการดำเนินของโรคได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง

 

ลมพิษกี่วันจึงหาย

ผื่นลมพิษเฉียบพลัน เป็นชนิดที่พบได้บ่อย มักมีอาการประมาณ 1 – 2 วัน แล้วก็หายไปได้เอง ส่วนผื่นลมพิษเรื้อรัง คือผื่นลมพิษที่มีอาการติดต่อกันทุกวัน หรือเป็น ๆ หาย ๆ เกือบทุกวัน ติดต่อกันนานเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลมพิษคืออะไร ? ประเภทของลมพิษ อาการของโรคลมพิษ และวิธีรักษา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สาเหตุของผื่นลมพิษ เกิดจากอะไร?

สาเหตุของผื่นลมพิษที่พบบ่อย สามารถแบ่งได้ตามชนิดของผื่นลมพิษดังนี้ ผื่นลมพิษเฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

  1. การติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของผื่นลมพิษเฉียบพลันในเด็ก โดยส่วนใหญ่ มักเป็นการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจ
  2. อาหาร เช่น นมวัว ไข่ ถั่วลิสง แป้งสาลี และอาหารทะเล
  3. ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้สูง
  4. แมลง เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มด กัดต่อย
  5. สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรหญ้า ที่สูดดม หรือสัมผัส ก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับผื่นลมพิษเรื้อรัง มักจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ก็มีการศึกษาที่พบว่า ผื่นลมพิษเรื้อรัง อาจเกิดจากปัจจัยกระตุ้นทางกายภาพ เช่น

  • ความเย็น
  • น้ำหนักกดทับ
  • การถูไถ
  • แสงแดด

นอกจากนี้ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งตับ รวมทั้งโรคติดเชื้อที่ค่อนข้างยืดเยื้อ เช่น พยาธิ เชื้อรา ไวรัสตับอักเสบชนิด B และ C การติดเชื้อ Helicobacter pylori ในกระเพาะอาหาร ก็มักทำให้เกิดผื่นลมพิษชนิดเรื้อรัง มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ มากกว่าลมพิษเฉียบพลัน

 

วิธีแก้ลมพิษเบื้องต้น ลูกมีอาการผื่นลมพิษควรทำอย่างไร ?

  • ถ้าลูกมีอาการผื่นลมพิษเฉียบพลันโดยอาการไม่รุนแรง คุณพ่อคุณแม่สามารถให้รับประทานยาต้านฮิสตามีน และสังเกตอาการที่บ้านได้
  • แต่ถ้าอาการไม่หายไปภายใน 24 ชั่วโมง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยน หรือให้การรักษาเพิ่มเติมด้วยยากดภูมิคุ้มกันตามความเหมาะสม
  • สิ่งที่สำคัญมาก คือควรพยายามหาสาเหตุ และกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการในครั้งต่อไป

แต่ถ้ามีอาการนานมากกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งจัดว่าเป็นผื่นลมพิษเรื้อรังแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษา และหาสาเหตุของโรคต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็นลมพิษ ผื่นขึ้นตามตัวเป็นๆ หายๆ พ่อแม่ควรทำอย่างไร กี่วันถึงจะหาย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ผื่นแพ้อื่น ๆ บอกโรคอะไรได้บ้าง ?

  • ผื่นแดงที่แก้ม และมีไข้

อาการลูกมีไข้ และมีผื่นแดงเกิดขึ้นที่แก้มทั้งสองข้าง อาจเป็นอาการของโรคฟิฟธ์ หรือ Slapped Cheek Syndrome ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Parvovirus B19 ลักษณะอาการจะมีไข้ต่ำ ๆ รู้สึกหนักศีรษะ มีน้ำมูก คัดจมูก และเจ็บคอเล็กน้อย ผื่นแก้มที่แดงขึ้นทั้งสองข้าง จะมีความร้อน และอาจจะลามลงไปตามลำตัว แขน และขาได้

โดยปกติอาการเหล่านี้จะหายไปภายในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ วิธีการรักษาเบื้องต้น สามารถทำได้โดยดื่มน้ำมาก ๆ และรับประทานยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ก เพื่อลดไข้

 

  • ตุ่มขึ้นที่มือ เท้า และในปาก

โรคมือ เท้า และปากมักเกิดขึ้นในเด็กทารก หรือเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เด็กจะมีตุ่มขึ้นที่มือ เท้า และมีแผลเปื่อย หรือร้อนในเกิดขึ้นในปาก รวมทั้งมีอาการไข้เป็นระยะเวลาประมาณ 5 – 7 วันร่วมด้วย

โรคมือเท้าปาก ยังไม่มีวัคซีน หรือการรักษาที่จำเพาะเจาะจง ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการ เช่น ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อบรรเทาอาการขาดน้ำ รับประทานอาหารอ่อน และรับประทานยาลดไข้ เป็นต้น แต่หากมีอาการแทรกซ้อน ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ลูกมีอาการซึม เบื่ออาหาร ปวดศีรษะมาก มือสั่น หายใจเร็ว หน้าซีด มีอาการสับสน และอาเจียน พ่อแม่ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคผื่นลมพิษ แม่ตั้งครรภ์ โรคผื่นลมพิษในคุณแม่ตั้งครรภ์ พบบ่อย! ผื่น PUPPP

 

 

  • ผื่นสีชมพู แดง ขึ้นตามตัว

เป็นสาเหตุของโรคไข้อีดำอีแดง หรือ Scarlet Fever ลักษณะของผื่นจะคล้าย ๆ ผิวไหม้ และมีผิวสัมผัสคล้ายกระดาษทราย บางคนจะมีตุ่มขึ้นที่ลิ้น เจ็บคอ ปวดศีรษะ มีไข้สูง และหนาวสั่น เป็นอาการเริ่มต้น ก่อนจะมีผื่นขึ้นบริเวณรอบคอ หน้าอก และลามลงมาที่ลำตัว กระจายไปอย่างรวดเร็ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคไข้อีดำอีแดง มักเกิดขึ้นกับเด็กอายุ 5 – 15 ปี และอาจมีโรคแทรกซ้อนคือ โรคไข้รูมาติก และหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน วิธีการรักษาทำได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะต่อเนื่องจนครบ 10 วัน เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

 

  • ผื่นสีน้ำตาลแดง

ผื่นสีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นบริเวณศีรษะ ลำคอ และกระจายไปตามตัว เป็นอาการของโรคหัด โดยอาการจะเริ่มต้นจากมีไข้สูง เจ็บตา ตามีความอ่อนไหวต่อแสง ปวดกล้ามเนื้อ และมีจุดสีเทาขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้ม โรคหัด (Measles) เกิดจากเชื้อไวรัสคนละชนิดกับโรคหัดเยอรมัน แต่ทั้งสองโรคนี้มักจะแพร่ระบาดในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น และสามารถติดต่อได้ทางสารคัดหลั่ง และการสัมผัส

โรคหัดสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ที่ระบุของกระทรวงสาธารณสุข โดยเด็กทุกคนจะต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด เมื่ออายุระหว่าง 9 – 12 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4 – 6 ปี ก็จะสามารถป้องกันโรคหัดได้ตลอดไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 เคล็ดลับ แก้ปัญหา “ลูกผิวแพ้ง่าย” วิธีทำให้ผิวลูกเนียนนุ่ม ไม่มีผดผื่นคัน

ฉีดวัคซีนเด็ก ต้องฉีดอะไรบ้างที่สำคัญต่อทารกแรกเกิด เพื่อภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด

ทำไม? ลูกเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง วิธีรักษาลูกเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง ลูกเป็นผื่นคันทั้งตัว

ที่มา : NHS, bumrungrad, thaichildcare, thaichildcare