ลูกชอบดึงผม ถอนผมตัวเอง ลูกต้องการบอกอะไรพ่อแม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เจ้าตัวเล็กบ้านไหนมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่ติดเป็นนิสัยบ้างคะ? อย่างการดึงผมหรือถอนผม ที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่กว่าจะมารู้ตัวอีกที ผมลูกก็หายเป็นหย่อม ๆ หรือหัวล้านไปเสียแล้ว แล้วเราจะหยุดพฤติกรรม ลูกชอบดึงผม แบบนี้ได้อย่างไร? เป็นอาการทางจิตไหม? วันนี้ theAsianparent จะพาไปหาคำตอบร่วมกันค่ะ

 

ลูกชอบดึงผม หรือลูกต้องการบอกอะไร ?

ลูกชอบถอนผมตัวเอง เป็นพฤติกรรมที่ทำให้พ่อแม่แปลกใจอยู่ไม่น้อย เพราะทุกการกระทำของลูกมักจะมีเหตุผลเสมอ เนื่องจากทารกบางคนยังไม่สามารถพูดออกมาได้ จะอธิบายก็ลำบากจึงจำเป็นต้องแสดงออกทางร่างกายเพียงอย่างเดียว ซึ่งพ่อแม่ต้องทำความใจถึงนิสัยของลูกเพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในอนาคต

 

 

สาเหตุที่ ลูกชอบดึงผม

เด็กที่ชอบดึงผม หรือชอบเอาผมมาพันนิ้วตัวเองในระหว่างที่กำลังดูโทรทัศน์ กำลังจะนอน หรืออ่านหนังสืออย่างเพลิดเพลิน สาเหตุเกิดจากความเครียด หรือความวิตกกังวล เนื่องจากลูกน้อยมีความรู้สึกอยากใกล้ชิดคุณแม่ จึงดึงผมเพื่อให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายความเครียด พอทำบ่อย ๆ ก็กลายเป็นความเคยชิน นิสัยนี้จะหายไปเองเมื่อมีอายุได้ 4 ขวบ หากไม่หายพ่อแม่ต้องหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้

 

หากลูกน้อยกำลังจะนอนแต่มีการดึงผม เป็นสัญญาณของความเมื่อยล้า เมื่อพ่อแม่เห็นลูกทำพฤติกรรมดังกล่าว ต้องหยุดวางลูกนอนบนเตียงทันที แล้วนำเขามากอด มาหอมให้ลูกน้อยรู้สึกมั่นใจ ไม่เครียด และไม่ต้องกังวล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : กลั้นหายใจ อาการของทารกชอบร้องกลั้น ต้องรับมืออย่างไร?

 

 

เด็กบางคนอาจจะดูดนิ้วด้วย เพราะทั้งคู่เป็นปัจจัยส่งเสริมกัน หากอาการนี้เริ่มระหว่างอายุ 5 – 12 ขวบ มักเป็นการระบายออกถึงความโกรธ หรือความก้าวร้าว ยิ่งถ้าเป็นหลังเข้าโรงเรียนใหม่ ๆ ต้องดูว่ามีเรื่องที่ทำให้ลูกน้อยไม่สบายใจที่โรงเรียนหรือเปล่า เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่รู้จักวิธีบอกความรู้สึก ความนึกคิดของตัวเองออกมาเป็นคำพูด แต่จะใช้วิธีดึงขนคิ้ว ขนตาแทน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ในเด็กที่อายุมากกว่า 12 ขวบ พบได้ในเด็กที่ย้ำคิดย้ำทำ เป็นการประท้วงต่อต้านของเด็กที่เข้าสู่วัยรุ่น และเป็นสัญญาณของความเครียดเช่นเดียวกัน ที่อาจเกิดจากความรู้สึกผิดหวัง เหนื่อย หรือหงุดหงิด โดยอาการดึงผมนี้ เราจะเรียกว่า “Trichotillomania” เป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

 

โรคดึงผมตัวเองคืออะไร ?

โรคดึงผม หรือ โรคทิโชทิโลมาเนีย (Trichotillomania) คือโรคที่ไม่สามารถควบคุมความต้องการที่พุ่งขึ้นมาจากภายในได้ซึ่งพบได้ตั้งแต่เด็กวัยเรียนไปจนถึงผู้ใหญ่โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. การกระทำขณะที่รู้ตัว

อาจจะเกิดจากความรู้สึกไม่สบายหนังศีรษะ คัน หรือรู้สึกยุกยิก ๆ รวมไปถึงรู้สึกว่าเส้นผมไม่ตรง ไม่เรียบทำให้อยากดึงออก เมื่อดึงออกแล้วจะรู้สึกสบายใจขึ้น รู้สึกโล่งขึ้น

 

2. การดึงผมโดยไม่รู้ตัว

มักจะดึงระหว่างทำกิจกรรมอื่นอยู่ เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ ทำงาน เป็นต้น นับเป็นการกระทำแบบเผลอที่ไม่รู้ตัว และไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งทั้งสองแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นในคน ๆ เดียวกันได้

 

 

วิธีแก้ลูกชอบดึงผม

เบื้องต้นพ่อแม่ต้องดูว่าลูกเราชอบดึงผมตัวเองเพราะอะไร หากคิดว่าเป็นเพราะว่ามาจากอาการคัน แนะนำให้คุณแม่ใช้ยาสระผมและยาลดการอักเสบ ถ้าลูกน้อยเกาหนักจนเป็นแผลก็ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อมาใช้ แต่ถ้าลองแล้วยังเป็นอยู่แสดงว่าเด็กอาจจะเกิดความเครียด ดังนั้น พ่อแม่ต้องพยายามหาสาเหตุให้ได้ แล้วลองหากิจกรรมหรือวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกดีขึ้น เช่น การวาดรูปกับลูก ว่ายน้ำ ระบายสี ขี่จักรยาน

 

สำหรับเด็กที่มีอาการดูดนิ้วร่วมด้วย และเป็นเด็กโตแล้วพ่อแม่ต้องหาสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สบายใจ เสียก่อน จากนั้นสอนให้ลูกรู้จักการระบายความรู้สึกออกมา และเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าความคิดของตัวเองกับพ่อแม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อย่าไปบังคับ หรือไปดุต่อว่าลูกน้อยให้หยุดดึงผม เนื่องจากพวกเขายังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจ และอาจจะทำให้เลวร้ายลงกว่าเดิมไปอีก เพราะลูกอาจเกิดความเครียดที่มากขึ้นอีกวิธีคือการพาลูกไปตัดผมให้สั้นแทน เด็กจะได้ไม่สามารถดึงผมได้อีก

 

หากลองทำแล้วลูกไม่มีอาการดีขึ้น อาการหนักขึ้น ผมลูกน้อยเริ่มบาง เริ่มมองเห็นหนังศีรษะ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลองปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาที่ตรงจุด พร้อมกับพูดคุยกับลูกน้อยเพื่อให้เขาได้ลดพฤติกรรมบางอย่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกฟันบิ่น ฟันแตก เป็นฟันน้ำนมก็ติดเชื้อได้ ป้องกันอย่างไรดี ?

 

ขั้นตอนบำบัดพฤติกรรมลูกชอบดึงผม

1. หากิจกรรมทำ

หากว่าลูกดึงผมแบบไม่รู้ตัว และมักจะดึงในช่วงที่ทำกิจกรรมเพลิน ๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ลองเพิ่มงานที่ต้องบีบ หรือของเล่นที่ให้ใช้มือจับบีบคลายเครียดแทน เพื่อให้มือไม่ว่าง หรือลองแนะนำกิจกรรมอื่นที่ใช้มือเป็นหลัก เพื่อให้ลูกลดการใช้มืออย่างไร้จุดหมาย

 

2. คอยอยู่เคียงข้างลูก

ใช้เวลากับลูกให้มากขึ้น เพื่อจะคอยสังเกตพฤติกรรม และตักเตือนลูกได้เมื่อลูกกลับมาดึงผมอีกครั้ง แต่แนะนำว่าไม่ควรดุว่าลูก แต่ควรใช้วิธีพูดเตือนจะดีกว่า

 

3. คุณหมอช่วยได้

หากการดึงผมเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อย และหนักจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน หรือต้องทรมานกับพฤติกรรมนั้น อาจเป็นสัญญาณเตือนแล้วค่ะว่าต้องเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอย่างจริงจัง เพราะนี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของภาวะย้ำคิดย้ำทำ หรือมีความเครียดภายใน การปรึกษาแพทย์เพื่อไม่ให้พฤติกรรมลามจนเกิดผลกระทบ จึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อยค่ะ

 

 

บางครั้งพฤติกรรมเหล่านี้ อาจจะสะท้อนถึงการเลี้ยงดู หรือการใช้เวลาของพ่อแม่ ที่ไม่เพียงพอต่อลูกน้อยก็เป็นได้ค่ะ เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ลองจัดเวลาใหม่ เพื่อให้คุณได้ใช้เวลากับลูกมากขึ้น เชื่อว่านอกจากการใช้ยาหรือบำบัดพฤติกรรมแล้ว ความรักความใส่ใจของคุณพ่อคุณแม่ ก็สามารถช่วยให้ลูกหยุดพฤติกรรมชอบดึงผมได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกเล่นโทรศัพท์จนตาอักเสบหวิดตาบอด เคยได้ยินมาไม่อยากเชื่อ จนลูกเป็น!

การ์ตูนเสริมพัฒนาการ เสริมความรู้ เสริมทักษะ สำหรับลูกน้อย (รวมคลิป)

แม่ผัวลั่น อาบน้ำร้อนมาก่อน จะป้อนกล้วยลูก 2 เดือน พอห้ามกลับโดนไล่ไปอยู่กับหมอ

ที่มา : sanook, 2

บทความโดย

Khunsiri