รกเกาะต่ำ เป็นแบบไหน ทำไมใครๆก็เตือนให้คนท้องต้องระวัง

รกเกาะต่ำ เป็นหนึ่งในภาวะครรภ์เสี่ยงที่แม่ท้องต้องระวัง รกเกาะต่ำ เป็นอย่างไรรกเกาะต่ำอันตรายแค่ไหน แบบไหนเสี่ยง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ก่อนจะทำความรู้จักกับ รกเกาะต่ำ หรือ ภาวะรกเกาะต่ำ เรามาทำความรู้จัก กับ รกกันก่อน รกคืออวัยวะพิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ จากไข่ที่ผสมแล้ว โดยรกนั้นจะเจริญเติบโต ไปพร้อมๆ กับ ทารกในครรภ์ และทำหน้าที่นำสารอาหารจากคุณแม่ ส่งผ่านมาเลี้ยงลูกน้อย ที่อยู่ในท้อง ซึ่งโดยปกติแล้ว รกควรจะเกาะอยู่ที่ผนังส่วนบนของโพรงมดลูก ทำให้ไม่มี สิ่งกีดขวางทางคลอดของทารก แต่ถ้ารกมาเกาะ อยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูก หรือ คลุมมาถึงด้านในของปากมดลูก ลักษณะ แบบนี้จะเรียกว่า รกเกาะต่ำซึ่งถือว่าเป็นภาวะ ไม่ปกติที่มักพบได้ในหญิงตั้งครรภ์ ประมาณ 1 ใน 200 คน

รกเกาะต่ำอันตรายอย่างไร

ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้แม่ท้องมีเลือดออก ทางช่องคลอด ส่วนใหญ่เลือดที่ออกครั้งแรก จะออกไม่มาก และมักจะหยุดเอง ถ้าไม่มีสิ่งไปกระตุ้น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าแม่ท้องมีเลือดออกมาก จะมีผลต่อทั้งแม่ และ ลูกในครรภ์ อาจจำเป็นต้องผ่าคลอด แม้ว่าอายุครรภ์ จะยังไม่ถึงกำหนด หากหัวใจของทารกเต้นผิดปกติ ก็อาจทำให้ทารกเสียชีวิต ในครรภ์ได้ และภาวะรกเกาะต่ำ นี้อาจทำให้แม่ท้องตกเลือด และ อาจช็อคจากการเสียเลือด จนเสียชีวิต บางครั้งหากมารดา เสียเลือด มากหลังผ่าตัดคลอดแล้ว อาจจำเป็นต้องตัดมดลูกออกเพื่อ หยุดเลือดด้วย โดยอัตราการเสียชีวิต ของแม่ท้องที่เกี่ยวข้องกับภาวะรกเกาะต่ำนั้น พบได้ 2 – 3 % ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่อันตรายมาก เลยทีเดียว

 

ปรึกษาปัญาหา รกเกาะต่ำ กับสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากโรงพยาบาลชั้นนำได้ฟรี ผ่านแชท และ VDO Call แบบส่วนตัว ผ่าน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรมี ดาวนโหลดเลย!

 

รกเกาะต่ำมีกี่แบบ

รกเกาะต่ำแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ ตามความรุนแรง ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกทั้งหมดรกปิดปากมดลูกทั้งหมดทำให้ทารกคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องผ่าคลอดทารกออกมา
  • รกเกาะต่ำ คลุมปากมดลูก เป็นบางส่วนปากมดลูกที่ขยายมากขึ้นอาจไปดึงให้รกขยับสูงขึ้น บางครั้งอาจไม่ขวางการคลอดของทารก แต่จะทำให้มีเลือดออกมาก ทำให้ต้องผ่าคลอดทารกออกมารกเกาะต่ำบริเวณด้านล่างของมดลูกแต่ไม่คลุมปาก
  • มดลูกคือทารกสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ถึงแม่จะสามารถคลอดทารกทางช่องคลอดได้ ก็ทำให้เลือดออกมามากเช่นกัน

รกเกาะต่ำเกิดขึ้นได้อย่างไร

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า รกเกาะต่ำเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำมีดังนี้

  • ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง
  • ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก หรือ 35 ปีขึ้นไป
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน ยิ่งผ่าตัดหลายครั้ง ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เคยขูดมดลูก
  • แม่ท้องสูบบุหรี่จัด
  • การติดเชื้อในครรภ์ เช่น ซิฟิลิส
  • ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีรกเกาะต่ำ

สำหรับคุณแม่ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ สามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  • ไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด
  • เลือดไหลออกมาไม่มาก แต่เลือดออกบ่อยครั้ง

หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ไม่ควรนิ่งนอนใจและควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รกเกาะต่ำเป็นเรื่องสำคัญที่แม่ท้องหลายคนมองข้าม และเป็นอีกเรื่องที่เป็นอันตรายถึงขั้นที่อาจทำให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เสียชีวิตได้ หากรู้ว่าตั้งครรภ์ควรรีบไปฝากครรภ์ และควรไปตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากรกเกาะต่ำแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะที่เป็นอันตรายอื่นๆได้อีกด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของรกเกาะต่ำ

ภาวะรกเกาะต่ำจะส่งผลต่อทั้งมารดา และ ทารกในครรภ์ได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มาก คือ การคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 2 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะต่ำ รกที่ฉีกขาดหรือมีเลือดออกจะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางกับทารก และต้องผ่าคลอด (Cesarean Section) แบบฉุกเฉิน หากเสียเลือดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ผิวซีด หายใจสั้น ชีพจรอ่อนหรือเต้นเร็วกว่าปกติ ความดันในเลือดลดต่ำลง โลหิตจาง เป็นต้น

การป้องกันรกเกาะต่ำ

ภาวะรกเกาะต่ำ ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถกำหนด หรือ  ควบคุมการยึดเกาะของรกในมดลูกได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้ เช่น การรักษาสุขภาพ งดการสูบบุหรี่ เป็นต้น

แท้งคุกคาม 

การแท้งบุตรประเภทหนึ่ง ซึ่งทำให้มีเลือดไหลออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์โดยที่ปากมดลูกยังไม่เปิดออก ส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงอายุครรภ์ไม่เกิน 20 สัปดาห์และส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการสิ้นสุดการตั้งครรภ์หรือนำไปสู่การแท้งบุตร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของแท้งคุกคาม

ในช่วงของการตั้งครรภ์จะสังเกตได้ว่ามีเลือดออกทางช่องคลอด อาจออกกะปริบกะปรอยหรือออกมากแล้วแต่บุคคล ตกขาวมีสีน้ำตาลจากการมีเลือดปน มีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยหรือปวดหลังช่วงล่างควบคู่กับอาการเลือดออกทางช่องคลอดในบางราย ซึ่งจะต่างจากการแท้งที่มักจะปวดในลักษณะเจ็บแปลบ ปวดตื้อ ๆ หรือปวดท้องน้อยแบบบีบ ๆ มีเนื้อเยื่อหรือลิ่มเลือดหลุดออกมาจากช่องคลอด

หญิงตั้งครรภ์ที่พบอาการผิดปกติในลักษณะข้างต้นควรพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ ภาวะนี้พบได้ประมาณร้อยละ 20-30 ของหญิงตั้งครรภ์ และมีประมาณร้อยละ 50 ของภาวะนี้สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติจนกระทั่งคลอดบุตร

สาเหตุของแท้งคุกคาม

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเลือดออกในขณะตั้งครรภ์และนำไปสู่ภาวะแท้งคุกคาม เช่น

  • มีติ่งเนื้อ เนื้องอกที่มดลูก หรือถุงน้ำในมดลูก
  • การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสบริเวณช่องคลอด
  • ความผิดปกติของทารกในครรภ์
  • การใช้สารเสพติดหรือยาบางประเภท
  • ตำแหน่งและลักษณะของรกที่เกาะติดอยู่บนผนังมดลูก
  • ท้องนอกมดลูก
  • การได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่ช่องท้อง
  • มารดามีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • มารดาเป็นโรคเรื้อรังที่คุมอาการไม่ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคเอสแอลอี โรคความดันโลหิตสูง
  • การขาดฮอร์โมนเพศที่ช่วยประคับประคองการตั้งครรภ์ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาพอสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก

ผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพบว่าตนเองมีความเสี่ยงบางประการที่ควบคุมได้ เช่น โรคประจำตัว การใช้ยา หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

การวินิจฉัยแท้งคุกคาม

เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแท้งคุกคาม แพทย์จะสอบถามอาการและประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยก่อนจะพิจาณาการตรวจด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้

การตรวจอัลตราซาวด์

เป็นการตรวจบริเวณช่องท้องหรือช่องคลอดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูการเต้นของหัวใจและพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ซึ่งเป็นการตรวจที่บอกได้ว่าทารกมีชีวิตหรือไม่ การตั้งครรภ์เป็นปกติ ตั้งครรภ์นอกมดลูก ตั้งท้องลม หรือตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน บางครั้งอาจช่วยให้ทราบปริมาณเลือดที่ไหลออกมาทางช่องคลอด

โดยทั่วไปมักจะตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเป็นหลัก เพราะได้ผลที่แม่นยำในการตรวจอายุครรภ์อ่อน ๆ โดยแพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปทางช่องคลอดลึกประมาณ 2-3 นิ้ว ซึ่งอุปกรณ์นี้จะมีการปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปกระทบกับอวัยวะที่ตรวจ เพื่อสร้างออกมาเป็นภาพของอวัยวะนั้น ทำให้แพทย์มองเห็นรายละเอียดของทารกในครรภ์และอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานได้

การตรวจเลือด

เป็นการตรวจดูสารเคมีชนิดต่าง ๆ ในเลือด และปริมาณฮอร์โมนจากตัวอย่างเลือดของผู้ป่วย โดยเฉพาะฮอร์โมนฮิวแมน คอริโอนิก โกนาโดโทรฟิน (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) หรือเรียกสั้น ๆ ฮอร์โมนเอชซีจี ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ และฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Progesterone) ที่จะมีปริมาณสูงขึ้นกว่าช่วงปกติ การตรวจฮอร์โมนการตั้งครรภ์เป็นวิธีที่แม่นยำและจำเป็นต้องตรวจในกรณีที่อายุครรภ์ยังต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นทารกจากการตรวจอัลตราซาวน์ นอกจากนี้ การติดตามการเพิ่มของระดับฮอร์โมนเอชซีจียังบอกได้ว่าการตั้งครรภ์เป็นปกติ แท้ง หรือเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตรวจภายใน

มักใช้ตรวจในผู้ป่วยที่มีประวัติการบาดเจ็บรุนแรง โดยเป็นการตรวจดูอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานและระบบสืบพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก รวมถึงตรวจดูว่าถุงน้ำคร่ำเกิดการฉีกขาดหรือไม่ เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้เลือดออกทางช่องคลอด

การรักษาแท้งคุกคาม

ภาวะแท้งคุกคามไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่จะเป็นการดูแลแบบประคับประคองตามตามสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละคน โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการทำกิจกรรมที่กระทบกระเทือนต่อครรภ์ให้น้อยที่สุด งดการทำงานหนัก ไม่ควรเดินหรือยืนนาน ๆ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราว งดดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ลดความเครียดและความวิตกกังวล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บางรายที่มีโรคเรื้อรังหรือความผิดปกติที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน แพทย์จำเป็นต้องรักษาที่ต้นเหตุร่วมด้วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเสริมในบางรายหรือที่รู้จักกันในชื่อ ยากันแท้ง เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนของร่างกาย แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในการสรุปว่าสามารถช่วยป้องกันการแท้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนบางรายที่ตัวมารดาเองมีกรุ๊ปเลือด อาร์เอช ลบ (Rh Negative) อาจได้รับยาประเภทโปรตีนภูมิคุ้มกันอาร์เอช (Rh Immunoglobulin) เพื่อป้องกันการทำลายเม็ดเลือดของทารกในครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนของแท้งคุกคาม

มารดาที่เผชิญกับภาวะแท้งคุกคามมักเกิดความเครียดและวิตกกังวล นอกจากนี้ ในกรณีที่มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ระดับปานกลางถึงมากจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง ทำให้ต้องได้รับเลือดทดแทนเป็นครั้งคราว รวมไปถึงอาจเกิดการติดเชื้อและบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจนำไปสู่การสิ้นสุดการตั้งครรภ์หรือการแท้งบุตรได้

การป้องกันแท้งคุกคาม

การแท้งไม่สามารถป้องกันได้ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจลดความเสี่ยงของภาวะแท้งคุกคามที่อาจนำไปสู่การแท้งได้โดยการเข้ารับฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและรักษาได้ทันเวลา รวมไปถึงปฏิบัติตามคำแนะนำทั่วไป ดังนี้

  • ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
  • จำกัดสารกาเฟอีนที่ร่างกายได้รับให้น้อยที่สุด
  • หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่และทารกตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแล
  • หลีกเลี่ยงกับการสัมผัสโดนสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่าง ๆ
  • เมื่อเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสควรรีบรักษาให้หายขาด
  • รับประทานวิตามินที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอตามแพทย์แนะนำ เช่น กรดโฟลิก (Folic Acid)
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ควรได้รับการแนะนำหรือปรึกษากับแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของแม่และลูก

ที่มา webmd, americanpregnancy

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สลดพบ เด็กทารกถูกทิ้ง ใส่ถุงผ้าวางไว้กลางเมืองป่าตองหลังเกิดได้เพียง 7 วัน

ถ้าไม่อยากให้ลูกโง่ อย่าทำแบบนี้! การกระทำบางอย่างของพ่อแม่อาจทำร้ายลูก

เผยภาพสุดแซ่บ ว่าที่คุณแม่ นิกกี้ มินาจ ท้อง ลูกคนแรก อวดภาพท้องใน IG

บทความโดย

P.Veerasedtakul